หน่วยงานอนุรักษ์สัตว์ทะเลหมู่เกาะลามู หรือ Lamu Marine Conservation Trust ตั้งโครงการจับแล้วปล่อยขึ้นเพื่อช่วยปกป้องเต่าทะเลสองสายพันธุ์ที่หมู่เกาะลามูประเทศเคนยา
หลายคนเรียกคุณ Famua Shukry ว่าหนุ่มเต่าเพราะเขารักเต่าทะเลเป็นชีวิตจิตใจ คุณ Shukry ทำงานให้กับกองทุนอนุรักษ์สัตว์ทะเลแห่งหมู่เกาะลามู หรือเรียกย่อๆว่า LAMCOT กองทุนนี้ตั้งขึ้นเมื่อราว 20 ปีที่แล้วเพื่อช่วยอนุรักษ์เต่าทะเลในหมู่เกาะลามูที่ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว ทางกองทุนได้รับการสนับสนุนจากกองทุน Tusk Trust ในอังกฤษ
คุณ Shukry บอกกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าเขาอยากมีส่วนช่วยอนุรักษ์เต่าทะเลของหมู่เกาะลามูที่อาจจะสูญพันธุ์ ไปทั้งหมดหากไม่มีการปกป้อง
ชาวบ้านที่หมู่เกาะลามู ประเทศเคนยาจับเต่าทะเลเพื่อใช้เนื้อ กระดองและไข่ เป็นทั้งอาหารและนำไปทำยา บ้างเชื่อว่าเต่าเป็นอาหารเสริมสมรรถนะทางเพศ เต่าทะเลยังถูกคุกคามจากปัจจัยอย่างอื่น อาทิ อวนหาปลา มลพิษในน้ำทะเล และพื้นที่วางไข่ตามชายหาดถูกทำลาย ลูกเต่าทะเลที่เพิ่งฟักเป็นตัวยังเป็นอาหารของสัตว์ชนิดอื่นๆด้วย
เพื่อช่วยลดการล่าเต่าทะเล ทางกองทุน LAMCOT ได้จัดทำโครงการจับแล้วปล่อยเต่าทะเลขึ้นมา โดยจ่ายเงินให้แก่ชาวประมงที่นำเต่าทะเลที่จับได้ในอวนหาปลาไปคืนแก่ทางกองทุน
คุณ Shukry กล่าวว่า ทางกองทุนพยายามสร้างความเข้าใจกับชาวบ้านว่าแม้จะได้เงินค่าเต่าต่ำกว่าราคาขายในตลาดเถื่อน แต่ชาวบ้านจะมีส่วนในการอนุรักษ์เต่าไปในตัว โครงการนี้ไม่ส่งเสริมให้คนไปล่าจับเต่าทะเลมาขายให้กองทุนแต่จะแจ้งให้ชาวบ้านรู้ว่าหากบังเอิญจับเต่าทะเลได้ในอวนหาปลา ก็ให้นำมาขายแก่กองทุนได้ และเต่าตัวนั้นจะถูกปล่อยกลับไปสู่ท้องทะเล
นอกจากแรงจูงใจที่เป็นตัวเงินแล้ว ทางการมีบทลงโทษรุนแรงต่อคนที่ถูกจับข้อหาล่าเต่าทะเล
การให้ความรู้เรื่องการอนุรักษ์เต่าทะเลเป็นงานหลักอีกอย่างหนึ่งของกองทุนอนุรักษ์เต่าทะเล LAMCOT ที่หมู่เกาะลามู ประเทศเคนยา ทางโครงการเปิดรับนักท่องเที่ยวให้เข้าชมจุดวางไข่เต่าทะเลที่ชายหาด เพื่อดูการฟักออกเป็นตัวของลูกเต่า โดยเก็บค่าเข้าชมคนละ 18 ดอลล่าร์สหรัฐ หรือ ห้าร้อยสี่สิบบาท กองทุน LAMCOT นำรายได้นี้ไปใช้ในการซื้อเต่าจากชาวบ้านเพื่อนำไปปล่อย ใช้เป็นเงินเดือนของเจ้าหน้าที่ตรวจตราชายหาดซึ่งเป็นจุดวางไข่ของเต่าทะเล
นักท่องเที่ยวอย่าง Melissa Martinez อายุ 23 ปีจากเมืองซานแอนโตนีโอ ในรัฐเท็กซัส เห็นว่าการเยี่ยมชมจุดวางไข่ของเต่าทะเลเป็นประสบการณ์ที่น่าทึ่งมาก เธอบอกว่ามีโอกาสได้ถามคำถามมากมายเกี่ยวกับเต่าทะเลและเจ้าหน้าที่ก็ตอบคำำถามทุกข้อด้วยรอยยิ้ม เธอได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆหลายอย่างเกี่ยวกับเต่าทะเล
ไม่ใช่แค่นักท่องเที่ยวเท่านั้นที่ได้เรียนรู้เรื่องการอนุรักษ์เต่าทะเล Mohamed Ahmed เป็นอดีตสมาชิกสโมสรด้านสิ่งแวดล้อมที่โรงเรียนของกองทุน LAMCOT ปัจจุบันเขาช่วยสอนเด็กนักเรียนท้องถิ่นเรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์เต่าทะเล
