ชาวศรีลังกาเกือบหนึ่งในสี่เผชิญวิกฤตทางอาหาร

  • Anjana Pasricha

A porter carries a load of imported food items at a market place in Colombo, Sri Lanka, July 29, 2022.

ผู้คนในศรีลังกาต่างต่อแถวเข้าครัวชุมชนโดยองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรและองค์กรการกุศลในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมานี้ หลังวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศทำให้เกิดเงินเฟ้อ ราคาอาหารพุ่งสูงอย่างมากจนประชาชนหลายล้านคนไม่สามารถหาซื้ออาหารได้

โมเซส อะคัช ผู้อำนวยการระดับชาติของมูลนิธิ Voice for Voiceless Foundation ในกรุงโคลัมโบ กล่าวกับวีโอเอว่า มีครอบครัวหนึ่งเข็นรถเข็นของแม่เป็นระยะทาง 5 กิโลเมตร เพื่อมารับอาหารที่ครัวชุมชนแห่งหนึ่งใน 12 แห่งที่ทางมูลนิธิจัดการ และผู้คนบางส่วนต้องอดมื้อกินมื้อ หรืออยู่รอดในแต่ละวันได้ด้วยอาหารเพียงมื้อเดียวเท่านั้น

ครัวชุมชนของมูลนิธิดังกล่าวสามารถมอบอาหารให้ผู้คนได้ราว 1,800 คนต่อวัน อย่างไรก็ตาม ปริมาณดังกล่าวยังเป็นตัวเลขที่ห่างไกลจากความต้องการอาหารในศรีลังกา ที่ประชาชนราวหนึ่งในสี่ของประชากร 22 ล้านคนไม่สามารถเข้าถึงอาหารได้อย่างเพียงพอ ตามข้อมูลของโครงการอาหารโลก

อับเดอร์ ราฮิม ซิดิไค ผู้อำนวยการของโครงการอาหารโลกในศรีลังกา กล่าวกับวีโอเอว่า ประชาชนราว 6.3 ล้านคนในศรีลังกาเผชิญภาวะไม่มั่นคงทางอาหาร ไม่สามารถเข้าถึงอาหารอย่างเพียงพอได้ โดยมีประชาชนราว 5.3 บ้านคนต้องลดจำนวนมื้ออาหารลง

ทั้งนี้ เงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่ลดต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ทำให้ศรีลังกานำเข้าอาหารและพลังงานได้ยากขึ้น จากที่ปกติศรีลังกาต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าจำเป็นจำนวนมาก ปัญหาดังกล่าวทวีความรุนแรงขึ้นหลังจากเมื่อปีที่แล้ว รัฐบาลศรีลังกาออกคำสั่งให้มีการทำปศุสัตว์ชีวภาพในประเทศ ทำให้การเก็บเกี่ยวผลผลิตในประเทศลดลง โดยปริมาณข้าวลดลงถึงราวครึ่งหนึ่ง

A porter carries a sacks of imported onions at a market place in Colombo, Sri Lanka, July 29, 2022.Sri Lanka

แม้หลังจากนั้นรัฐบาลศรีลังกาจะยกเลิกการสั่งห้ามใช้ปุ๋ยเคมีแล้วก็ตาม แต่ผลที่ตามมาก็ทำให้ปริมาณอาหารในท้องตลาดลดลง ราคาอาหารพุ่งสูงถึง 90% เมื่อเดือนที่แล้ว ขณะที่ราคาอาหารจำเป็น เช่น ข้าว ผัก เพิ่มขึ้นสองเท่า ก๊าซหุงต้มมีราคาแพงและขาดตลาด

ปัญหาดังกล่าวยังเป็นความท้าทายต่อองค์กรที่จัดการครัวชุมชนเพื่อช่วยเหลือประชาชนเช่นกัน ทั้งการหาเชื้อเพลิงให้เพียงพอต่อการหุงหาอาหารจำนวนมาก ภาวะขาดแคลนพลังงานยังทำให้อาสาสมัครเดินทางมาทำงานลำบากด้วย

นอกจากนี้ ประชาชนที่มีฐานะยากจนในตัวเมือง และผู้ที่อาศัยในชนบท ได้รับผลกระทบหนักที่สุด โดย ผ.อ. โครงการอาหารโลกในศรีลังการะบุว่า เด็ก ๆ ชาวศรีลังกา 70% เผชิญภาวะแคะแกร็นตั้งแต่ก่อนเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 และก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจเสียอีก

วิกฤตขาดแคลนอาหารยังย่ำแย่ลงจากภาคการขนส่งและการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักเช่นกัน โดยภาคส่วนทั้งสองเป็นภาคทำเงินหลักของศรีลังกา

เจฮัน เปเรรา ผู้อำนวยการบริหารขององค์กร National Peace Council ของศรีลังกา กล่าวกับวีโอเอว่า รถสามล้อที่เคยมีจำนวนมากในกรุงโคลัมโบก็มจำนวนลดลง เนื่องจากผู้ขับรถไม่สามารถเติมน้ำมันรถได้ ทำให้ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ขณะที่เผขิญกับราคาสินค้าที่สูงขึ้น

  • ที่มา: วีโอเอ