อิหร่านผุด 'สิ่งก่อสร้างต้องสงสัย' ใกล้โรงงานนิวเคลียร์ใต้ดิน

This Nov. 4, 2020, satellite photo by Maxar Technologies shows Iran's Fordo nuclear site. Iran has begun construction on a site at its underground nuclear facility at Fordo, satellite photos obtained Friday, Dec. 18, 2020, by the Associated Press show.

เมื่อวันศุกร์ สำนักข่าว The Associated Press เผยแพร่ภาพถ่ายดาวเทียม เผยให้เห็นการเริ่มก่อสร้างในพื้นที่โรงงานนิวเคลียร์ใต้ดินฟอร์โด ประเทศอิหร่าน ในขณะที่อิหร่านและสหรัฐฯ ยังคงมีความตึงเครียดเกี่ยวกับการพัฒนานิวเคลียร์

ทั้งนี้ อิหร่านยังไม่ยอมรับการก่อสร้างใหม่ดังกล่าว โดยสหรัฐฯ เปิดเผยพบโรงงานฟอร์โดต่อสาธารณะชนครั้งแรกเมื่อปีค.ศ. 2009 ซึ่งนำไปสู่ความตึงเครียดจนประเทศมหาอำนาจทำข้อตกลงนิวเคลียร์กับอิหร่านเมื่อปีค.ศ. 2015

แม้จะยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าสิ่งก่อสร้างดังกล่าวมีเพื่อจุดประสงค์ใด แต่กิจกรรมใดๆ ที่โรงงานฟอร์โดก็อาจนำไปสู่ความกังวลใหม่ ในขณะที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ใกล้หมดวาระลง และว่าที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน จะรับช่วงเป็นผู้นำสหรัฐฯ คนต่อไป

ทั้งนี้ อิหร่านได้เริ่มก่อสร้างโรงงานนิวเคลียร์ที่เมืองนาทานซ์แล้ว หลังเกิดเหตุระเบิดปริศนาเมื่อเดือนกรกฎาคม โดยอิหร่านระบุว่าเหตุระเบิดดังกล่าวเป็นเหตุวินาศกรรม

A security man stands next to an anti-aircraft gun as he scans around Iran's nuclear enrichment facility in Natanz, 300 kms 186 (miles) south of capital Tehran, Iran, Monday April, 9, 2007. Iran announced Monday that it has begun enriching uranium with 3

ตัวเเทนของรัฐบาลอิหร่านในสหประชาชาติยังไม่ตอบคำถามของผู้สื่อข่าวต่อประเด็นการก่อสร้างโรงงานครั้งใหม่นี้ ในขณะที่หน่วยงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ หรือ IAEA ที่ติดตามกิจกรรมของอิหร่านด้วยเช่นกัน ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นต่อประเด็นดังกล่าว ทั้งนี้ IAEA ยังไม่เปิดเผยต่อสาธารณะว่าอิหร่านได้แจ้งทางหน่วยงานถึงการก่อสร้างที่โรงงานฟอร์โดหรือไม่

ภาพดาวเทียมที่สำนักข่าว AP ได้รับจากบริษัทเทคโนโลยีอวกาศ มาซาร์ เทคโนโลจีส์ เผยให้เห็นการก่อสร้างที่เริ่มมาตั้งแต่เดือนกันยายน บริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของโรงงานฟอร์โด ใกล้กับเมืองกอม ห่างจากกรุงเตหะรานราว 90 กิโลเมตร

ภาพถ่ายดาวเทียมเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม เผยให้เห็นฐานที่ถูกขุดและการตั้งเสาหลายสิบเสา โดยเสาดังกล่าวเป็นเสาสำหรับรองรับโครงสร้างตึกในแถบแผ่นดินไหว

สิ่งก่อสร้างดังกล่าวยังอยู่ใกล้กับอาคารวิจัยและพัฒนาหลายอาคารในเขตโรงงานฟอร์โด เช่น อาคารศูนย์เทคโนโลยีสูญญากาศแห่งชาติ ซึ่งเทคโนโลยีสูญญากาศนี้จำเป็นต่อการทำงานของเครื่องหมุนเหวี่ยงแก๊สยูเรเนียม เพื่อผลิตยูเรเนียมเสริมสมรรถนะ

