นักวิจัยชาวอเมริกันจากมหาวิทยาลัยวอชิงตันในเมืองเซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูรี พัฒนาเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถเปลี่ยน นำ้ที่มีเกลือปนอยู่ให้เป็นวัตถุตั้งต้นสำหรับการผลิตออกซิเจนและพลังงานเชื้อเพลิง
ผลงานชิ้นนี้ซึ่ง ถูกตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Proceedings of the National Academy of Sciences (PNAS) ไม่นานนี้ ระบุว่าวิธีดังกล่าวอาศัยกระบวนการอิเล็กทรอไลซิส (electrolysis) หรือ การสร้างกระเเสไฟฟ้าจากของเหลว
นักวิจัยกลุ่มนี้สร้างเครื่องมือ ที่เรียกว่า อิเล็กทรอไลเซอร์ (electrolyzer) ที่เเบ่งองค์ประกอบของนำ้เค็ม เป็นก๊าซออกซิเจนและไฮโดรเจน ซึ่งสามารถใช้เป็นพลังงานสำหรับยานอวกาศและอุปกรณ์ต่างๆของการสำรวจอวกาศได้
ก่อนหน้านี้ นักวิทยาศาสตร์พบหลักฐานว่าดาวอังคารเคยมีแหล่งนำ้ขนาดใหญ่ และมีแนวโน้มว่าดาวเคราะห์เพื่อนบ้านของโลกดวงนี้ยังคงมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่อยู่
อย่างไรก็ตามดาวอังคารมีอากาศที่เย็นจัดและนำ้ที่มีอยู่น่าจะอยู่ในสภาพของนำ้เเข็ง ส่วนนำ้ที่ยังคงมีสถานะเป็นของเหลวน่าจะเป็นนำ้เค็ม
ตามปกติกระบวนการ อิเล็กทรอไลซิส ต้องแยกเกลือออกจากนำ้ก่อน กระบวนการดังกล่าวมีความสลับซับซ้อน ใช้พลังงานสูงและเป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อม
แต่ในงานวิจัยชิ้นใหม่นี้ของนักวิทยาศาสตร์อเมริกัน นำ้เค็มจะถูกเปลี่ยนเป็นออกซิเจนและไฮโดรเจนโดยทันที โดยในการทดลอง นักวิทยาศาสตร์ใช้นำ้เค็มที่มีระดับของเกลือเม็กนีเซียมในปริมาณสูงเพื่อสะท้อนถึงคุณลักษณะของของเหลวที่น่าจะอยู่บนดาวอังคาร
นอกจากนี้พวกเขายังทำการทดลองในสภาพอุณหภูมิคล้ายกับบนดาวอังคารด้วย
ในเอกสารที่เเจกต่อสื่อ นักวิจัยชี้ว่าเทคนิคของพวกเขาน่าจะมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อภารกิจสำรวจดาวอังคาร เพราะออกซิเจนเเละพลังงานเป็นสิ่งจำเป็นของนักบินอวกาศ
ก่อนหน้านี้องค์การนาซ่าของสหรัฐฯ ทดลองเทคโนโลยีสำหรับการสังเคราะห์ออกซิเจนบนดาวดวงดังกล่าวในสภาพเสมือนจริง และจะมีการลองใช้เครื่องมือในภารกิจของยาน Perseverance ของนาซ่า ที่จะเคลื่อนที่บนผิวดาวอังคาร โดยพาหนะนี้เดินทางไปยังดาวอังคาร ณ เวลานี้
อุปกรณ์ของนาซ่า ถูกออกเเบบเพื่อสังเคราะห์ออกซิเจนจากคาร์บอนไดออกไซด์ กระบวนการดังกล่าวใช้วิธีอิเล็กทรอไลซิสที่มีระดับอุณหภูมิสูง
หากเทียบกับเทคนิคของนาซ่า กระบวนการที่ถูกคิดค้นโดยนักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยวอชิงตัน สามารถผลิตออกซิเจนได้มากกว่าของนาซ่า 25 เท่า แม้ว่าจะใช้ระดับพลังงานเท่ากัน
นอกจากนั้น นักวิทยาศาสตร์ทีมดังกล่าวระบุว่า เทคนิคใหม่นี้สามาถผลิตไฮโดรเจนเพิ่มขึ้นมาได้ด้วย และหากนำมาใช้กับนำ้ทะเลบนโลก ความท้าทายเรื่องสภาพแวดล้อมจะมีน้อยกว่าบนดาวอังคาร และน่าจะมีประโยชน์ในกิจการกลาโหม เช่นการสังเคราะห์ออกซิเจน สำหรับเรื่อดำนำ้ หรืองานด้านการวิจัยนำ้ลึกในมหาสมุทร