Your browser doesn’t support HTML5
นักวิจัยใช้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์เพื่อศึกษาดูว่า เหตุใดมนุษย์เราจึงรักบทเพลงที่พวกเขาฟัง และบทเพลงเหล่านั้นสามารถเชื่อมโยงกับช่วงเวลาที่สำคัญในชีวิตของคนเราได้อย่างไร
การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Quarterly Journal of Experimental Psychology เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ได้ศึกษาเกี่ยวกับบทเพลงที่คนฟังกันในช่วงวัยรุ่น และดูว่าเพลงเหล่านั้นหล่อหลอมกลายเป็นตัวตนของเราโดยที่ไม่รู้ตัวได้อย่างไร
คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย University of Westminster School of Social Sciences ในลอนดอน ทำการศึกษาวิเคราะห์ผู้ร่วมรายการโชว์ Desert Island Discs ของสถานีโทรทัศน์ British Broadcasting Company (BBC) จำนวน 80 คน
รายการนี้เป็นรายการที่เหล่าคนดังจะเลือกเพลงที่จะนำติดตัวไปที่ทะเลทรายด้วยจำนวน 8 เพลง
จากการศึกษาดังกล่าว นักวิจัยพบว่าครึ่งหนึ่งของเพลงที่ผู้เข้าร่วมการศึกษาเลือก ล้วนมีความเชื่อมโยงกับความทรงจำที่สำคัญ ตั้งแต่สมัยที่มีอายุระหว่าง 10-19 ปี หรือระหว่าง 20-29 ปี ซึ่งนักวิจัยตั้งทฤษฎีว่าช่วงเวลาเหล่านั้นเป็นช่วงเวลาที่คนเราสร้างตัวตนขึ้นมา
นอกจากนี้นักวิจัยยังพบว่าเพลงในรายการ Desert Island Discs นั้นล้วนเชื่อมโยงกับช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ๆ ในชีวิตของผู้เข้าร่วมการศึกษา เช่น การพบกับคู่รักของตน การเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย หรือเหตุการณ์อื่น ๆ ที่เปลี่ยนแปลงชีวิต
Catherine Loveday หัวหน้าคณะนักวิจัยที่มหาวิทยาลัย University of Westminster neuropsychologist กล่าวว่า บทเพลงเหล่านั้นดูเหมือนจะมีอิทธิพลต่อรสนิยมทางดนตรีของคนคนหนึ่งไปอีกนานหลายต่อหลายปี
เธอกล่าวอีกว่า ความทรงจำที่ก่อตัวขึ้นในช่วงวัยรุ่นและในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นนั้น คือสิ่งที่นักวิจัยเรียกกันว่า "ช่วงเวลาที่ค้นพบตัวเอง" ซึ่งสมองจะจดจำสิ่งเหล่านั้นได้มากกว่าช่วงเวลาอื่นในชีวิต