สหรัฐฯ เริ่มใช้มาตรการลงโทษบริษัทถุงมือยางมาเลเซียที่บังคับใช้แรงงาน

FILE - A worker collects rubber gloves at a factory outside Kuala Lumpur, Malaysia, March 11, 2008. On Oct. 1, the U.S. banned imports from Malaysian rubber glove maker WRP Asia Pacific over evidence of forced labor.

Your browser doesn’t support HTML5

Malaysia Forced Labor

สหรัฐฯ เริ่มใช้มาตรการลงโทษบริษัทถุงมือยางมาเลเซียรายใหญ่แห่งหนึ่งที่บังคับใช้แรงงาน

นักวิเคราะห์กล่าวว่า หากมาเลเซียยังไม่เร่งแก้ไขบัญหาการบังคับใช้แรงงานต่างด้าว การห้ามนำเข้าของสหรัฐฯ ในครั้งนี้ อาจจะไม่ใช่ครั้งสุดท้าย

นักรณรงค์ด้านสิทธิแรงงานเตือนว่า มาเลเซียยังคงเสี่ยงต่อการถูกมาตรการลงโทษจากสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นอีก หลังจากอเมริกาห้ามนำเข้าสินค้าจากบริษัทผลิตถุงมือยางรายหนึ่งที่ถูกพบว่ามีการบังคับใช้แรงงาน

ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมเป็นต้นมา บริษัทถุงมือยางของมาเลเซียที่ชื่อ WRP Asia Pacific ไม่สามารถส่งสินค้าของตนมาขายในสหรัฐฯ ได้ เนื่องจากถูกกล่าวหาว่าบังคับใช้แรงงาน

สำหรับผู้นำเข้าในสหรัฐฯ ที่รับของมาจาก WRP แล้ว จะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าไม่มีการบังคับใช้แรงงานในการผลิตสินค้าดังกล่าว ไม่เช่นนั้นจะต้องส่งสินค้าออกไปขายในประเทศอื่น

เบรนดา สมิธ (Brenda Smith) ผู้ช่วยผู้บังคับการฝ่ายบริหาร ของสำนักงานศุลกากร Customs and Border Protection’s Office of Trade ของสหรัฐฯ กล่าวว่า สัญญาณที่รัฐบาลอเมริกันส่งออกไปในเรื่องนี้ชัดเจนมาก

เธอกล่าวว่า “ถ้าประเทศใดเป็นคู่ค้าสหรัฐฯ แต่ไม่ทำตามคำมั่นที่จะกำจัดการบังคับใช้แรงงาน สหรัฐฯ จะทำทุกอย่างเพื่อที่จะปกป้องแรงงานจากการถูกเอาเปรียบ คุ้มครองตำแหน่งงานของคนอเมริกัน และสร้างการแข่งขันที่เท่าเทียม”

ขณะเดียวกัน แอนดี้ ฮอลล์ (Andy Hall) ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิแรงงานต่างด้าว กล่าวว่า ในประเทศมาเลเซียมีการบังคับใช้แรงงานอย่างแพร่หลาย และนอกจากบริษัท WRP ที่ถูกลงโทษทางการค้าแล้ว ยังมีอีกหลายบริษัทชาติเดียวกันที่กำลังถูกตรวจสอบ

ปัจจุบันมาเลเซียเป็นผู้ผลิตถุงมือยางที่ใช้ทางการแพทย์รายใหญ่ที่สุดของโลก โดยเป็นผู้ป้อนความต้องการมากกว่าครึ่งหนึ่งของตลาดโลก ตามสถิติของสมาคมผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ยางของมาเลเซีย (Malaysian Rubber Export Promotion Council)

นอกจากนี้สมาคมผู้ผลิตถุงมือยางของมาเลเซีย (MARGMA) กล่าวว่า ร้อยละ 65 ของถุงมือยางที่ผลิตโดยบริษัทสมาชิก ถูกส่งออกไปยังสหรัฐฯ

WRP Asia Pacific ซึ่งถูกห้ามขายสินค้าในอเมริกาเป็นบริษัทรายใหญ่ของมาเลเซีย เมื่อปีที่แล้ว WRP มีรายได้ 79 ล้าน 5 แสนดอลลาร์จากการส่งออกถุงมือยางมายังสหรัฐฯ

เช่นเดียวกับผู้ประกอบการภาคผลิตรายอื่นๆ บริษัทถุงมือยางในมาเลเซียใช้แรงงานจากประเทศเพื่อบ้านที่ยอมทำงานด้วยค่าแรงต่ำกว่าคนในประเทศ

รัฐบาลมาเลเซียเคยกล่าวว่า มีแรงงานต่างด้าวในประเทศ 1 ล้าน 7 แสนคน แต่องค์การแรงงานสากลหรือ International Labor Organization (ILO) ระบุว่าตัวเลขที่แท้จริงอาจสูงถึง 4 ล้านคน หรือคิดเป็น 1 ใน 3 ของจำนวนแรงงานทั้งหมดที่อยู่ในมาเลเซีย

แอนดี้ ฮอลล์ กล่าวว่า ปัจจุบันมีบริษัทจำนวนหนึ่งที่ปรับปรุงตัวดีขึ้นเรื่องการใช้แรงงานต่างชาติ โดยคืนหนังสือเดินทางของคนงานที่เคยยึดไว้ และทำตามข้อกำหนดเรื่องการจ้างงานในกะพิเศษ หรือ overtime

อย่างไรก็ตาม นักรณรงค์ผู้นี้กล่าวว่า ปัญหาสำคัญที่ยังแทบไม่มีการแก้ไขคือการบังคับให้ลูกจ้างทำงานตามเงื่อนไขการปลดหนี้ คนงานที่เดินทางมาจากบังคลาเทศผ่านนายหน้า จ่ายเงินเพื่อให้ได้มาทำงานในมาเลเซีย บางรายยอมเป็นหนี้ เพื่อให้สามารถจ่ายเงินมากถึง 5,000 ดอลล่าร์ เหล่านี้ต้องทำงานเพื่อชดใช้หนี้ก้อนดังกล่าว บางครั้งคนงาน ที่ถูกกดดันมากๆ ถึงกับฆ่าตัวตาย

และเมื่อสหรัฐฯ ใช้มาตรการลงโทษต่อบริษัทที่บังคับใช้แรงงาน สื่อท้องถิ่นของมาเลเซียรายงานว่า รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานของมาเลเซียได้เสนอเพิ่มเติมเนื้อหาในกฎหมายเพื่อปกป้องแรงงาน และให้ความช่วยเหลือผู้ผลิตถุงมือในการตรวจสอบภายในเพื่อให้การประกอบกิจการเป็นไปตามมาตรฐานสากล