นายกฯมาเลเซีย นาจิ๊บ ราซัค ตกที่นั่งลำบากหลังจากประชาชนสองแสนคนเดินขบวนขับไล่

  • Ron Corben
นักวิเคราะห์มีมุมมองต่างกันในเรื่องนี้ บางคนมองว่าการประท้วงเป็นการเผยให้เห็นความแตกแยกในพรรคฝ่ายค้านมาเลเซีย

Your browser doesn’t support HTML5

นายกฯมาเลเซีย นาจิ๊บ ราซัค ตกที่นั่งลำบาก

ข่าวอื้อฉาวล่าสุดเกี่ยวกับนายกฯ มาเลเซีย Najib Razak เริ่มขึ้นเมื่อเดือน ก.ค หลังจาก Wall St. Journal ตีพิมพ์รายงานกล่าวหาว่า นายกฯ Razak โอนเงิน $700 ล้านดอลล่าร์จากกองทุนเพื่อการลงทุน 1MDB ที่ตนเป็นผู้ก่อตั้งขึ้น เข้าไปบัญชีส่วนตัวของตนเอง

A protester offers prayers on the second day of a demonstration demanding Prime Minister Najib Razak’s resignation and electoral reforms in Kuala Lumpur on August 30, 2015. Tens of thousands of Malaysians swarmed central Kuala Lumpur on August 29.

ต่อมานายกฯ Razak ออกมาปฏิเสธรายงานดังกล่าว และยังได้สั่งถอดถอนเจ้าหน้าที่หลายคนที่วิพากษ์วิจารณ์ตนในเรื่องนี้ แต่ดูเหมือนนั้นยิ่งทำให้ประชาชนมาเลเซียเกิดความไม่พอใจมากยิ่งขึ้น

สุดสัปดาห์ที่ผ่านมาชาวมาเลเซียราว 200,000 คน เดินขบวนในกรุงกัวลาลัมเปอร์ เรียกร้องให้นายกฯ Razak ออกจากตำแหน่ง แต่ทางตำรวจมาเลเซียระบุว่าจำนวนผู้ประท้วงมีแค่ประมาณ 25,000 คนเท่านั้น

การเดินขบวนเป็นไปอย่างสงบ เมื่อเทียบกับการประท้วงในปี ค.ศ 2011 และ 2012 ซึ่งลุกลามไปเป็นความรุนแรงจนตำรวจต้องใช้แก๊สน้ำตาและหัวฉีดดับเพลิงสลายผู้ชุมนุม

Malaysia's Prime Minister Najib Razak waves a Malaysian national flag during National Day celebrations in Kuala Lumpur, August 31, 2015.

และเมื่อวันที่ 31 ส.ค ซึ่งเป็นวันชาติของมาเลเซีย นายกฯ Razak ได้กล่าวปราศรัยยืนยันว่าตนจะไม่ลาออก และว่าเงินที่มีปัญหาก้อนนั้นเป็นเงินบริจาคจากประเทศในตะวันออกกลาง นายกฯ มาเลเซียยังกล่าวตำหนิผู้ประท้วงว่าใจแคบและไร้สปิริต

Bridget Welsh นักรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน ชี้ว่าการประท้วงครั้งนี้ผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่เป็นชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนซึ่งเป็นชนชั้นกลางที่อาศัยอยู่ในเมือง และไม่พอใจต่อปัญหาทุจริตของรัฐบาล แต่การประท้วงที่เกิดขึ้นมิได้ครอบคลุมกลุ่มและชนชั้นต่างๆ ในมาเลเซียดังที่ผู้นำการประท้วงอยากให้เป็น ผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่ต่างเป็นฝ่ายที่คัดค้านนายกฯ Razak และพรรครัฐบาลมาเลเซียอยู่แล้ว

นอกจากนี้การประท้วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมายังขาดการสนับสนุนจากพรรค PAS และขาดผู้นำที่มีบารมีอย่างนาย Anwar Ibrahim ซึ่งอยู่ระหว่างการถูกจำคุกเป็นเวลา 5 ปีในความผิดข้อหาร่วมเพศทางทวารหนัก

Activists from the Coalition for Clean and Fair Elections (BERSIH) gather on a main road in downtown Kuala Lumpur, Malaysia, during a rally, Aug. 30, 2015.

นักรัฐศาสตร์ Bridget Welsh เชื่อว่าในที่สุดแล้ว นายกฯ Razak จะสามารถฝ่าฟันวิกฤติทางการเมืองครั้งนี้ไปได้ แต่ไม่ใช่ในระยะยาว เพราะหลังจากนี้ประชาชนจะเกิดวิกฤติศรัทธาในตัวนายกฯ Razak ประกอบกับการสูญเสียความน่าเชื่อถือทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งจะก่อให้เกิดเป็นข่าวอื้อฉาวและปัญหาอื่นๆตามมาอย่างไม่สิ้นสุด

แต่คุณ William Case แห่ง City University ในฮ่องกง เห็นตรงกันข้าม คุณ Case เชื่อว่าการประท้วงที่เพิ่งผ่านไปเป็นผลดีต่อนายกฯ Razak เอง เพราะแสดงให้เห็นถึงความแตกแยกของพรรคฝ่ายค้านที่ขาดการสนับสนุนจากพรรค PAS ที่เป็นพรรคของชาวมุสลิม ประกอบกับการที่ตำรวจรับมือผู้ประท้วงอย่างอดกลั้น ล้วนยิ่งจะทำให้สถานะทางการเมืองของนายกฯ Razak และพรรครัฐบาลแข็งแกร่งยิ่งขึ้น

นักวิเคราะห์ผู้นี้ยังเชื่อด้วยว่า ในที่สุดแล้วนายกฯ Razak จะสามารถเอาตัวรอดจากข้อกล่าวหาเรื่องทุจริตในกองทุน 1MDB นี้ไปได้

อย่างไรก็ดี สัปดาห์หน้าอดีตคณะรัฐบาลของมาเลเซียมีกำหนดจะพบหารือกันเพื่อหาทางออกสำหรับนายกฯ Najib Razak จากข้อกล่าวหาครั้งนี้


(ผู้สื่อข่าว Ron Corben รายงานจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ / ทรงพจน์ สุภาผล เรียบเรียง)