คุณพ่อลูกอ่อนประท้วงผู้ผลิตรถ Jeep ด้วยคลิปเพลงแร็พ มีคนตามดูเป็นล้านบน YouTube

This screengrab from a YouTube video shows Australian small businessman Teg Sethi who gave a negative review of his Jeep in a funny, musical video.

บริษัทที่ปรับตัวทันและทุ่มเทการสอดส่องเสียงของผู้บริโภคบนโซเชี่ยลมีเดียได้อย่างดีจะได้เปรียบคู่แข่ง

Your browser doesn’t support HTML5

คุณพ่อลูกอ่อนประท้วงผู้ผลิตรถ Jeep ด้วยคลิปเพลงแร็พ

คลิปเพลงบน YouTube คลิปหนึ่งจากออสเตรเลีย เล่าเรื่องราวพ่อลูกอ่อนที่ชื่อ Teg Sethi ที่ผิดหวังกับการซื้อรถ Jeep รุ่น Grand Cherokee ราคา 60,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย เขาไม่พอใจเพราะเมื่อซื้อรถที่ตนใฝ่ฝันอยากได้มานาน ปรากฏว่า Grand Cherokee ของเขาเจอปัญหาจุกจิก 15 จุด ต้องนำไปซ่อมครั้งแล้วครั้งเล่า

คงจะเป็นเพราะเนื้อเพลงที่สนุกและภาพขำๆ ทำให้ คลิป YouTube นี้ มีคนดูกว่า 2 ล้านคน หลังจากที่ Teg Sethi โพสต์คลิปนี้เมื่อเดือนที่แล้ว เพลงแร็พที่ชื่อว่า I Made a Mistake I Bought a Lemon Jeep นี้เป็นตัวอย่างของการเผยแพร่ความผิดหวังในสินค้าบนโลกโซเชี่ยลมีเดียที่กระทบความน่าเชื่อถือของบริษัทผู้ผลิตได้อย่างมาก

ผู้สันทัดกรณีกล่าวว่าบริษัทที่ปรับตัวทันและทุ่มเทการสอดส่องเสียงของผู้บริโภคบนโซเชี่ยลมีเดียได้อย่างดีจะได้เปรียบคู่แข่งที่ปรับตัวไม่ทัน

โฆษกของบริษัท Chrysler ผู้ผลิตรถในเครือ Jeep กล่าวว่า ได้ดูแล Teg Sethi ผู้ซื้อที่ไม่พอใจ Jeep Grand Cherokee และแก้ปัญหาให้เรียบร้อยแล้ว ทางบริษัทกล่าวว่า Chrysler ใส่ใจความคิดเห็นของผู้ใช้ และเปิดกว้างต่อการพูดคุยกันเพื่อการพัฒนาอย่างสร้างสรรค์

ส่วน Teg Sethi บอกกว่าการตกลงยอมความกับ Chrysler ทำให้เขาอยู่ในเงื่อนไขที่ว่าจะพูดอะไรต่อไปไม่ได้มาก อย่างไรก็ตาม เขาไม่ถูกผูกมัดที่จะรณรงค์เพื่อให้มีกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคที่เข้มข้นขึ้นในอนาคต

ปัจจุบันผู้บริโภคจำนวนมากศึกษาความเห็นต่อสินค้าที่ตนสนใจทางอินเทอร์เน็ตด้วยตนเอง

Chris Moloney ซีอีโอของบริษัท Gremlin ที่อยู่ในธุรกิจ digital marketing และเทคโนโลยีสื่อสังคมออนไลน์บอกว่า การเผยแพร่ความเห็นการใช้สินค้า หรือ product review ออนไลน์กำลังเป็นรูปแบบการซื้อสินค้าอย่างที่เราเคยรู้จักกัน

ด้านเจ้าของกิจการอย่าง Alexander Ruggie ที่ให้บริการซ่อมความเสียหายจากระบบน้ำตามบ้าน บอกว่าธุรกิจ 911 Restoration ของเขา ใช้โซเชี่ยลมีเดียช่วยส่งเสริมระบบดูแลลูกค้าด้วย

ขณะเดียวกันในสหรัฐฯ เกิดกลุ่ม Better Business Bureau ที่ทำหน้าที่สอดส่องว่าการเผยแพร่ข้อมูลออนไลน์ของผู้ใช้น่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด

(รายงานโดยสำนักข่าวต่างประเทศและห้องข่าววีโอเอ / เรียบเรียงโดย รัตพล อ่อนสนิท)