รมต.หกประเทศที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและปัญหาการสร้างเขื่อนในลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างกำลังประชุมกันที่กรุงพนมเปญ

  • Robert Carmichael
    Nittaya Maphungphong

รมต.หกประเทศที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและปัญหาการสร้างเขื่อนในลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างกำลังประชุมกันที่กรุงพนมเปญ

รมต. กระทรวงสิ่งแวดล้อมของหกประเทศในเอเชียที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและปัญหาการสร้างเขื่อนในลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างกำลังประชุมกันที่กรุงพนมเปญ เพื่อหาทางทำความตกลงว่าจะทำงานร่วมกันได้อย่างไรที่จะทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจสมดุลกับการปกป้องคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างได้

รมต. กระทรวงสิ่งแวดล้อมของหกประเทศในเอเชียที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและปัญหาการสร้างเขื่อนในลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างกำลังประชุมกันที่กรุงพนมเปญ เพื่อหาทางทำความตกลงว่าจะทำงานร่วมกันได้อย่างไรที่จะทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจสมดุลกับการปกป้องคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างได้

เมื่อปี ค.ศ. 2005 หกประเทศในเอเชีย ซึ่งมีจีน พม่า ประเทศไทย กัมพูชา ลาว และเวียตนาม ร่วมกันจัดตั้งโครงการ 5 ปี มูลค่า 30 ล้านดอลล่าร์ขึ้นมา ซึ่งจะหาทางพัฒนาบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง ลดความยากจนให้กับประชาชนในบริเวณดังกล่าว โดยปกป้องคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในบริเวณได้ด้วย

โครงการ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Core Environmental Program and Biodiversity Conservation Corridors Initiative จะหมดอายุลงในเดือนธันวาคม ศกนี้ และทั้งหกประเทศที่เกี่ยวข้อง ได้มีมติให้ความเห็นชอบในหลักการที่จะยืดอายุโครงการต่อไปจนถึงปี ค.ศ. 2016 คาดว่าจะมีการให้ความเห็นชอบในเรื่องนี้อย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคมที่จะถึงนี้

นาย Sanath Ranawana เจ้าหน้าที่อาวุโสทางด้านทรัพยากรธรรมชาติของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย หรือ ADB เป็นผู้บริหารโครงการนี้ เขาอธิบายว่า ที่การประชุมนี้สำคัญ ก็เพราะลุ่มแม่น้ำโขงตอนใต้กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว และมีความเป็นไปได้อย่างมากว่าบริเวณดังกล่าวยังจะเติบโตต่อไปอีก เพราะประเทศ อย่างเช่น จีน และอินโดนีเซีย หรืออินเดีย มีความต้องการทรัพยากรและผลิตภัณฑ์จากลุ่มแม่น้ำโขงตอนใต้เป็นอย่างมาก จึงเป็นเรื่องสำคัญที่โครงการจะต้องหาทางสร้างความสมดุลระหว่างการพัฒนาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตกับการบริหารทรัพยากรแบบยั่งยืนให้ได้

เวลานี้ นักพิทักษ์สิ่งแวดล้อมมีคำเตือนออกมาแล้วว่า แม่โขงและแม่น้ำสาขาต่างๆที่แตกออกไป กำลังถูกคุกคามจากภาวะมลพิษและเขื่อนพลังไฟฟ้าที่สร้างขึ้นมา มากขึ้นทุกที

ที่กำลังเป็นที่โต้แย้งมากที่สุดแวลานี้ คือการก่อสร้างเขื่อนไชยะบุรี มูลค่า 3.8 พันล้านดอลล่าร์ในประเทศลาว ซึ่งลาวกล่าวว่า ได้ระงับการก่อสร้างแล้วในขณะนี้ หลังจากถูกพลังกดดันจากกัมพูชาและเวียตนาม

นายกรมต. ฮุนเซน ของกัมพูชา กล่าวในที่ประชุมที่กรุงพนมเปญเมื่อวันพฤหัสบดีว่า น้ำในแม่น้ำโขงมีความสำคัญถึงขั้นความเป็นความตายต่อผู้ที่ต้องพึ่งพาอาศัยแม่น้ำสายนี้ในการดำรงชีพ

ในขณะที่ลาวมองว่า แม่น้ำสายนี้เป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของตนจากการขายพลังไฟฟ้าที่จะผลิตได้จากการสร้างเขื่อน

เจ้าหน้าที่ของ ADB ผู้นี้กล่าวว่า ประเด็นสำคัญของขั้นตอนที่สองของโครงการ คือการเชื่อมโครงการพลังงานเข้ากับสิ่งแวดล้อม เพราะจะโยงไปถึงการตัดสินใจในการลงทุนในเรื่องอื่นๆ เช่น การเกษตร การท่องเที่ยว และการขนส่ง

นาย Sanath Ranawana ผู้เชี่ยวชาญของ ADB ทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ กล่าวต่อไปว่า ประเทศต่างๆที่เกี่ยวข้องตระหนักดีว่า เรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่ผนึกรวมอยู่ด้วย และจะต้องหาทางจัดการกัน และว่า บริการระบบนิเวศน์ที่จะมาจากการอนุรักษ์ จะเป็นพื้นฐานสำคัญของโครงการทางเศรษฐกิจทั้งหมด

ในการประชุมของ ASEAN ที่เกาะบาหลีในสัปดาห์ที่แล้ว รมต. Hillary Clinton ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ กล่าวว่า สหรัฐกำลังทำงานร่วมกับ ADB และสหภาพยุโรป หรือ EU เพื่อปรับปรุงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมในลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง และยังได้เรียกร้องให้ระงับการก่อสร้างเขื่อนใหม่ๆทั้งหมด จนกว่าจะได้มีการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมอย่างเต็มที่