การตรวจหาเชื้อมาลาเรียด้วยแสงเลเซ่อร์ทำได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องใช้ตัวอย่างเลือดและตรวจได้อย่างแม่นยำถึงร้อยเปอร์เซ็นต์
ในปัจจุบัน การตรวจหาเชื้อมาลาเรียที่ใช้กันทั่วไปยังเป็นการตรวจตัวอย่างเลือดที่นำไปส่องด้วยกล้องจุลภาค
การวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องจำเป็นต้องใช้เจ้าหน้าที่เทคนิคการแพทย์ที่ได้รับการฝึกฝน อุปกรณ์ราคาเเพง และเวลา ปัจจัยทั้งสามดังกล่าวล้วนเป็นสิ่งที่ขาดเเคลนในประเทศยากจนและพื้นที่ทุรกันดารห่างไกลในหลายๆส่วนของโลก
เเต่เทคโนโลยีการตรวจหาเชื้อมาลาเรียวิธีใหม่ที่เรียกว่า vapor nanobubble จะไม่ต้องใช้ตัวอย่างเลือดในการตรวจอีกต่อไป คุณ Dmitri Lopotko นักวิจัยเเห่งภาควิชา Biochemistry and Cell Biology ที่มหาวิทยาลัย Rice University ในเมือง Houston รัฐ Texas กล่าวว่าการตรวจแบบใหม่เพียงแค่ให้ผู้รับการตรวจทาบนิ้วมือเพียงนิ้วเดียวลงบนเครื่องสแกนด้วยแสงเลเซ่อร์เท่านั้น
เขากล่าวว่าเครื่องสแกนจะฉายลำเเสงเลเซอร์ผ่านเข้าใต้ผิวหนังและเเสงเลเซ่อร์นี้จะถูกดูดซับโดยตัวเชื้อมาลาเรียเท่านั้นเนื่องจากความยาวของตัวคลื่นที่ใช้ และตัวเชื้อมาลาเรียจะตอบสนองต่อคลื่นแสงเลเซ่อร์นี้ด้วยการแตกตัว
คุณ Lopotko อธิบายว่าเเสงเลเซ่อร์ที่มีพลังงานต่ำนี้จะเข้าไปเกาะที่ตัวสารขนาดเล็กมากเรียกว่า hemozoin ที่เป็นสารพิษตัวเชื้อมาลาเรียปล่อยออกมาหลังจากเข้าไปเเพร่เชื้อในเซลล์เม็ดเลือดเเดง คุณ Lopotko กล่าวว่าในเซลล์เม็ดแดงปกติ เราจะไม่พบสารพิษตัวนี้
เเละเมื่อสารพิษจากตัวเชื้อมาลาเรียในเซลล์เม็ดเลือดแดงถูกต้องกับแสงเลเซ่อร์จนร้อนมากขึ้น มันจะผลิตฟองอากาศขนาดจิ๋วขึ้นภายในเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ติดเชื้อและเมื่อฟองอากาศนี้แตกตัว คุณ Lopotko นักวิจัยกล่าวว่าเสียงแตกของฟองอากาศนี้จะเป็นเสียงที่ไม่เหมือนเสียงอื่นๆ หูของนักวิทยาศาสตร์แยกแยะเสียงนี้ได้และจะนับจำนวนครั้งของการระเบิดตัวของฟองอากาศจิ๋วนี้
คุณ Lopotko กล่าวว่า ทีมงานสามารถตรวจพบการติดเชื้อมาลาเรียได้เเม้แต่ในระยะเริ่มต้นของการติดเชื้อ
คุณ Lopotko กล่าวว่าผลการทดลองตรวจหาเชื้อมาลาเรียด้วยเครื่องสแกนด้วยลำเเสงเลเซ่อร์นี้ยังไม่มีความผิดพลาดเลย ถือว่ามีความถูกต้องเเม่นยำอย่างมาก และสามารถตรวจพบเชื้อได้แม้เเต่ในระยะเริ่มต้นของการติดเชื้อซึ่งมีความสำคัญมากเพราะการรักษาเเต่เนิ่นๆจะมีประสิทธิิภาพมากที่สุด
อย่างไรก็ตาม อุปกรณ์การตรวจด้วยแสงเลเซ่อร์ที่เคลื่อนที่สะดวกและใช้ถ่านเเบตเตอร์รี่นี้ราคาไม่ถูก ค่าผลิตอยู่ที่เครื่องละ 10,000-20,000 ดอลล่าร์สหรัฐ
แต่เครื่องตรวจเเต่ละเครื่องจะสามารถตรวจผู้เข้ารับการตรวจได้ถึงปีละสองแสนคน หากคำนวณตามจำนวนของผู้เข้ารับการตรวจจะคิดเป็นค่าใช้จ่ายครึ่งดอลล่าร์สหรัฐต่อคนหรือประมาณ 15 บาทเท่านั้นและไม่จำเป็นต้องใช้เจ้าหน้าที่เทคนิคที่ได้รับการฝึกฝนในการตรวจเเต่อย่างใด
คุณ Lopotko หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวปิดท้ายรายงานจากผู้สื่่อข่าววีโอเอว่าลำแสงเลเซ่อร์ที่ใช้ในเทคโนโลยีนี้มีความเเรงต่ำมากและยังพบว่าปลอดภัยต่อร่างกายคนหลังจากได้ทดสอบในกลุ่มอาสาสมัคร เขากล่าวว่าขึ้นต่อไป ทีมวิจัยจะทำการทดสอบทางคลีนิคที่โรงพยาบาลในเมือง Houston ที่ดูแลรักษาคนป่วยด้วยไข้มาลาเรีย ก่อนจะทำการทดสอบทางคลีนิคในระดับทั่วโลกภายในปีพุทธศักราช 2557 นี้
