นกแก้วที่ถูกทอดทิ้ง กับที่พักพิงสุดท้ายใต้ร่มเงาวัดทิเบตในอเมริกา

Puerto Rico Saving Parrots

Puerto Rico Saving Parrots

Your browser doesn’t support HTML5

Parrot Sanctuary

วัด Kunzang Palyul Choling เป็นวัดทิเบต ในรัฐแมรี่แลนด์ ที่อยู่ห่างจากวอชิงตันดีซีประมาณ 50 กิโลเมตร แต่บรรยากาศที่ควรจะเงียบสงบของวัด กลับเต็มไปด้วยเสียงร้องของนกแก้วหลากหลายสายพันธุ์ นั่นเป็นเพราะวัดแห่งนี้ นอกจากจะเป็นศาสนสถานของชาวพุทธแล้ว ยังเป็นที่ตั้งของ ศูนย์นก Garuda Aviary บ้านหลังสุดท้ายของนกแก้วอีกด้วย

Christopher Zeoli ผู้อำนวยการศูนย์ Garuda Aviary ให้สัมภาษณ์กับวีโอเอว่า นกแก้วเหล่านี้ ถูกทำร้ายหรือทอดทิ้ง และไม่สามารถหาคนมารับเลี้ยงต่อได้อีกแล้ว

Christopher บอกว่า นกแก้วที่ศูนย์รับมาเลี้ยง เป็นนกที่ไม่สามารถยกให้คนอื่นเอาไปอุปการะต่อได้ เพราะเป็นนกที่เลี้ยงยาก หรือไม่ก็มีอาการทางประสาท บางตัวค่อนข้างจะดุ อันเป็นผลมาจากสภาพการเลี้ยงดู

นกแก้ว 53 ตัวของที่นี่ อยู่ร่วมกับนกสายพันธุ์อื่น เช่น นกกระตั้ว นกแก้วมาคอว์ และนกแก้วสายพันธ์ แอฟริกัน เกรย์ Christopher บอกว่า เขาจำบุคลิก ลักษณะ นิสัย และความต้องการของนกแก้วแต่ละตัวได้หมด หลายตัวเคยเป็นนกเลี้ยงในบ้านมาก่อน บางตัวเคยมีเจ้าของมาแล้วหลายคน

ผู้อำนวยการศูนย์เลี้ยงนกยังบอกว่า มีคนติดต่อขอเอานกแก้วมาปล่อยที่ศูนย์เป็นจำนวนมาก

เขาบอกว่า ในหนึ่งสัปดาห์ จะมีเจ้าของนกแก้วประมาณ 1-3 คนติดต่อ ขอร้องให้ศูนย์รับเอานกแก้วไปเลี้ยง เพราะพวกเขาไม่อยากจะเลี้ยงต่อแล้ว เขาเสริมว่าคนมักจะซื้อนกแก้วโดยไม่คิดหน้าคิดหลัง จนเมื่อนกมาถึงบ้านแล้ว ถึงเพิ่งรู้ว่าการเลี้ยงพวกมัน ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ

ที่ผ่านมา เขาต้องปฏิเสธไม่รับนกแก้วหลายตัว เพราะเป้าหมายของศูนย์คือจะรับเฉพาะนกที่ไม่สามารถเอาไปให้คนอื่นเลี้ยงต่อได้แล้วเท่านั้น นกแก้วบางตัวที่มาลงเอยที่นี่ ได้รับผลกระทบด้านจิตใจอย่างหนัก และหันมาจิกทำร้ายตัวเอง จนต้องจับใส่เสื้อเกราะเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดบาดแผล

Your browser doesn’t support HTML5

วัดทิเบตในอเมริกา ที่พักพิงสุดท้ายของนกแก้วถูกทิ้ง

ผู้อำนวยการศูนย์นกแห่งนี้เน้นย้ำว่า การนำนกแก้วมาเลี้ยงเป็นพันธะและภาระที่หนัก เพราะนกแก้วเป็นนกที่อายุยืนถึง 50-60 ปี และผูกพันกับเจ้าของมาก นกแก้วยังเป็นสัตว์ที่เฉลียวฉลาดและต้องการการดูแลเอาใจใส่ตลอดเวลา พวกมันจึงมีปัญหาเวลาที่ถูกละเลย หรือทอดทิ้งให้อยู่อย่างโดดเดี่ยวเป็นเวลานาน

คริสโตเฟอร์กล่าวว่า สิ่งที่เขาพยายามจะบอกทุกคนคือ นกแก้วควรจะอยู่ในป่า และไม่ควรนำมาเป็นสัตว์เลี้ยงในบ้าน”

แต่เขาก็ทิ้งท้ายว่า การจะสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนกับนกแก้ว ซึ่งเป็นนกที่มีถิ่นที่อยู่ในพื้นที่เขตอบอุ่น ในประเทศซีกโลกใต้ ไ่ม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้เสียทีเดียว เพียงแต่ต้องใช้เวลา ต้องมีความทุ่มเท และทรัพยากรก็ต้องพร้อม

นกแก้วเหล่านี้ ยังต้องการการดูแลเอาใจใส่ การให้เกียรติ และเหนือสิ่งอื่นใด พวกมันก็ต้องการความรัก ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์อันยืนยาว ไม่ว่าจะเป็นกับสัตว์เลี้ยง หรือกับมนุษย์ด้วยกันนั่นเอง