นักวิจัยสามารถระบุชนิดของสารเคมีที่ทำให้เหงื่อและลมหายใจของผู้ป่วยไข้จับสั่นยั่วยวนให้ยุงเข้ามาดูดเลือด

นอกจากนั้นผู้เชี่ยวชาญต้องการใช้สารดังกล่าวมาล่อยุงเข้ากับดักแทนที่จะปล่อยให้พวกมันบินไปกัดคนอื่นๆ และแพร่เชื้อต่อ

Your browser doesn’t support HTML5

Malaria

นักวิจัยสามารถระบุชนิดของสารเคมีที่ทำให้เหงื่อและลมหายใจของผู้ป่วยไข้จับสั่นยั่วยวนให้ยุงเข้ามาดูดเลือดเพิ่ม ซึ่งยิงทำให้ยุงจำนวนมากขึ้นมีเชื้อมาเลเรียไปแพร่การระบาดต่อ

ดังนั้นงานวิจัยชิ้นนี้ซึ่งถูกตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ mBio จึงมีประโยชน์ในการหาทางหยุดวงจรการระบาดของมาเลเรียที่คร่าชีวิตผู้ป่วย 6 แสนรายต่อปี จากผู้ติดเชื้อ 2 ล้านคน โดยที่ผู้เสียชีวิตส่วนมากเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ

สารที่ดึงดูดยุงชนิดนี้ชื่อ terpenes (เทอร์พีนส์) ที่ถูกสร้างขึ้นโดยเชื้อปรสิตที่เป็นสาเหตุของโรคมาเลเรียหรือไข้จับสั่น

นักวิจัย Audrey Odom จากมหาวิทยาลัยวอชิงตันในเมืองเซนต์หลุยรัฐมิสซูรี่ และคณะต้องการขยายผลจากการค้นพบครั้งนี้ โดยการทำวิจัยเพิ่มในแอฟริกา เพื่อดูว่าจะสามารถตรวจพบสาร terpenes ในเหงื่อและลมหายใจของเด็กที่เป็นโรคมาเลเรียได้หรือไม่

นอกจากนั้นผู้เชี่ยวชาญต้องการใช้สารดังกล่าวมาล่อยุงเข้ากับดักแทนที่จะปล่อยให้พวกมันบินไปกัดคนอื่นๆ และแพร่เชื้อต่อ

รายงานโดย Jessica Berman และเรียบเรียงโดยรัตพล อ่อนสนิท

ท่านสามารถฟังรายละเอียดของข่าวชิ้นนี้จากคลิปรายการข่าวสดสายตรงจากวีโอเอ