ผลการวิจัยชิ้นใหม่พบหลักฐานเพิ่มเติมว่ามลพิษทางอากาศเกี่ยวข้องกับความบกพร่องทางความคิดรวมทั้งโรคออติสซึ่มกับโรคจิตเภท

A mouse brain that was exposed to polluted air shows an enlarged lateral ventricle (right) compared with a mouse whose air was clean and filtered. Enlarged lateral ventricles are associated in humans with autism and schizophrenia. (University of Rochester

Your browser doesn’t support HTML5

pollution autism


ในการทดลองหลายครั้งในช่วงแรก ทีมนักวิจัยที่ภาควิชาการแพทย์ที่มหาวิทยาลัย University of Rochester ในรัฐ New York ให้หนูทดลองสูดอากาศที่มีมลพิษ แล้วทำการทดสอบพฤติกรรมของหนูทดลอง

ศาสตราจารย์ Deborah Cory-Slechta หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวว่าในการทดสอบการทำงานของสมองทางด้านความคิด หนูทดลองที่สูดเอาอากาศที่มีมลพิษเข้าไปทำได้แย่กว่าหนูทดลองที่ได้รับอากาศที่ปลอดมลพิษ

ในการทดสอบความสามารถด้านกการเรียนรู้ นักวิจัยกล่าวว่าหนูที่ได้รับมลพิษทำได้แย่กว่าหนูทดลองที่ได้รับอากาศบริสุทธิ์ เช่นเดียวกับผลการทดสอบความจำ

ศาสตราจารย์ Cory-Slechta กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่านักวิจัยยังพบผลกระทบต่อความจำระยะสั้นของหนูทดลองด้วย โดยเกิดขึ้นกับหนูทดลองทั้งเพศผู้เเละเพศเมีย

หลังจากได้ผลการทดลองนี้เเล้ว ทีมนักวิจัยตัดสินใจทำการศึกษารอบใหม่เพื่อดูว่ามลพิษทางอากาศมีผลกระทบทางกายภาพต่อสมองของหนูทดลองหรือไม่

เมื่อทีมนักวิจัยทำการตรวจดูตัวสมองของหนูทดลองที่สูดอากาศที่มีมลพิษเข้าไป และพบว่าโพรงสมองข้าง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบโพรงสมองของสมอง มีขนาดใหญ่กว่าปกติ 2 ถึง 3 เท่าตัว ศาสตราจารย์ Cory-Slechta หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวว่าในคนเรา โพรงสมองข้างที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ เกี่ยวข้องกับความบกพร่องทางความคิดแบบออติสซึ่ม โรคจิตเภท และความบกพร่องทางความคิดอ่านชนิดอื่นๆ

ศาสตราจารย์ Cory-Slechta กล่าวว่านี่เป็นตัวชี้ความผิดปกติทางการพัฒนาในสมอง เป็นตัวชี้ความบกพร่องทางการพัฒนาในเด็กด้านพฤติกรรม ระดับไอคิว ความสามารถในการคิดและการตรึกตรองอย่างลึกซึ้ง ซึ่งเป็นความบกพร่องที่จะคงอยู่ถาวร

นอกจากนี้ ทีมนักวิจัยยังพบด้วยว่าโครงสร้างต่างๆในสมองที่โยงใยการสื่อสารระหว่างสมองซีกขวากับสมองซีกซ้ายจะพัฒนาอย่างไม่สมบูรณ์ในหนูทดลองที่ได้รับมลพิษทางอากาศ

ในการทดลองหนูทดลองได้รับอากาศที่มีระดับมลพิษสูง โดยได้รับก่อนหน้าที่จะคลอดออกมาเพียงไม่กี่วัน ทีมวิจัยทำการทดสอบความสามารถทางสมองของลูกหนูไม่นานหลังจากคลอดออกมา และเมื่อทดสอบความสามารถทางสมองของลูกหนูอีกครั้งหลังจากผ่านไปหลายเดือน นักวิจัยยังพบความบกพร่องทางสมองนี้อยู่ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าความบกพร่องทางสมองที่เกิดขึ้นไม่หายไปแม้ลูกหนูจะโตขึ้น

มลพิษทางอากาศที่ใช้ในการทดลองนี้เป็นฝุ่นผงที่มีความละเอียดสูง ซึ่งนักวิจัยเชื่อว่าเป็นอันตรายมากขึ้นเพราะมีขนาดเล็กมากทำให้เข้าไปในปอดและในกระเเสเลือดได้ง่าย

ศาสตราจารย์ Cory-Slechta หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวว่าการวิจัยนี้ช่วยอธิบายได้ว่าทำไมผลการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่จัดทำขึ้นก่อนหน้านี้ จึงเเสดงถึงความเกี่ยวโยงทางสถิติระหว่างมลพิษทางอากาศกับโรคออติสซึ่ม

คุณผู้ฟังสามารถอ่านรายละเอียดผลการศึกษานี้เพิ่มเติมได้ในวารสาร Environmental Health Perspectives