สองปีที่แล้ว คุณทอม ดุกส์ ผู้บริหารบริษัทแห่งหนึ่งในรัฐแคลิฟอร์เนียป่วยด้วยอาการปวดท้องรุนแรง แพทย์ผู้วินิจฉัยโรคบอกว่าเขาป่วยด้วยโรคลำใส้อักเสบรุนแรง แพทย์สั่งจ่ายยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาอาการอักเสบดังกล่าว
คุณทอม ดุกส์เล่าให้ฟังว่าแพทย์สั่งให้เขาเริ่มรับประทานยาปฏิชีวนะติดต่อกันทุกเช้า พอกินยาได้สองวันเท่านั้น อาการของเขาดีขึ้นจนแทบจะหายเป็นปลิดทิ้ง แต่ไม่กี่เดือนต่อมา เขาเกิดป่วยด้วยอาการเดิมอีก แพทย์ให้เขารับประทานยาปฏิชีวนะอีก คราวนี้ยาใช้ไม่ได้ผล เขาถูกส่งเข้าห้องฉุกเฉินเพราะอาการปวดท้องรุนแรงมาก
คุณทอม ดุกส์เล่าให้ผู้สื่อข่าววีโอเอฟังว่าเขาไม่เคยเจอะเจออาการปวดมากขนาดนั้นมาก่อน ปวดมากกว่าอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาหรือแขนขาหักเสียอีก
แพทย์วินิจฉัยในตอนนั้นว่า เชื้อแบคทีเรีย E.Coli ได้แพร่เข้าไปในช่องท้องผ่านลำใส้ใหญ่ที่ฉีกขาด แพทย์ต้องผ่าตัดคนไข้และใช้ยาปฏิชีวนะที่เหลืออีกตัวเดียวที่จะได้ผลกับคนไข้ในการรักษาแพทย์สงสัยว่าคนไข้ติดเชื้อแบคทีเรีย E.Coli จากการทานเนื้อที่ปนเปื้อน
ผู้สื่อข่าววอยออฟอเมริการายงานว่าสัตว์ในฟาร์หมปศุสัตว์ขนาดใหญ่ทั่วโลกได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันโรคเป็นประจำ ยาปฏิชีวนะยังช่วยให้สัตว์ในฟาร์หมเลี้ยงโตกว่าเดิมแม้จะให้อาหารน้อยลงก็ตาม
ในสหรัฐ มีการใช้ยาปฏิชีวนะกับสัตว์ในฟาร์หมเลี้ยงที่สุขภาพแข็งแรงสูงมากกว่าที่นำไปใช้ในการรักษาผู้ป่วย การใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงสัตว์ในฟาร์มเพื่อขายเนื้อแบบนี้ถูกเพ่งเล่ง ในการศึกษาชิ้นใหม่ นายแธด สแตนตั้น นักวิจัยประจำกระทรวงการเกษตรสหรัฐ ศึกษาดูเชื้อแบคทีเรียที่มาจากหมูในฟาร์หมเลี้ยงที่ได้รับยาปฏิชีวนะเป็นประจำ เขาพบว่ามีเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยาิชีวนะเพิ่มมากขึ้นถึงยี่สิบชนิดทีเดียว รวมทั้งชนิดที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะตัวที่หมูไม่ได้กินเข้าไปด้วยก็มี
คุณสแตนตั้น นักวิจัยกล่าวว่าการศึกษายังพบว่าจำนวนเชื้อแบคทีเรีย E.Coli เพิ่มขึ้นในหมูด้วย เป็นข้อมูลที่เขาไม่เคยคาดคิดมาก่อน แม้ว่า E.Coli ส่วนใหญ่จะไม่เป็นอันตราย แต่ E.Coli บางตัวก็ทำให้เิิิกิดโรคได้ แต่ E.Coli ที่ไม่เป็นอันตรายอาจแพร่ฤทธิ์ดื้อยาปฏิชีวนะแก่ตัวเชื้อ E.Coli ที่อันตรายได้ด้วย
ด้านคุณลิซ วิกสโตรม หัวหน้าสัตวแพทย์แห่งสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติสหรัฐ กล่าวว่า มีการป้องกันทุกขั้นตอนในการป้องกันไม่ให้้เชื้อแบคทีเรียปนเปื้อนในเนื้อหมู ตั้งแต่จากฟาร์หมเลี้ยง โรงฆ่าสัตว์และตลาด เธอเห็นว่าการให้หมูกินยาปฏิชีวนะมีผลต่อการดื้อยาของเชื้อโรคแค่น้อยมากจนถึงแทบจะไม่มีเลย
แต่คุณจิม จอห์นสัน แพทย์ด้านโรคติดต่อที่มหาวิทยาลัย University of Minnesota ไม่เห็นด้วย เขาแย้งว่า ตลอดยี่สิบห้าปีในอาชีพหมอ เขาได้เห็นยาปฏิชีวนะขนานแล้วขนานเล่าใช้ไม่ได้ผลเพราะเชื้อโรคดื้อยา
หมอจิม จอห์นสัน กล่าวว่า น่ากังวลมากที่พบการดื้อยาในเชื้อแบคทีเรีย E.Coli ที่มาจากเนื้อสัตว์ที่ได้จากฟาร์หมที่ให้สัตว์กินยาปฏิชีวนะ
เมื่อเร็วนี้ สหรัฐออกกฏไม่ให้ใช้ยาปฏิชีวนะกลุ่มสำคัญกลุ่มหนึ่งในการเลี้ยงสัตว์ในฟาร์หม แต่ยังคงให้ใช้ยาบางตัวได้ แต่ในปริมาณจำกัด นักวิจารณ์ชี้ว่า ต้องมีกฏระเบียบที่เข้มงวดมากกว่านี้
คุณเบอร์นาร์ด วาลาท หัวหน้า UN animal health agency กล่าวว่า ในประเทศกำลังพัฒนา ปัญหานี้น่าวิตกมากกว่าในสหรัฐเพราะหย่อนยานในการบังคับใช้กฏหมายควบคุม
คุณเบอร์นาร์ด วาลาท หัวหน้า UN animal health agency บอกว่า ในมากกว่าร้อยประเทศทั่วโลก ไม่มีการใช้กฏหมายที่เหมาะสมในการควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะเหล่านี้ ขาดการความคุบการนำเข้ายา การลงทะเบียน ตลอดจนการจำแหนกแจกจ่ายและการใช้ยา เขาบอกว่า ปัญหานี้น่ากังวลเพราะเชื้อแบคทีเรียดื้อยาสามารถแพร่กระจายไปได้ทั่วโลกในยุคโลกาภิวัตน์แบบนี้