ทั้งนี้ เมื่อปีค.ศ. 2018 ประธานาธิบดีทรัมป์ได้ถอนสหรัฐฯ ออกจากข้อตกลงนิวเคลียร์ ซึ่งอิหร่านตกลงยอมลดการเสริมสมรรถนะยูเรเนียมเพื่อแลกกับการผ่อนปรนการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ โดยผู้นำสหรัฐฯ ให้เหตุผลของการถอนตัวว่า เนื่องจากอิหร่านมีประเด็นโครงการขีปนาวุธ นโยบายในภูมิภาค และประเด็นอื่นๆ ที่สหรัฐฯ ไม่เห็นด้วย

ในขณะที่สหรัฐฯ ยกระดับมาตรการลงโทษให้รุนเเรงยิ่งขึ้น อิหร่านก็ค่อยๆ เลิกจำกัดการเสริมสมรรถนะยูเรเนียม ความตึงเครียดระหว่างสองประเทศสูงขึ้นเรื่อยๆ จนเกือบมีการเผชิญหน้ารุนเเรงเมื่อช่วงต้นปี และความตึงเครียดก็ยังสูงอยู่จนถึงขณะนี้

FILE - The heavy water nuclear facility near Arak, Iran, is seen in this photo taken Jan. 15, 2011.


ทั้งนี้ ในข้อตกลงนิวเคลียร์เมื่อปีค.ศ. 2015 อิหร่านตกลงที่จะหยุดเสริมสมรรถนะยูเรเนียมที่โรงงานฟอร์โดและทำให้โรงงานดังกล่าวเป็น “ศูนย์นิวเคลียร์ ฟิสิกส์ และเทคโนโลยี” แทน และเมื่อข้อตกลงดังกล่าวล้มเหลวลง อิหร่านก็กลับมาเสริมสมรรถนะยูเรเนียมที่โรงงานแห่งนี้

เจฟฟรีย์ ลีวิส ผู้เชี่ยวชาญประจำศูนย์ James Martin Center for Nonproliferation Studies ของสถาบัน Middlebury Institute of International Studies ระบุว่า พื้นที่โรงงานนี้เป็นอุปสรรคสำคัญของการเจรจาที่นำไปสู่ข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่าน โดยสหรัฐฯ ยืนกรานให้อิหร่านปิดโรงงานนี้ ในขณะที่ผู้นำสูงสุดของอิหร่านก็ยืนยันให้มีโรงงานต่อไปเช่นกัน

โรงงานฟอร์โดตั้งอยู่ท่ามกลางภูเขาเพื่อป้องกันการโจมตีทางอากาศ ล้อมรอบด้วยปืนโจมตีอากาศยาน มีพื้นที่ขนาดประมาณเท่าสนามฟุตบอล ติดตั้งเครื่องหมุนเหวี่ยงแก๊สยูเรเนียม 3,000 เครื่อง

ขณะนี้ อิหร่านเสริมสมรรถนะยูเรเนียมอยู่ที่อัตรา 4.5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่าข้อตกลงที่จำกัดไม่ให้อิหร่านเสริมสมรรถนะยูเรเนียมเกิน 3.67 เปอร์เซ็นต์ โดยสภาอิหร่านได้ผ่านกฎหมายให้อิหร่านเสริมสมรรถนะยูเรเนียมได้สูงที่สุดที่ 20 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งใกล้เคียงกับอัตรา 90 เปอร์เซ็นต์ที่จะนำไปสู่การพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ได้มากขึ้น กฎหมายดังกล่าวยังจะไม่อนุญาตให้ IAEA เข้ามาสังเกตการณ์อีกต่อไปด้วย

ประธานาธิบดีฮัสซัน รูฮานี ของอิหร่าน ไม่เห็นด้วยกับกฎหมายดังกล่าว อย่างไรก็ตาม สภาผู้พิทักษ์ของอิหร่านได้ปรับและรับรองกฎหมายดังกล่าว โดยกฎหมายนี้ยังตั้งเป้ากดดันชาติยุโรปให้ช่วยผ่อนปรนความเสียหายจากมาตรการลงโทษของสหรัฐฯ

ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ว่า ขณะนี้อิหร่านมียูเรเนียมเสริมสมรรถนะระดับต่ำเพียงพอสำหรับอาวุธนิวเคลียร์อย่างน้อยสองลูก ในขณะที่อิหร่านยืนยันมาโดยตลอดว่าโครงการนิวเคลียร์ของตนเป็นไปอย่างสันติ