ผลวิจัยชี้อายุขัยประชากรโลกเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉลี่ย 6 ปีจากระดับเมื่อ 25 ปีที่แล้ว

  • Joe Capua

A group of senior soccer players rest after a match in Miraflores, in Lima.

แต่เมื่อคนเราอายุยืนขึ้นก็จะมีโอกาสมากขึ้นที่จะเจ็บป่วยด้วยโรคที่ทำให้การทำงานของร่างกายด้อยประสิทธิภาพลง

Your browser doesn’t support HTML5

Life Expectancy Health

ผลการศึกษาชิ้นใหม่พบว่าสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้ประชากรโลกมีอายุเฉลี่ยเพิ่มขึ้น มาจากการที่โลกมีความก้าวหน้าทางการแพทย์มากขึ้นในการรับมือกับโรคเอดส์ โรคมาลาเรีย โรคติดต่อต่างๆ การเสียชีวิตของมารดาและลูกตลอดจนความบกพร่องที่เกี่ยวข้องกับโภชนาการ

องค์การอนามัยโลกได้จัดอันดับประเทศที่มีอายุขัยสูงที่สุดในโลก โดยชี้ว่ามี 10 ประเทศทั่วโลกที่มีระดับอายุขัยของคนสูงที่สุดได้แก่ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ อันดอร์ร่า ไอซ์แลนด์และไซปรัส ตามด้วยอิสราเอล ฝรั่งเศส อิตาลี เกาหลีใต้ และแคนาดา

ส่วนสหรัฐติดอันดับที่ 34 ของทั่วโลกเนื่องจากสหรัฐประสบกับปัญหาทางสุขภาพหลากหลายประเภทเพราะมีความหลากหลายทางประชากร

According to WHO, by the year 2050, an estimated two billion people will be aged 60 or older.

ศาสตราจารย์ Theo Vos ผู้เชี่ยวชาญด้าน Global Health แห่งสถาบัน Institute for Health Metrics and Evaluation ที่มหาวิทยาลัย University of Washington ผู้เป็นหัวหน้าทีมร่างผลการวิจัยเกี่ยวกับอายุขัยครั้งนี้ กล่าวว่าอัตราการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุได้ลดลงมากอย่างเห็นได้ชัด

ศาสตราจารย์ Vos กล่าวว่าที่สำคัญที่สุดคือเด็กเล็กเสียชีวิตน้อยลงจากโรคติดต่อในเด็กเล็กทุกชนิด นอกจากนี้ยังพบว่าอัตราการเสียชีวิตจากอาการบาดเจ็บต่างๆ ก็ลดลงอย่างต่อเนื่อง และลดลงอย่างช้าๆในกรณีของอัตราการเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อโรคหลักๆ หลายโรค

สำหรับคนจำนวนมาก การมีอายุยืนมากขึ้นไม่ได้หมายความว่าจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีเสมอไป เพราะเมื่อคนเราแก่ตัวขึ้นก็มักประสบกับปัญหาสุขภาพหลายอย่าง

ศาสตราจารย์ Vos กล่าวว่าเมื่อคนเราอายุยืนขึ้น ยิ่งแก่ตัวลง ก็จะมีโอกาสมากขึ้นที่จะเจ็บป่วยด้วยโรคที่ทำให้การทำงานของร่างกายด้อยประสิทธิภาพลง