Your browser doesn’t support HTML5
นาทีนี้ทั่วโลกจับตาท่าทีระหว่างสหรัฐฯและจีน ในการใช้มาตรการทางภาษีกับสินค้านำเข้าตอบโต้กันไปมาอย่างดุเดือด จึงนำไปสู่ “คำในข่าว” สัปดาห์นี้ ว่าด้วยคำศัพท์ที่เกี่ยวกับการแก้แค้นหรือแก้เผ็ดกันอย่างร้อนแรงระหว่าง 2 ชาติมหาอำนาจ
คำแรกที่เห็นกันบ่อยๆ คือ revenge ซึ่งเป็นได้ทั้งนามและกริยา แปลว่า แก้แค้น แก้เผ็ด
คำต่อมา retaliate เป็นกริยา แปลว่า ตอบโต้ ตอกกลับ ยกตัวอย่างเช่น She retaliated against him by ignoring him. (เธอเลือกจะเอาคืนเขาด้วยการทำเป็นไม่สนใจเขาซะ)
คำต่อไป คือ avenge เป็นกริยา ที่ให้ความหมายเดียวกันว่าการแก้แค้น ซึ่งแค่เราเติม r ลงไปในตอนท้าย จนกลายเป็นคำว่า avenger ก็จะเปลี่ยนเป็นคำนาม ที่แปลว่า ผู้ล้างแค้น ได้ทันที
ส่วนคำว่า vindictive เป็นคำวิเศษณ์ แปลว่า เจ้าคิดเจ้าแค้น ความมีจิตใจอาฆาตพยาบาท
นอกจากนี้ ยังมีสำนวนที่ใช้ในการแก้แค้น อย่างเช่น get even หรือ get even with ที่แปลว่า เอาคืน แก้เผ็ด เช่น You played dirty trick on me. I’ll get even with you someday. (คุณเล่นสกปรกกับฉันแบบนี้ สักวันหนึ่งฉันจะต้องเอาคืนคุณให้สาสมทีเดียว)
ส่วนอีกคำคือ tit for tat แปลว่า การตอบโต้กันแบบ “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” เช่น พาดหัวข่าวของ Euronews ที่ระบุว่า Tit-for-tat trade tariffs between China and the United States fuel fears of a trade war. (การตอบโต้ด้วยมาตรการทางภาษีแบบไม่ลดราวาศอกของจีนและสหรัฐฯ ได้เติมเชื้อไฟให้ทั่วโลกหวาดกลัวว่าจะเกิดสงครามการค้าขึ้น)
settle old scores ก็ให้ความหมายว่าแก้เผ็ดเหมือนกัน เช่น The president used his speech to settle some old scores with his opponents. (ประธานาธิบดีใช้สุนทรพจน์ของเขาตอบโต้ฝ่ายตรงข้าม)
อีกคำคือ return fire ก็แปลว่าตอบโต้กลับ เช่น พาดหัวข่าวของ CNN ที่ระบุว่า Mark Zuckerberg's return-fire on Apple. (มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้ง Facebook ตอบโต้อย่างเผ็ดร้อนกับ Apple ในประเด็นข้อมูลรั่วไหล)
หลังจากพบกับคำศัพท์ของความแค้นและการแก้แค้นมามากแล้ว ก็ต้องขอลากันไปอย่างสันติ ด้วยประโยคที่ว่า “เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร” ซึ่งสามารถใช้คำว่า Forgive and forget หรือ Don’t hold the grudge.