เรื่องเล่าจาก ‘ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์’ - ลุ้นกันหนักกว่าจะได้เยือน 'ไข่มุกแห่งอันดามัน'

FRENCH TOURIST TOUA YANG TAKES A JOY RIDE ON PRIVATE SPEED BOAT IN PHUKET (Photo by TOUA YANG)

Your browser doesn’t support HTML5

Phuket Sandbox Tourist Experience


หลังการระบาดของโควิด-19 ดำเนินมานานกว่าหนึ่งปีครึ่ง รัฐบาลไทยได้ประกาศโครงการเปิดประเทศเพื่อต้อนรับชาวต่างชาติครั้งแรก ภายใต้โครงการนำร่อง ‘ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์’ ซึ่งได้เริ่มตั้งแต่ต้นเดือนกรกฏาคม

อย่างไรก็ตาม นักท่องเที่ยวจำนวนมากได้ใบรับรองการเดินทางเข้าประเทศ หรือ COE ในช่วงเวลาที่กระชั้นชิด วีโอเอ ไทยจึงสัมภาษณ์นักท่องเที่ยวกลุ่มแรกๆถึงประสบการณ์หลากหลายในการเดินเข้าเกาะภูเก็ต...ที่ขึ้นชื่อว่าไข่มุกแห่งอันดามัน

ทาลิชา เจอร์เมน นักท่องเที่ยวชาวอเมริกันที่เดินทางเข้าเกาะภูเก็ตเป็นกลุ่มแรกในวัน 1 กรกรฏาคมซึ่งเป็นวันที่โครงการ ‘ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์’ เริ่มต้นขึ้น ทาลิชาบอกผ่านวีโอเอไทยว่า รู้สึกดีมากเมื่อเดินทางถึงท่าอากาศยานภูเก็ต มีเจ้าหน้าที่และสื่อมวลชนจำนวนมากคอยรอต้อนรับ มีการแจกของฟรีทั้งเจลล้างมือและหน้ากากอนามัย ภาพบรรยากาศวันนั้นทำให้เธอกลับไปค้นหาข้อมูลและพบว่าภูเก็ตต้องปิดเกาะไปนานเกือบ 2 ปีเพราะการะบาดของโควิด

โครงการ ‘ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์’ จึงมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากเป็นโปรแกรมนำร่องครั้งแรกที่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวต่างชาติและชาวไทยที่ได้รับวัคซีนป้องกันโควิดครบโดสและอาศัยอยู่ในประเทศที่มีความเสี่ยงของโควิดในระดับต่ำและปานกลาง สามารถเดินทางเข้ามาสัมผัสความสวยงามของเกาะภูเก็ตได้โดยที่ไม่ต้องกักตัว

TALISHA GERMAIN AND HER PARTNER IN PHUKET (Photo by TALISHA GERMAIN)

นักท่องท่องเที่ยวชุดแรกหลายๆคน ได้รับใบรับรองการเข้าประเทศไทย หรือ COE (Certificate of Entry) เพียงไม่นานก่อนออกเดินทางจากประเทศของพวกเขา

ทาลิชาบอกว่าเธอและแฟนหนุ่มไม่ได้รับการอนุมัติใบ COE ถึง 6 ครั้ง เนื่องจากเหตุผลหลายประการ เช่น ระบบที่ไม่มีคำสั่งชัดเจนในช่วงแรกว่าต้องอัพโหลดเอกสารที่ใด ระบบล่ม หรือ การเปลี่ยนแปลงของระบบลงทะเบียนที่มาเปิดในวันที่ 28 มิถุนายน หรือ 2 วันก่อนที่โครงการจะเริ่ม

เธออธิบายต่อว่าเธอพยามติดต่อเจ้าหน้าที่หลายครั้ง ทั้งโทรศัพท์และอีเมลแต่ก็ไม่มีใครตอบกลับ เธอจึงหันไปพึ่งกลุ่มเฟสบุ๊คต่างๆในการหาคำตอบแทน

จนเมื่อบ่ายวันที่ 30 มิถุนายน หรือ ประมาณ 8 ชั่วโมงก่อนที่เที่ยวบินของเธอจะออกจากท่าอากาศยาน JFK ในนครนิวยอร์ก เธอได้รับการอนุมัติเบื้องต้น หรือ pre-approval ซึ่งเป็นขั้นตอนก่อนที่จะได้รับใบ COE

ทาลิชาเล่าว่า “เธอบอกให้แฟนเธอรีบเก็บกระเป๋าเดี๋ยวนี้ แต่แฟนถามกลับด้วยความงุนงงว่าจะเก็บกระเป๋าทำไม เราจะไปไหนกันและเอกสารเข้าประเทศไทยอยู่ที่ไหน…ก่อนที่ไฟลท์จะออกประมาณ 5 ชั่วโมง ทาลิชาสามารถติดต่อเข้ากงสุลไทยในนิวยอร์กได้และคุยกับเจ้าหน้าที่ถึงสถานการณ์ของเธอ สุดท้ายเธอก็ได้รับใบ COE และได้บินเข้าภูเก็ตในที่สุด”

