การทำงานจากบ้าน จะคงอยู่ตลอดไปหรือไม่?  

Jack Coopersmith sits outside his apartment and takes part in remote meeting while working from home amid the coronavirus disease (COVID-19) outbreak in Cambridge, Massachusetts,May 22, 2020.

Your browser doesn’t support HTML5

Future of Remote Work


ก่อนหน้านี้มีคนอเมริกันเพียงประมาณ 5 ล้านคนที่ทำงานจากบ้าน หรือทำงานทางไกล (remote work) แต่การระบาดใหญ่ทั่วโลกของโควิด-19 ได้สร้างเงื่อนไขที่ทำให้บริษัทในสหรัฐฯ อนุญาตให้พนักงานทำงานทางไกลมากถึงประมาณ 75 ล้านคนในปีที่ผ่านมา

ผู้เชี่ยวชาญบางคนมองว่า การทำงานจะไม่มีทางกลับไปเป็นเหมือนเดิมอีกต่อไป หลังจากที่ทั้งนายจ้างและลูกจ้างได้เรียนรู้แล้วว่าพวกเขาสามารถทำงานจากบ้านหรือทำงานทางไกลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทิโมธี โกลเดน ศาสตราจารย์ด้านการบริหารแห่งสถาบัน Rensselaer Polytechnic Institute กล่าวว่า การระบาดของโควิด-19 ได้เปลี่ยนแปลงมุมมองของการทำงานจากบ้านหรือการทำงานทางไกลจากหน้ามือเป็นหลังมือ เปลี่ยนบรรทัดฐานทางวัฒนธรรมและสังคมเสียใหม่ว่าผู้คนจะทำงานจากไหนและอย่างไร หลายคนและหลายบริษัทได้ตระหนักว่าพวกเขาสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพจากที่ใดก็ได้ การทำงานทางไกลจึงจะคงอยู่ต่อไปอย่างแน่นอน

Csaba Posta, IT specialist working from home, studies with his daughter Vilma during the spread of coronavirus disease (COVID-19) in Budapest, Hungary March 19, 2020. REUTERS/Bernadett Szabo

ปัจจุบัน หลายบริษัทกำลังศึกษาดูว่าจะให้พนักงานทำงานอย่างไรหลังยุคโควิด-19 ซึ่งอาจจะจัดให้มีการทำงานแบบผสมระหว่างพนักงานที่ส่วนใหญ่ทำงานที่ออฟฟิศและพนักงานที่ส่วนใหญ่ทำงานทางไกล

รวิ กาเจนดราน ประธานภาควิชา Global Leadership and Management แห่งคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัย Florida International กล่าวว่า ในอนาคตบริษัทจะอนุญาตให้คนทำงานจากบ้านเป็นระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น แต่หลังจากนั้น เมื่อมีการค้นพบว่าการทำงานทางไกลนั้นไม่ได้ดีไปเสียหมด กระแสก็จะเหวี่ยงกลับมาที่การทำงานในออฟฟิศมากขึ้นเล็กน้อย แต่จะไม่มีทางกลับไปสู่ภาวะการทำงานแบบเดิมก่อนที่จะเกิดการระบาดของโควิด-19

เมื่อมีปัจจัยอื่นในที่ทำงาน เช่น การมีพนักงานใหม่ มีการสร้างทีมใหม่ หรือการนำเอาพนักงานที่ไม่เคยทำงานด้วยกันมาทำงานด้วยกันจากบ้าน การทำงานทางไกลนั้นก็จะไม่ได้ราบรื่นอย่างที่หลายคนคิดเอาไว้

ศาสตราจารย์โกลเดน แห่ง Rensselaer มองว่ามีสิ่งที่ชี้ให้เห็นแล้วว่าหลายบริษัทกำลังปรับตัวให้เข้ากับการทำงานทางไกลมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากการมีตำแหน่ง Chief Remote Work Officer หรือประธานเจ้าหน้าที่บริหารการทำงานทางไกล ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เสมอกับ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านเทคโนโลยี หรือ ประธานเจ้าหน้าส่งเสริมความหลากหลายในบริษัท เป็นต้น ตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารการทำงานทางไกลเป็นตำแหน่งที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้บริหารบริษัทหลายแห่งใส่ใจกับการทำงานทางไกลมากขึ้น

Danielle de Angelis works from home during a lockdown imposed by the state government because of the coronavirus disease (COVID-19) outbreak in Santo Andre, Brazil, March 26, 2020.

การศึกษาก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่า ผลิตภาพ หรือ productivity ในการทำงานของพนักงานที่ทำงานจากบ้านนั้นเท่าเดิม หรือมากกว่าเดิม เมื่อเทียบกับยุคก่อนการระบาดของโควิด-19 ซึ่งเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง เฟสบุ๊ก ทวิตเตอร์ ฟอร์ด มอเตอร์ และ ซิตี้กรุ๊ป ได้ออกมาประกาศแล้วว่าจะอนุญาตให้มีการทำงานจากบ้านมากขึ้น บริษัทที่ไม่ยอมให้มีการทำงานทางไกลเพิ่มขึ้น อาจจะต้องสูญเสียบุคลากรที่มีความสามารถไปได้

โกลเดนมองว่า บริษัทที่สามารถหาจุดที่ลงตัวในการทำงานทางไกล ไม่ว่าจะเป็นการให้พนักงานทำงานจากบ้านโดยถาวร หรือใช้แบบผสม โดยให้พนักงานทำงานจากบ้านสลับกับการทำงานในสำนักงาน จะมีความได้เปรียบในการแข่งขันมากกว่าบริษัทที่ไม่สามารถปรับรูปแบบการทำงานให้กับพนักงานได้

การทำงานทางไกลยังทำให้พนักงานไม่ต้องกังวลเรื่องการหาที่อยู่อาศัยใกล้ที่ทำงาน ซึ่งอาจจะส่งผลดี ทำให้บริษัทสามารถจ้างพนักงานที่มีความรู้ความสามารถที่อาจจะอยู่ไกลออกไป ทำให้เกิดการกระจายงานไปสู่เมืองที่มีค่าครองชีพต่ำ หรือกระจายงานไปยังต่างประเทศในที่สุด ซึ่งอาจจะช่วยลดค่าใช้จ่ายของบริษัท แต่ก็อาจจะทำให้เกิดความระส่ำระส่ายในตลาดแรงงานได้เช่นกัน

การทำงานทางไกลมากขึ้น ยังคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์ของอาคารพานิชย์อีกด้วย เมื่อหลายบริษัทอาจจะเริ่มตั้งคำถามว่าจะยังต้องมีอาคารสำนักงานอยู่หรือไม่ ในเมื่อไม่มีพนักงานมาใช้ออฟฟิศทุกวันอีกต่อไปแล้ว