ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อกับประชาธิปไตยชี้ว่าสื่อสังคมออนไลนเป็นช่องทางกระจายข่าวสารที่ถูกทางการปิดกั้น

  • Alex Villarreal
    จำเริญ ตัณฑ์สมบุญ

ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อกับประชาธิปไตยชี้ว่าสื่อสังคมออนไลนเป็นช่องทางกระจายข่าวสารที่ถูกทางการปิดกั้น

มีการกล่าวถึงสื่อสังคมออนไลนอย่างเช่น facebook และ Twitter ว่ามีบทบาทสำคัญในการประท้วงขับไล่รัฐบาลซึ่งเกิดขึ้นทั้งในตะวันออกกลาง และทางตอนเหนือของทวีปอาฟริกาขณะนี้ แต่ผู้เชี่ยวชาญที่เข้าร่วมสัมนาเกี่ยวกับสื่อและประชาธิปไตยที่กรุงวอชิงตันเมื่อต้นเดือนมีนาคมชี้ว่า สื่อสังคมออนไลนเป็นเพียงปัจจับหนึ่งไม่ใช่เหตุผลทั้งหมดของความสำเร็จในการประท้วง โดยคุณ Mona Eltahawy ผู้สื่อข่าวและ Blogger ชาวอียิปต์กล่าวว่า facebook กับ Twitter ไม่ใช่สิ่งที่สร้างความกล้าหาญขึ้นเอง แต่เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ความกล้าหาญ และการยอมสละชีวิตของผู้คนอย่างที่เกิดขึ้นในลิเบียให้โลกได้รับรู้ ส่วนคุณ Abderrahim Foukara หัวหน้าสำนักงานข่าวประจำกรุงวอชิงตันของข่ายงานโทรทัศน์ Al Jazeera ก็เสริมว่า สื่อสังคมออนไลนนั้นมีบทบาทสำคัญมากในการเผยแพร่เรื่องการประท้วงต่อต้านรัฐบาล แต่เวปไซตเหล่านี้ก็ไม่สามารถเผยแพร่จิตวิญญาณของประชาธิปไตยได้เองโดยลำพัง เพราะสื่อประเภทอื่นเช่นโทรทัศน์ ก็มีส่วนสำคัญในการช่วยกระตุ้นจิตสำนึกเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน

ทางด้านนาย Adam Schiff ส.ส. อเมริกันผู้เข้าร่วมการสัมนาดังกล่าวเช่นกันได้ชี้ว่า เวปไซตเครือข่ายสังคมออนไลนอย่างเช่น facebook และ Twitter นั้นแม้จะมีบทบาทสำคัญแต่ก็มีความเปราะบางอยู่ในตัว เพราะผู้มีอำนาจจะสามารถเข้าควบคุมเนื้อหาหรือปิดกั้นการเข้าถึงสื่อประเภทนี้ได้ง่าย ดังเช่นที่เกิดขึ้นในอียิปต์ ลิเบีย ตูนีเซีย และบาห์เรนเป็นต้น นอกจากนั้นแล้วรัฐบาลเผด็จการ เช่นอิหร่านยังอาศัยข้อมูลผู้ใช้ facebook เพื่อติดตามจับกุมสมาชิกของกลุ่มต่อต้านรัฐบาลด้วย และคุณ Michael Nelson ผู้สอนวิชาอินเทอร์เน็ทที่มหาวิทยาลัย Georgetown ในกรุงวอชิงตันก็เสริมว่าถึงแม้จะมีความพยายามปิดกั้นการเข้าถึงอินเทอร์เน็ทก็ตาม แต่ก็มักจะมีกลุ่มผู้ใช้ซึ่งมีความเชี่ยวชาญราว 10 % ที่อาศัยวิธีการหลีกเลี่ยงต่างๆ เช่นการใช้เกมส์ออนไลนหรือเวปไซตหาคู่ เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ข่าวสารต่อโลกภายนอกได้ บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อเหล่านี้เชื่อด้วยว่าสื่อสังคมออนไลนยังจะมีบทบาทสำคัญต่อไปแม้ภายหลังการเปลี่ยนรัฐบาลแล้ว ในฐานะเครื่องมือเพื่อให้ประชาชนใช้เป็นเวทีในการหารือ ว่าสังคมหรือประเทศชาติที่ตนต้องการเห็นนั้นควรจะเป็นในรูปใด