เทคโนโลยีทางทหารถูกปรับมาใช้ในงานอนุรักษ์สัตว์ป่ามาเลเซีย

  • Ivan Broadhead
เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่ารัฐบาลออกลาดตระเวณตอนกลางคืนในป่าเบลุม เทเนกอร์ ทีมงานมีกันแค่ 12 คนแต่ต้องปกป้องช้าง เสือและหมี พันธุ์หายากที่อาศัยในป่ากินพื้นที่ 4,000 ตารางกิโลเมตรในรัฐทางเหนือของมาเลเซียนี้

คุณคาเดีย ฮัชชิม ผู้อำนวยการแห่งหน่วยอนุรักษ์สัตว์ป่าแห่งรัฐกล่าวว่าในพื้นที่ป่าบริเวณนี้มีจำนวนช้างพังมากกว่าช้างพลายเพราะมีการลักลอบล่าช้างตัวผู้เพื่อตัดงาไปขาย เขาคาดว่าน่าจะเหลือช้างพลายในป่าแค่ 10 ถึง 15 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ทางหน่วยงานพยายามอย่างมากในการแก้ปัญหานี้

แนวทางแก้ปัญหาการลักลอบล่าช้างป่าในมาเลเซียได้เริ่มพัฒนาขึ้นที่มหาวิทยาลัยน็อทติ้งแฮม วิทยาเขตกรุงกัวลาลัมเปอร์
ทีมงานวิจัยจากรัฐบาลและจากภาควิชาการจัดการและนิเวศวิทยาของช้างมาเลเซียที่มหาวิทยาลัยจากอังกฤษกำลังปรับปรุงเทคโนโลยีที่สามารถนำไปใช้สนับสนุนงานอนุรักษ์ช้างและการต่อต้านการลักลอบล่าสัตว์ป่า

วี ซีออง ลิม หนึ่งในสมาชิกทีมวิจัยกล่าวว่าเครื่องบินบังคับด้วยรีโมทโมเดลที่ทีมงานกำลังพัฒนาอยู่นี้ จะสามารถบินสำรวจพื้นที่ป่าได้นานหนึ่งชั่วโมง ในระยะที่ห่างออกไปห้าสิบกิโลเมตร นานพอในการสำรวจแห่งอาศันของช้าง กล้องถ่ายภาพด้วยแสงอินฟราเรดจะช่วยบันทึกภาพทะลุผ่านยอดต้นไม้ได้เพื่อดูว่ามีสัตว์ป่าอะไรบ้างอยู่ด้านล่างหรือมีสำรวจว่ามีใครกำลังลักลอบล่าสัตว์อยู่จุดใด อย่างไรก็ตามโครงการอนุรักษ์ช้างป่าไม่ได้ราบรื่นเสมอไป

ยิ่งนักอนุรักษ์ทำงานได้สำเร็จมากเท่าใด การแก่งแย่งระหว่างงานอนุรักษ์กับชุมชนที่ขยายตัวเข้าไปในพื้นที่ป่าเพราะขาดแคลนพื้นที่ดินและแหล้งทรัพยากรก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว

ราฮิม บานัน หัวหน้าชุมชนคนเผ่าในพื้นที่กล่าวว่าหมู่บ้านของเขาตั้งอยู่ริมป่า หมู่บ้านมีความปลอดภัยมากขึ้นหลังจากได้สร้างรั้วไฟฟ้าป้องกันช้างป่าไม่ให้เข้าไปในหมู่บ้านเมื่อปีที่ผ่านมา เขาบอกว่าช้างยังพยายามบุกเข้ามากิพืชผักในสวนของชาวบ้า ในอยู่ เขาเล่าว่าหลายสัปดาห์ที่แล้ว ช้างป่าฝูงหนึ่งเข้าไปหาอาหารกินในบ้านหลังหนึ่ง เด็กๆหกคนวิ่งหนีออกมาได้แต่บ้านพังราบคาบและเกิดไฟใหม้

ศาสตราจารย์อะฮิมซา แคมโปส อาร์ซีซ อธิบายวิธีที่นักวิจัยจะใช้ในการติดตามช้างเพื่อสร้างความปลอดภัยแก่ชาวบ้านว่าเป็นระบบเทรคกิ้งแบบจีพีเอสที่คล้องไว้ที่คอช้างเพื่อติดตามดูการเคลื่อนไหวของช้างว่าอยู่จุดใดบ้าง เขาบอกว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่ช่วยให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานต่างๆที่เป็นไปไม่ได้เมื่อ 15 ปีที่แล้ว

ผู้เชี่ยวชาญชาวมาเลเซียกล่าวด้วยว่าแม้ว่าฝ่ายอนุรักษ์จะพัฒนาอุปกรณ์เทคโนโลยีทันสมัยต่างๆออกมาช่วยในการต่อต้านการลักลอบล่าสัตว์ ฝ่ายลักลอบล่าสัตว์ก็มีการพัฒนาเช่นกัน ดังนั้นจึงจำเป็นที่ฝ่ายอนุรักษ์ต้องไม่หยุดยั้งในการพัฒนาตนเองให้ก้าวหน้ากว่าฝ่ายลักลอบ

ที่สนามฟุตบอลมหาวิทยาลัยน็อทติ้งแฮม ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ทีมงานกำลังทดสอบเครื่องบินบังคับด้วยระบบรีโมทคอนโทร
หากเครื่องบินบังคับลำนี้ผ่านการทดสอบ ฝ่ายอนุรักษ์ในมาเลเซียจะมีความคืบหน้าไปอีกหนึ่งก้าวในความพยายามนำเทคโนโลยีทางทหารมาปรับใช้กับงานปกป้องสัตว์ป่า