ในปัจจุบัน การตรวจหาเชื้อมาลาเรียที่ใช้กันทั่วไปยังเป็นการตรวจตัวอย่างเลือดที่นำไปส่องด้วยกล้องจุลภาค
การวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องจำเป็นต้องใช้เจ้าหน้าที่เทคนิคการแพทย์ที่ได้รับการฝึกฝน อุปกรณ์ราคาเเพง และเวลา ปัจจัยทั้งสามดังกล่าวล้วนเป็นสิ่งที่ขาดเเคลนในประเทศยากจนและพื้นที่ทุรกันดารห่างไกลในหลายๆส่วนของโลก
เเต่เทคโนโลยีการตรวจหาเชื้อมาลาเรียวิธีใหม่ที่เรียกว่า vapor nanobubble จะไม่ต้องใช้ตัวอย่างเลือดในการตรวจอีกต่อไป คุณ Dmitri Lopotko นักวิจัยเเห่งภาควิชา Biochemistry and Cell Biology ที่มหาวิทยาลัย Rice University ในเมือง Houston รัฐ Texas กล่าวว่าการตรวจแบบใหม่เพียงแค่ให้ผู้รับการตรวจทาบนิ้วมือเพียงนิ้วเดียวลงบนเครื่องสแกนด้วยแสงเลเซ่อร์เท่านั้น
เขากล่าวว่าเครื่องสแกนจะฉายลำเเสงเลเซอร์ผ่านเข้าใต้ผิวหนังและเเสงเลเซ่อร์นี้จะถูกดูดซับโดยตัวเชื้อมาลาเรียเท่านั้นเนื่องจากความยาวของตัวคลื่นที่ใช้ และตัวเชื้อมาลาเรียจะตอบสนองต่อคลื่นแสงเลเซ่อร์นี้ด้วยการแตกตัว
คุณ Lopotko อธิบายว่าเเสงเลเซ่อร์ที่มีพลังงานต่ำนี้จะเข้าไปเกาะที่ตัวสารขนาดเล็กมากเรียกว่า hemozoin ที่เป็นสารพิษตัวเชื้อมาลาเรียปล่อยออกมาหลังจากเข้าไปเเพร่เชื้อในเซลล์เม็ดเลือดเเดง คุณ Lopotko กล่าวว่าในเซลล์เม็ดแดงปกติ เราจะไม่พบสารพิษตัวนี้
เเละเมื่อสารพิษจากตัวเชื้อมาลาเรียในเซลล์เม็ดเลือดแดงถูกต้องกับแสงเลเซ่อร์จนร้อนมากขึ้น มันจะผลิตฟองอากาศขนาดจิ๋วขึ้นภายในเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ติดเชื้อและเมื่อฟองอากาศนี้แตกตัว คุณ Lopotko นักวิจัยกล่าวว่าเสียงแตกของฟองอากาศนี้จะเป็นเสียงที่ไม่เหมือนเสียงอื่นๆ หูของนักวิทยาศาสตร์แยกแยะเสียงนี้ได้และจะนับจำนวนครั้งของการระเบิดตัวของฟองอากาศจิ๋วนี้
คุณ Lopotko กล่าวว่า ทีมงานสามารถตรวจพบการติดเชื้อมาลาเรียได้เเม้แต่ในระยะเริ่มต้นของการติดเชื้อ
คุณ Lopotko กล่าวว่าผลการทดลองตรวจหาเชื้อมาลาเรียด้วยเครื่องสแกนด้วยลำเเสงเลเซ่อร์นี้ยังไม่มีความผิดพลาดเลย ถือว่ามีความถูกต้องเเม่นยำอย่างมาก และสามารถตรวจพบเชื้อได้แม้เเต่ในระยะเริ่มต้นของการติดเชื้อซึ่งมีความสำคัญมากเพราะการรักษาเเต่เนิ่นๆจะมีประสิทธิิภาพมากที่สุด
อย่างไรก็ตาม อุปกรณ์การตรวจด้วยแสงเลเซ่อร์ที่เคลื่อนที่สะดวกและใช้ถ่านเเบตเตอร์รี่นี้ราคาไม่ถูก ค่าผลิตอยู่ที่เครื่องละ 10,000-20,000 ดอลล่าร์สหรัฐ
แต่เครื่องตรวจเเต่ละเครื่องจะสามารถตรวจผู้เข้ารับการตรวจได้ถึงปีละสองแสนคน หากคำนวณตามจำนวนของผู้เข้ารับการตรวจจะคิดเป็นค่าใช้จ่ายครึ่งดอลล่าร์สหรัฐต่อคนหรือประมาณ 15 บาทเท่านั้นและไม่จำเป็นต้องใช้เจ้าหน้าที่เทคนิคที่ได้รับการฝึกฝนในการตรวจเเต่อย่างใด
คุณ Lopotko หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวปิดท้ายรายงานจากผู้สื่่อข่าววีโอเอว่าลำแสงเลเซ่อร์ที่ใช้ในเทคโนโลยีนี้มีความเเรงต่ำมากและยังพบว่าปลอดภัยต่อร่างกายคนหลังจากได้ทดสอบในกลุ่มอาสาสมัคร เขากล่าวว่าขึ้นต่อไป ทีมวิจัยจะทำการทดสอบทางคลีนิคที่โรงพยาบาลในเมือง Houston ที่ดูแลรักษาคนป่วยด้วยไข้มาลาเรีย ก่อนจะทำการทดสอบทางคลีนิคในระดับทั่วโลกภายในปีพุทธศักราช 2557 นี้