คนรุ่นมิลเลเนียลในสหรัฐฯ เจออุปสรรคทางเศรษฐกิจมากกว่าคนรุ่นอื่น

Graduates, including one looking for a job, are seated during George Washington University's commencement exercises on the National Mall, Sunday, May 17, 2015 in Washington, DC.

ผู้เชี่ยวชาญชี้คนรุ่นมิลเลเนียลในสหรัฐฯ เป็นเหมือนนกคีรีบูนในเหมืองถ่านหิน

Your browser doesn’t support HTML5

Millennial Dilemma

ผลการศึกษาชิ้นใหม่ชี้ว่าชาวอเมริกันที่อายุ 20 ถึง 30 ปีมีรายได้น้อยกว่าเนื่องจากไม่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีและมีโอกาสสูงกว่าในการเสียชีวิตตั้งเเต่อายุยังน้อยสูงกว่าเมื่อเทียบกับชาวอเมริกันรุ่นเเก่กว่าจากการฆ่าตัวตายหรือจากการเสพยาเกินขนาด

David Grusky นักสังคมวิทยาเเละผู้อำนวยการแห่งศูนย์ด้านความยากจนและความไม่เท่าเทียมที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดเเละผู้ร่วมร่างรายงานกล่าวว่าปัญหาต่างๆ ที่รุมเร้าคนรุ่มมิลเลเนียลในปัจจุบันเป็นผลพวงจากการตัดสินใจทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วงปลายยุค 70 เเต่ตอนต้นยุค 80

Grusky กล่าวว่านี่เป็นช่วงที่ความไม่เท่าเทียมทางรายได้เริ่มส่งผลกระทบ เป็นช่วงที่อเมริกาสูญเสียชนชั้นกลางไปจำนวนมากเเละสูญเสียงานด้านการผลิต โดยไม่มีการคิดถึงการดูเเลคนที่ต้องตกงานเนื่องจากผลกระทบของโลกาภิวัฒน์เเละการค้า ตลอดจนการ outsourcing (ใช้ทรัพยากรในต่างประเทศเเทนคนในประเทศ)

Grusky กล่าวว่าในช่วงปลายยุค 70 และต้นยุค 80 สหรัฐฯ ตัดสินใจว่าต้องการพัฒนาเศรษฐกิจไปในรูปแบบใหม่ ซึ่งในที่สุดได้สร้างผลกระทบทางลบ

ความเสียเปรียบของชาวอเมริกันยุคมิลเลเนียลหลายๆ คนเกิดขึ้นทันทีที่คนเหล่านี้เริ่มเข้าสู่ตลาดงานในช่วงภาวะเศรษฐกิจขาลงในอเมริกาครั้งใหญ่หรือ Great Recession ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 2007 ถึง 2009 ซึ่งถือว่ารุนแรงที่สุดตั้งเเต่หลังภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ที่สุดที่เรียกว่า the Great Depression หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง จนทำให้ชาวมิลเลเนียลในสหรัฐฯ จำนวนมากเข้าสู่ตลาดงานช้าลงเเละหลายคนต้องเข้าทำงานในตำเเหน่งที่ตนเองมีคุณสมบัติสูงกว่า

นอกจากนี้ สถานการณ์เเย่มากกว่าที่ควรเป็นเพราะโรงเรียนรัฐบาลในช่วงนั้นได้รับเงินทุนน้อยลงเพราะรัฐต่างมีงบประมาณน้อยลงเพราะภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยรัฐบาลมักตอยสนองต่อภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำเเย่ด้วยการขึ้นค่าเรียน ทำให้มีนักศึกษาจำนวนมากขึ้นที่เรียนจบพร้อมกับหนี้ค่าเล่าเรียนก้อนโต

Grusky กล่าวว่าชาวมิลเลเนียลไม่มีงานทำทันทีหลังเรียนจบเหมือนคนรุ่นก่อนหน้า ทำให้ไม่สามารถจ่ายหนี้ค่าเล่าเรียนได้และชาวมิลเลเนียลที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือคนที่ไม่ได้เรียนในระดับมหาวิทยาลัย

Grusky กล่าวว่าชาวมิลเลเนียลอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันมักประสบอุปสรรคมากกว่าเนื่องจากช่องว่างทางเชื้อสายในกลุ่มผู้ใหญ่อายุน้อยขยายกว้างขึ้นกว่าในช่วงการเรียกร้องสิทธิ์ประชาชนเกือบ 60 ปีที่แล้ว

อุปสรรคต่างๆ เหล่านี้อาจเป็นต้นเหตุของการเสียชีวิตก่อนวัยที่เพิ่มมากขึ้น อัตราการเสียชีวิตของคนอเมริกันอายุ 25 - 34 ปีพุ่งขึ้นไปถึงร้อยละ 20ระหว่างปี ค.ศ. 2008 ถึง 2016 ส่วนมากเกิดจากการฆ่าตัวตายและการใช้สารเสพติดเกินขนาดและอัตราการตายแบบนี้สูงมากที่สุดในกลุ่มชายผิวขาวที่ไม่มีเชื้อสายฮีสเปนิคหรือที่ร้อยละ 27

Grusky กล่าวว่าตนเองรู้สึกว่าไม่ยุติธรรมที่สื่อมวลชนมักมีการแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อมวลชนว่าคนรุ่นมิลเลเนียลถูกกล่าวโทษ เขาบอกว่าตนมองชาวมิลเลเนียลว่าเป็นเหมือนนกคีรีบูนในเหมืองถ่านหินที่ช่วยเตือนให้เราเห็นว่าเศรษฐกิจใหม่ของสหรัฐฯ มีผลเสียร้ายแรง เราไม่ควรโทษนกที่ตายเพราะควันพิษ เเต่เราต้องโทษเหมืองถ่านหินเเละควันพิษที่เป็นต้นเหตุให้นกตาย

(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)