โทรศัพท์มือถือเคยเป็นสินค้าหรูหราในเคนยา แต่ปัจจุบันราคาโทรศัพท์มือถือถูกลงมาเรื่อยๆ ทำให้คนจากทุกสถาณภาพทางการเงินสามารถซื้อโทรศัพท์มือถือมาใช้ส่วนตัวหรือเพื่อทำธุรกิจ
บริษัทจัดทำการวิจัย iHub Research and Research Solution Africa เปิดเผยผลการวิจัยที่ธนาคารโลกเป็นผู้ว่าจ้างเมื่อเร็วๆนี้เกี่ยวกับการใช้โทรศัพท์มือถือในประชาการชาวเคนยาที่มีรายได้ต่ำกว่าสองดอลล่าร์ห้าสิบเซ็นสหรัฐต่อวันหรือประมาณเจ็ดสิบห้าบาท
คุณแองเจลล่า แครนเดล ผู้จัดการโครงการแห่ง iHub Research เป็นผู้ทำการวิจัยสำหรับรายงานเรื่องนี้ เธอกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าหนึ่งในห้าของชาวเคนยาในการสำรวจนี้เลือกที่จะใช้เงินที่หามาได้ซื้อค่านาทีของโทรศัพท์มือถือแทนที่จะนำไปซื้อสิ่งของจำเป็นในชีวิตประจำวัน อาหาร หรือค่าบริการขนส่งสาธารณะ บางคนเลือกบริโภคอาหารที่ราคาถูกกว่า อาทิข้าวและผักแทนการบริโภคเนื้อสัตว์ที่มีราคาแพงกว่า เพื่อนำเงินไปจ่ายเป็นค่านาทีโทรศัพท์มือถือ คุณแครนเดลกล่าวว่าคนเหล่านี้มีเหตุผลที่ตัดสินใจแบบนี้
แครนเดล ผู้ทำการวิจัยกล่าวว่าคนเหล่านี้ให้ความสำคัญกับการใช้เงินไปกับค่านาทีโทรศัพท์มือถือเพราะได้สื่อสารกับคนอื่นเพื่อหางานทำหรือทำธุรกิจ พวกเขายอมลงทุนหกสิบเซ็นต์หรือเกือบยี่สิบบาทเป็นค่าโทร เผื่ออาจจะได้งานทำและทำเงินได้มากกว่า 20กว่าดอลล่าร์สหรัฐหรือ 600 กว่าบาท
คุณมาร์ธา โบสิโบริ อายุสิบแปดปีเป็นแม่ค้าขายมะม่วงในตลาดริมสลัม Kibera สลัมที่ใหญ่ที่สุดในไนโรบี บอกว่ายอมอดข้าวเพื่อนำเงินไปซื้อค่านาทีโทรศัพท์มือถือ
คุณโบสิโบริ บอกกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าเธอยอมหิวแล้วนำเงินค่าอาหารไปซื้อค่านาทีเพื่อจะได้ใช้โทรศัพท์ติดต่อกับลูกค้า เป็นการเอาเงินค่าอาหารไปลงทุนเป็นค่าติดต่อสื่อสารกับลูกค้า เธอยกตัวอย่างว่าเธอใช้โทรศัพท์เพื่อรับสั่งซื้อมะม่วงจากคนรู้จัก ที่จะโทรมาเพื่อให้นำมะม่วงไปส่งให้ที่บ้าน
ส่วนคุณซูซาน เว็คเซอร่า เพื่อนของโบสิโบริที่ขายเครื่องประดับในตลาดเดียวกันบอกว่าเธอยอมเิดินไปทำงานแทนที่จะใช้บริการรถมินิบัสเพราะต้องการประหยัดเงินด้วยเหตุผลเดียวกัน
อย่างไรก็ดี แครนเดลเตือนว่าควรระมัดระวังในการวิเคาระห์ข้อมูลที่ได้จากการวิจัย
เธอบอกว่าไม่อยากให้คนเข้าใจผิดว่าโทรศัพท์มือถือทำให้คนอดอยากมากขึ้น เพราะมีการศึกษาทำนองเดียวกันอีกหลายชิ้นที่พบว่าคนที่มีรายได้น้อยมากที่สุด หากมีไม่รายได้เพิ่มขึ้น พวกเขาจะนำเงินไปใช้จ่ายด้านความบันเทิงแทนที่จะซื้ออาหารเพิ่ม เธอบอกว่าคนทั่วไปมักมองเหมารวมว่าคนจนที่อดอยากหิวโหย หากมีรายได้มากขึ้นจะนำเงินไปซื้ออาหารรับประทาน
นักวิจัยกล่าวว่าการศึกษานี้ชี้ถึงความสำคัญของการใช้โทรศัพท์มือถือในกลุ่มคนมีรายได้น้อย การศึกษาพบว่าชาวเคนยาในการสำรวจที่บอกว่ายอมใช้เงินจ่ายเป็นค่าโทรศัพท์มือถือ
แทนการซื้อสิ่งของจำเป็นในชีวิตประจำวัน ต้องลดค่าใช้จ่ายส่วนตัวลงมาราวสัปดาห์ละ 83 เซ็นต์หรือยี่สิบห้าบาท
