ผลการศึกษาที่ถูกตีพิมพ์ในสัปดาห์นี้โดยนิตยสาร Nature Scientific Reports ระบุว่ามนุษย์เพศชายมีแนวโน้วที่จะรับประทานเนื้อสัตว์มากกว่าเพศหญิง
การศึกษาพบว่าความสัมพันธ์ของการรับประทานเนื้อสัตว์กับสถานะทางเพศของมนุษย์ดังกล่าวพบได้แทบจะเป็นสากลในวัฒนธรรมต่าง ๆ โดยจะเห็นเด่นชัดขึ้นในประเทศพัฒนาแล้ว
งานวิจัยชิ้นนี้ซึ่งใช้กลุ่มตัวอย่างกว่า 28,000 คนจาก 23 ประเทศใน 4 ทวีป ได้รับเงินสนับสนุนจากองค์กรไม่เเสวงหาผลกำไร Mercy for Animals ที่ทำงานเพื่อลดการเกษตรที่เกี่ยวข้องกับสัตว์
อาจารย์ คริสโตเฟอร์ ฮ็อฟวูด ด้านจิตวิทยาที่ University of Zurich ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้เขียนรายงานชิ้นนี้กล่าวว่า หากพิจารณาถึงความพยายามลดการรับประทานเนื้อสัตว์ ผู้ชายจะส่งผลที่มีนัยสำคัญต่อเป้าหมายนี้มากกว่าผู้หญิง
ทั้งนี้ นักวิชาการรายนี้ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือสนับสนุนองค์กร Mercy for Animals
ก่อนหน้านี้ นักวิจัยทราบเเล้วว่าในบางประเทศ ผู้ชายกินเนื้อสัตว์มากกว่าผู้หญิงและประเทศที่มีฐานะร่ำรวยบริโภคเนื้อมากกว่าประเทศอื่น ๆ
แต่การวิจับล่าสุดพบว่า เมื่อชายและหญิงมีอิสระทางการเงินและไม่ติดเงื่อนไขทางสังคม ในการเลือกอาหารรับประทาน ความเเตกต่างของชายและหญิงในการบริโภคนื้อสัตว์ยิ่งเห็นชัดเจน
การศึกษาพบว่า หากไม่นับประเทศจีน อินเดีย และอินโดนีเซีย ความเเตกต่างทางเพศในการบริโภคเนื้อสัตว์ จะชัดเจนขึ้นที่มีระดับการพัฒนาและคะเเนนความเท่าเทียมทางของชาย-หญิง ที่สูง อ้างอิงข้อมูลจาก United Nations Development Index ของสหประชาชาติ รวมถึง Global Gender Gap Index และ World Economic Forum
แม้ว่าการวิจัยไม่ระบุถึงสาเหตุที่ผู้หญิงรับประทานเนื้อสัตว์น้อยกว่าผู้ชาย แต่นักวิทยาศาสตร์มีคำอธิบายว่า หากพิจารณาในมุมมองของวิวัฒนาการ ผู้หญิงอาจมีลักษณะด้านฮอร์โมนที่ทำให้เลี่ยงเนื้อสัตว์ เพราะมีความเสี่ยงต่อสิ่งแปลกปลอมหรือปนเปื้อน ที่อาจจะเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์
ขณะที่ผู้ชายจากบางวัฒนธรรมต้องการโปรตีนสำหรับพลังงานที่จะใช้ในการล่าสัตว์
- ที่มา: เอพี