กล้องจุลทรรศน์กระดาษพับจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์ในประเทศยากจน

Foldscope

Your browser doesn’t support HTML5

One Dollar Microscope


กล้องจุลทรรศน์กระดาษพับราคาหนึ่งดอลล่าร์สหรัฐอาจจะกลายเป็นอุปกรณ์ช่วยในการวินิจฉัยโรคต่างๆในประเทศกำลังพัฒนาหากมีการฝึกฝนการใช้งาน

กล้องจุลทรรศน์กระดาษพับ Foldscope ที่ว่านี้ใช้เวลาประกอบเพียงเเค่ 10 นาทีจากชิ้นกระดาษพับชิ้นต่างที่ตัดสำเร็จรูปพร้อมแก่การประกอบ แต่แม้จะถูกออกแบบให้เรียบง่าย แต่กล้องจุลทรรศน์กระดาษนี้มีคุณภาพสูงมาก ตัวเลนส์สามารถขยายได้ถึงสองพันเท่า

ผู้ออกแบบ Foldscope ชี้ว่ากล้องจุลทรรศน์กระดาษพับนี้จะมีประโยชน์มากในประเทศที่มีปัญหาการระบาดของเชื้อมาลาเรีย ทางองค์การอนามัยโลกประมาณว่ามีคนมากกว่า 600,000 คนทั่วโลกเสียชีวิตจากไข้มาลาเรียในปีคริสตศักราช 2012 หรือเมื่อ 2 ปีที่แล้ว

คุณ Manu Prakash ผู้ร่วมออกแบบกล้องจุลทรรศน์กระดาษพับ Foldscope กล่าวว่ามาลาเรียมีหลายสายพันธุ์และมียาหลายชนิดที่ใช้บำบัดมาลาเรีย เขากล่าวว่านี่เป็นปัญหาอย่างหนึ่งที่อาจทำให้การระบาดของมาลาเรียเลวร้ายกว่าเดิม เขาชี้ว่าจำเป็นมากที่ต้องระบุว่าคนไข้ได้รับเชื้อมาลาเรียสายพันธุ์ใดหรือป่วยด้วยมาลาเรียจริงหรือไม่

การใช้กล้องจุลทรรศน์เป็นวิธีที่ใช้กันทั่วไปในการช่วยค้นพาต้นเหตุของอาการป่วย แต่ประเทศกำลังพัฒนาส่วนมาก ห้องแลปมักขาดแคลนกล้องจุลทรรศน์หรือไม่ก็เสียหายและขาดการซ่อมเเซม

คุณ Robert Malkin นักวิศวกรเคมีแห่งมหาวิทยาลัย Duke กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่ามีกล้องจุลทรรศน์เสียหายใช้การไม่ได้เป็นจำนวนมากและเป็นปัญหาใหญ่ เขากล่าวว่าหากกล้องจุลทรรศน์เสียหายจนซ่อมไม่ได้ ก็ควรมีการซื้อใหม่มาทดแทน

เขากล่าวว่าทางมหาวิทยาลัยได้ทำงานกับโรงพยาบาลหลายร้อยหลายพันเเห่งทั่วโลกและโรงพยาบาลเหล่านี้ไม่มีเงินซื้อกล้องจุลทรรศน์ตัวใหม่เพื่อทดแทนตัวเก่าที่เสียเพราะราคาเเพงมาก

คุณ Prakash ผู้ร่วมออกแบบกล้องจุลทรรศน์กระดาษพับชี้ว่ากล้องจุลทรรศน์กระดาษเป็นทางออกแก่ปัญหานี้ เขากล่าวว่ากล้องจุลทรรศน์กระดาษที่คิดค้นขึ้นถือเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นมากและราคาถูกมากเหมือนกับได้เปล่า

ลำตัวของกล้องจุลทรรศน์ทำจากกระดาษเเข็งล้วน ส่วนที่เเพงที่สุดคือตัวเลนส์ขยายขนาดโดยราคาอยู่ที่ห้าสิบหกเซ็นท์สหรัฐหรือประมาณสิบหกบาท

อย่างไรก็ดี คุณ Aurelie Jeandron (Or-rah-lee zhon-DRON) นักระบาดวิทยาแห่งวิทยาลัยสาธารณสุขและการแพทย์เขตร้อนลอนดอนกล่าวว่าในประเทศกำลังพัฒนา เจ้าหน้าที่ที่รู้วิธีการใช้กล้องุลทรรศน์หายากยิ่งกว่ากล้องจุลทรรศน์เสียอีก

นักระบาดวิทยาคนนี้กล่าวว่ากล้องจุลทรรศน์จะไม่มีประโยชน์อะไรเลย หากขาดทรัพยากรบุคคลที่ได้รับการฝึกฝน อย่างไรก็ตาม คุณ Jeandron เชื่อว่ากล้องจุลทรรศน์กระดาษ จะเป็นประโยชน์ในการให้ความรู้เกี่ยวกับเชื้อโรคต่างๆแก่คนในประเทศยากจน เธอยกตัวอย่างงานพัฒนาน้ำดื่มสะอาดและการสุขาภิบาล เธอคิดว่ากล้องจุลทรรศน์จะช่วยให้คนมองเห็นเชื้อโรคในน้ำที่เป็นสาเหตุให้เจ็บป่วยได้ เเละนั่นจะช่วยเปลี่ยนแปลงความคิดเเละพฤติกรรมของคนเหล่านี้ได้

ขณะนี้ คุณ Prakash ผู้ร่วมออกแบบกล้องจุลทรรศน์กระดาษพับได้เริ่มโครงการกล้องจุลทรรศน์หนึ่งหมื่นชิ้น เป็นโครงการจัดส่งกล้องจุลทรรศน์กระดาษพับ Foldscope ให้ไปถึงมืออาสาสมัครทั่วโลกที่จะนำกล้องไปทดสอบการใช้งาน

มีอาสาสมัครใน 130 ประเทศทั่วโลกลงชื่อขอรับกล้องจุลทรรศน์กระดาษพับและคุณ Prakash หวังว่าจะสามารถจัดส่งให้ครบทุกคนภายในเดือนสองเดือนนี้ เขายอมรับในปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรบุคคลที่สามารถใช้กล้องจุลทรรศน์ในประเทศกำลังพัฒนา แต่เขาคิดว่าการจัดหากล้องจุลทรรศน์ที่ราคาถูกเป็นความคืบหน้าที่สำคัญ