นอกจากนี้การวิจัยยังพบด้วยว่ามากกว่าหกสิบเปอร์เซ็นต์ของผู้มีรายได้น้อยชาวเคนยามีโทรศัพท์มือถือใช้
บริษัทจัดทำการวิจัย iHub Research and Research Solution Africa เปิดเผยผลการวิจัยที่ธนาคารโลกเป็นผู้ว่าจ้างเมื่อเร็วๆนี้เกี่ยวกับการใช้โทรศัพท์มือถือในประชาการชาวเคนยาที่มีรายได้ต่ำกว่าสองดอลล่าร์ห้าสิบเซ็นสหรัฐต่อวันหรือประมาณเจ็ดสิบห้าบาท
คุณแองเจลล่า แครนเดล ผู้จัดการโครงการแห่ง iHub Research เป็นผู้ทำการวิจัยสำหรับรายงานเรื่องนี้ เธอกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าหนึ่งในห้าของชาวเคนยาในการสำรวจนี้เลือกที่จะใช้เงินที่หามาได้ซื้อค่านาทีของโทรศัพท์มือถือแทนที่จะนำไปซื้อสิ่งของจำเป็นในชีวิตประจำวัน อาหาร หรือค่าบริการขนส่งสาธารณะ บางคนเลือกบริโภคอาหารที่ราคาถูกกว่า อาทิข้าวและผักแทนการบริโภคเนื้อสัตว์ที่มีราคาแพงกว่า เพื่อนำเงินไปจ่ายเป็นค่านาทีโทรศัพท์มือถือ คุณแครนเดลกล่าวว่าคนเหล่านี้มีเหตุผลที่ตัดสินใจแบบนี้
แครนเดล ผู้ทำการวิจัยกล่าวว่าคนเหล่านี้ให้ความสำคัญกับการใช้เงินไปกับค่านาทีโทรศัพท์มือถือเพราะได้สื่อสารกับคนอื่นเพื่อหางานทำหรือทำธุรกิจ พวกเขายอมลงทุนหกสิบเซ็นต์หรือเกือบยี่สิบบาทเป็นค่าโทร เผื่ออาจจะได้งานทำและทำเงินได้มากกว่า 20กว่าดอลล่าร์สหรัฐหรือ 600 กว่าบาท
คุณมาร์ธา โบสิโบริ อายุสิบแปดปีเป็นแม่ค้าขายมะม่วงในตลาดริมสลัม Kibera สลัมที่ใหญ่ที่สุดในไนโรบี บอกว่ายอมอดข้าวเพื่อนำเงินไปซื้อค่านาทีโทรศัพท์มือถือ
คุณโบสิโบริ บอกกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าเธอยอมหิวแล้วนำเงินค่าอาหารไปซื้อค่านาทีเพื่อจะได้ใช้โทรศัพท์ติดต่อกับลูกค้า เป็นการเอาเงินค่าอาหารไปลงทุนเป็นค่าติดต่อสื่อสารกับลูกค้า เธอยกตัวอย่างว่าเธอใช้โทรศัพท์เพื่อรับสั่งซื้อมะม่วงจากคนรู้จัก ที่จะโทรมาเพื่อให้นำมะม่วงไปส่งให้ที่บ้าน
ส่วนคุณซูซาน เว็คเซอร่า เพื่อนของโบสิโบริที่ขายเครื่องประดับในตลาดเดียวกันบอกว่าเธอยอมเิดินไปทำงานแทนที่จะใช้บริการรถมินิบัสเพราะต้องการประหยัดเงินด้วยเหตุผลเดียวกัน
อย่างไรก็ดี แครนเดลเตือนว่าควรระมัดระวังในการวิเคาระห์ข้อมูลที่ได้จากการวิจัย
เธอบอกว่าไม่อยากให้คนเข้าใจผิดว่าโทรศัพท์มือถือทำให้คนอดอยากมากขึ้น เพราะมีการศึกษาทำนองเดียวกันอีกหลายชิ้นที่พบว่าคนที่มีรายได้น้อยมากที่สุด หากมีไม่รายได้เพิ่มขึ้น พวกเขาจะนำเงินไปใช้จ่ายด้านความบันเทิงแทนที่จะซื้ออาหารเพิ่ม เธอบอกว่าคนทั่วไปมักมองเหมารวมว่าคนจนที่อดอยากหิวโหย หากมีรายได้มากขึ้นจะนำเงินไปซื้ออาหารรับประทาน
นักวิจัยกล่าวว่าการศึกษานี้ชี้ถึงความสำคัญของการใช้โทรศัพท์มือถือในกลุ่มคนมีรายได้น้อย การศึกษาพบว่าชาวเคนยาในการสำรวจที่บอกว่ายอมใช้เงินจ่ายเป็นค่าโทรศัพท์มือถือ
แทนการซื้อสิ่งของจำเป็นในชีวิตประจำวัน ต้องลดค่าใช้จ่ายส่วนตัวลงมาราวสัปดาห์ละ 83 เซ็นต์หรือยี่สิบห้าบาท
นอกจากนี้การวิจัยยังพบด้วยว่ามากกว่าหกสิบเปอร์เซ็นต์ของผู้มีรายได้น้อยชาวเคนยามีโทรศัพท์มือถือใช้