ตั้งแต่กองทุนอนุรักษ์เต่าทะเลหมู่เกาะลามูตั้งขึ้นมา คุณ Shukry เจ้าหน้าที่กองทุนบอกกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่า พบจุดวางไข่ของเต่าทะเลเพิ่มขึ้นจากเดิม 4 ถึง 5 รังต่อปีเป็น 40 ถึง 60 รังต่อปีทีเดียว
คุณ Shukry บอกกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าเขาอยากมีส่วนช่วยอนุรักษ์เต่าทะเลของหมู่เกาะลามูที่อาจจะสูญพันธุ์ ไปทั้งหมดหากไม่มีการปกป้อง
ชาวบ้านที่หมู่เกาะลามู ประเทศเคนยาจับเต่าทะเลเพื่อใช้เนื้อ กระดองและไข่ เป็นทั้งอาหารและนำไปทำยา บ้างเชื่อว่าเต่าเป็นอาหารเสริมสมรรถนะทางเพศ เต่าทะเลยังถูกคุกคามจากปัจจัยอย่างอื่น อาทิ อวนหาปลา มลพิษในน้ำทะเล และพื้นที่วางไข่ตามชายหาดถูกทำลาย ลูกเต่าทะเลที่เพิ่งฟักเป็นตัวยังเป็นอาหารของสัตว์ชนิดอื่นๆด้วย
เพื่อช่วยลดการล่าเต่าทะเล ทางกองทุน LAMCOT ได้จัดทำโครงการจับแล้วปล่อยเต่าทะเลขึ้นมา โดยจ่ายเงินให้แก่ชาวประมงที่นำเต่าทะเลที่จับได้ในอวนหาปลาไปคืนแก่ทางกองทุน
คุณ Shukry กล่าวว่า ทางกองทุนพยายามสร้างความเข้าใจกับชาวบ้านว่าแม้จะได้เงินค่าเต่าต่ำกว่าราคาขายในตลาดเถื่อน แต่ชาวบ้านจะมีส่วนในการอนุรักษ์เต่าไปในตัว โครงการนี้ไม่ส่งเสริมให้คนไปล่าจับเต่าทะเลมาขายให้กองทุนแต่จะแจ้งให้ชาวบ้านรู้ว่าหากบังเอิญจับเต่าทะเลได้ในอวนหาปลา ก็ให้นำมาขายแก่กองทุนได้ และเต่าตัวนั้นจะถูกปล่อยกลับไปสู่ท้องทะเล
นอกจากแรงจูงใจที่เป็นตัวเงินแล้ว ทางการมีบทลงโทษรุนแรงต่อคนที่ถูกจับข้อหาล่าเต่าทะเล
การให้ความรู้เรื่องการอนุรักษ์เต่าทะเลเป็นงานหลักอีกอย่างหนึ่งของกองทุนอนุรักษ์เต่าทะเล LAMCOT ที่หมู่เกาะลามู ประเทศเคนยา ทางโครงการเปิดรับนักท่องเที่ยวให้เข้าชมจุดวางไข่เต่าทะเลที่ชายหาด เพื่อดูการฟักออกเป็นตัวของลูกเต่า โดยเก็บค่าเข้าชมคนละ 18 ดอลล่าร์สหรัฐ หรือ ห้าร้อยสี่สิบบาท กองทุน LAMCOT นำรายได้นี้ไปใช้ในการซื้อเต่าจากชาวบ้านเพื่อนำไปปล่อย ใช้เป็นเงินเดือนของเจ้าหน้าที่ตรวจตราชายหาดซึ่งเป็นจุดวางไข่ของเต่าทะเล
นักท่องเที่ยวอย่าง Melissa Martinez อายุ 23 ปีจากเมืองซานแอนโตนีโอ ในรัฐเท็กซัส เห็นว่าการเยี่ยมชมจุดวางไข่ของเต่าทะเลเป็นประสบการณ์ที่น่าทึ่งมาก เธอบอกว่ามีโอกาสได้ถามคำถามมากมายเกี่ยวกับเต่าทะเลและเจ้าหน้าที่ก็ตอบคำำถามทุกข้อด้วยรอยยิ้ม เธอได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆหลายอย่างเกี่ยวกับเต่าทะเล
ไม่ใช่แค่นักท่องเที่ยวเท่านั้นที่ได้เรียนรู้เรื่องการอนุรักษ์เต่าทะเล Mohamed Ahmed เป็นอดีตสมาชิกสโมสรด้านสิ่งแวดล้อมที่โรงเรียนของกองทุน LAMCOT ปัจจุบันเขาช่วยสอนเด็กนักเรียนท้องถิ่นเรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์เต่าทะเล
ตั้งแต่กองทุนอนุรักษ์เต่าทะเลหมู่เกาะลามูตั้งขึ้นมา คุณ Shukry เจ้าหน้าที่กองทุนบอกกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่า พบจุดวางไข่ของเต่าทะเลเพิ่มขึ้นจากเดิม 4 ถึง 5 รังต่อปีเป็น 40 ถึง 60 รังต่อปีทีเดียว