เรื่องราวที่ฟังดูแล้วน่าลุ้นจนตัวโก่ง เป็นประสบการณ์ที่นักท่องเที่ยวรายอื่นก็ผ่านมาเช่นกัน นักท่องเที่ยวชาวฝรั่งเศส ทูอา ยาง เล่าให้วีโอเอไทยฟัง ถึงความรู้สึกก่อนที่จะได้รับใบ COE ประมาณ 20 ชั่วโมงก่อนเวลาบินว่า เขารู้สึกกังวลมากประเทศไทยที่ประเทศที่เขาชื่นชอบมากที่สุด เขาไปมาแล้ว 7 ถึง 8 ครั้ง สำหรับเขา มันสำคัญมากที่ได้ไปพักผ่อนที่ประเทศไทยอย่างน้อยปีละครั้ง ปีที่แล้วเขาไปไม่ได้เพราะโควิด เพราะฉะนั้นปีนี้ เขาจะสู้ เขาจะต้องเป็นคนกลุ่มแรกที่ได้กลับไปเที่ยวเมืองไทย

ซึ่งก่อนหน้านั้น เขาไม่ผ่านการอนุมัติใบ COE ถึง 3 ครั้ง โดยระบุเหตุผลคล้ายคลึงกันกับทาลิชา

FRENCH TOURIST TOUA YANG POSES ON KOH HE IN PHUKET (Photo credit: TOUA YANG)

ทั้งนี้ สาเหตุหลักที่กระทรวงต่างประเทศเผชิญกับความล่าช้าในการออกใบ COE เพราะกฎหมายที่ระบุมาตรการการเปิดประเทศอย่างเป็นทางการ ได้รับการประกาศลง ราชกิจจานุเบกษา ในช่วงค่ำของวันที่ 29 มิถุนายน หรือเพียงแค่หนึ่งวันก่อนที่โครงการจะเริ่ม

โฆษกกระทรวงต่างประเทศ ธานี แสงรัตน์ อธิบายผ่านการแถลงข่าวประจำสัปดาห์ว่า นอกเหนือจากแสดงหลักฐานการจองโรมแรม บัตรรับวัคซีน ตั๋วเครื่องบิน และประกันสุขภาพ “มีข้อกำหนดเพิ่มเติมให้ผู้ลงทะเบียนขอ COE ต้องแสดงหลักฐานการชำระค่าตรวจโควิด-19 กับโรงแรมที่พัก 3 ครั้งนะครับ”

กฎดังกล่าวสร้างความประหลาดใจให้กับโรงแรมหลายแหล่ง นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต ภูมิกิตติ์ รักแต่งาม กล่าวผ่าน Facebook Live ว่า“ข้อปฏิบัตินี้สมาคมเองก็เพิ่งทราบเมื่อคืนวันอาทิตย์ครับ และก็ได้มีความพยามที่จะแก้ปัญหาในหลายระดับด้วยกัน”

NAT VACHARANAN in Phuket (Photo credit: NAT VACHARANAN)

“มีกฎใหม่มาอีกแล้ว ว่าต้องขอ ต้องจ่ายค่า PCR Test ล่วงหน้าก่อน ... แล้วขอที่ไหน โทรไปถามโรงแรมก็รู้พร้อมเราเลย เขาก็บอกต้องรอทางจังหวัดภูเก็ตเค้าประชุม สรุป เค้าก็รีบติดต่อเรา โอเคบอกว่า เราต้องจ่ายเต็มจำนวนนะคะ มา 3 คน คนละ 8,000 พัน เด็ก 4 ขวบก็ต้องจ่าย...คือรัฐบาลเปิดภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์มาเพื่อให้นักท่องเที่ยวมาหมุนเศรษฐกิจ แต่ถ้าทุกอย่างมันแพง อย่างพวก backpacker ที่อยากมาเที่ยว มันจะลำบากเค้ารึเปล่า”

ส่วนชาวไทยที่พำนักอยู่สหราชอาณาจักร จิรสิริ วัชรานันท์ที่เดินทางไปเป็นนักท่องเที่ยวของภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์กับลูกๆของเธอก็ได้รับการอนุมัติ COE เพียงแค่ 2 วันก่อนที่ไฟลท์เวลาบินออกจากกรุงลอนดอน เธอแสดงความคิดเห็นผ่านวีโอเอไทยว่า:

ล่าสุด กระทรวงการท่องเที่ยวได้ประกาศเมื่อค่ำวันที่ 6 กรกฎาคมว่ามีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าภูเก็ตทั้งหมดในระยะเวลา 5 วันแรกถึง 1,896 คน และได้เตรียมพร้อมที่จะเดินหน้าเปิดเกาะสมุย เกาะพะงัน และเกาเต่าภายใต้โปรแกรม ‘สุราษฎร์ธานี+’ ในวันที่ 15 กรกฎาคมนี้

(เรื่องโดย จณิน ภักดีธรรม)