โครงการศึกษาอนาคตของมหาสมุทรและทรัพยากรอาหารทะเลที่เรียกว่าโครงการนีรียัส (Nereus) อาศัยระบบสร้างโมเดลและการจำลองด้วยคอมพิวเตอร์ที่มีศักยภาพสูง ในการประมวลโมเดลต่็างๆของสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง ข้อมูลทางดาต้าที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆของมนุษย์และการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรอาหารในท้องทะเลตั้งแต่ปีคริสตศักราช 1960 ถึง 2060
การศึกษานี้ต้องการตอบคำถามหลักใหญ่หลายข้อ ที่ว่า มหาสมุทรต่างๆบนโลกเราจะยังอุดมสมบูรณ์ไปอีกนานแค่ไหนและยังจะเป็นแหล่งผลิตปลาที่สามารถเลี้ยงโลกที่หิวโหยในอนาคตได้หรือไม่
คุณวิลลี่ คริสเต็นเซ่น ผู้เชี่ยวชาญด้านการประมงชาวแคนาเดี่ยนเป็นหัวหน้าโครงการนีรียัส ที่มหาวิทยาลัย British Columbia ในการประชุมประจำปีที่ผ่านมาเมื่อเร็วๆนี้ในเมืองแวนคูเว่อร์ ของสมาคมชาวอเมริกันเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ คุณคริสเต็นเซ่น นำเสนอผลการศึกษาเบื้องต้น
คุณคริสเต็นเซ่น กล่าวว่า ทีมวิจัยพบว่ามีปริมาณปลาคงเหลือในมหาสมุทรทั่วโลกอยู่ราวสองพันล้านตัน ในขณะที่ปริมาณปลาที่คงเหลือนี้ มีความคงตัวเพราะมีการเกิดใหม่ทดแทนตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา แต่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในชนิดของปลาที่เกิดใหม่กับปพันธุ์ปลาที่เริ่มหายไปจากทะเล
คุณคริสเต็นเซ่น ผู้เชี่ยวชาญด้านการประมง กล่าวว่า ปลาใหญ่ๆหลายชนิด อาทิ ปลาคราฟและปลาเก๋าเริ่มหายไปจากมหาสมุทร มีการลดจำนวนลงถึงห้าสิบห้าเปอร์เซ็นต์ในช่วงสี่สิบปีที่ผ่านมา แต่มีการเกิดใหม่ของปลาเล็กๆอีกจำนวนมากมายหลายสายพันธุ์ ขนาดสิบถึงยี่สิบเซ็นติเมตรและเป็นอาหารของปลาใหญ่อย่างปลาโลมา ปลาเล้กเหล่านี้ยากต่อการทำประมงโดยเรือประมงเพื่อการพานิชย์
คุณคริสเต็นเซ่นกล่าวย้ำว่าในขณะที่ปริมาณปลาในทะเลทั่วโลกลดลง ความต้องการบริโภคปลาสดในตลาดทั่วโลกกลับสูงขึ้น
คุณวิลเลี่ยม เฉิง ผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการการประมงที่มหาวิทยาลัย British Columbia กล่าวว่า สภาวะโลกร้อน การประมงมากเกินพอดี และน้ำทะ้ลมีความเป็นกรดสูงขึ้น ล้วนแต่มีส่วนทำให้ปริมาณอาหารทะเลลดลง
คุณเฉิงเป็นสมาชิกทีมวิจัยโครงการนีรียัส เขาได้ศึกษาผลกระทบจากปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวมาข้องต้นต่อปริมาณปลากับสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังจำนวนหนึ่งพันสายพันธุ์ แล้วพบว่ามีทั้งข่าวดีและข่าวร้าย
คุณวิลเลี่ยม เฉิง นักวิจัยกล่าวว่าข่าวดีคือเมื่อโลกอุ่นขึ้น ปริมาณปลาที่จับได้ในบริเวณมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือเพิ่มขึ้นเพราะปลาเคลื่อนย้ายไปอยู่ในลาติจูดที่สูงขึ้น แต่เมื่อนำเอาปัจจัยเรื่องความเป็นกรดของน้ำทะเลกับการเพิ่มปริมาณแก้สคาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำทะเล ปริมาณปลาในหลายๆจุดของทะเลแอตแลนติดเหนือเริ่มลดลง
นักวิจัยชี้ว่าการปล่อยแก้สเรือนกระจกจากการเผาไหม้ถ่านหินและน้ำมันที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ทำให้น้ำทะเลมีความเป็นกรดสูงขึ้น มีผลเสียต่อแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเล
คุณคริสเต็นเซ่น หัวหน้าโครงการศึกษากล่าวเสริมท้ายว่าข้อมูลจากการศึกษานี้จะช่วยให้เจ้าหน้าที่รัฐในแต่ละประเทศตัดสินใจได้ดีขึ้นในการหาทางจัดการกับสิ่งแวดล้อมทางทะเลและทรัพยากรอาหารจากทะเล