อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มกำลังสร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศและชีวิตสัตว์ป่าในอินโดนีเซีย

Your browser doesn’t support HTML5

Orangutans Become Refugees From Deforestation, Poaching

ฤดูการเผาป่าบนเกาะสุมาตรากำลังจะเริ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่งแล้ว และคาดกันว่าสภาพแวดล้อมที่มาจากระบบภูมิอากาศ El Nino ในปีนี้จะทำให้ไฟป่าเป็นปัญหามากยิ่งขึ้นไปอีก

Your browser doesn’t support HTML5

Indonesia deforestation

ในหลายปีที่ผ่านมา ไฟป่าในอินโดนีเซียส่งหมอกควันไปก่อกวนประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้ผู้คนมีปัญหาทางด้านระบบทางเดินหายใจและยังเป็นอันตรายต่อการบินด้วย

ไฟป่าดังกล่าวเกิดจากทดน้ำออกจากป่าพรุ ซึ่งเป็นพื้นที่ดินชุ่มน้ำ ให้แห้งเหมาะกับการเพาะปลูกต้นปาล์มสำหรับการผลิตน้ำมันปาล์ม ซึ่งทำรายได้อย่างมหาศาลให้กับเจ้าของไร่และผู้ผลิตน้ำมันปาล์ม ท่ามกลางเสียงตำหนิวิพากษ์จากประเทศเพื่อนบ้านที่ได้รับความกระทบกระเทือน

ฤดูการเผาป่าบนเกาะสุมาตรากำลังจะเริ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่งแล้ว และคาดกันว่าสภาพแวดล้อมที่มาจากระบบภูมิอากาศ El Nino ในปีนี้จะทำให้ไฟป่าเป็นปัญหามากยิ่งขึ้นไปอีก

น้ำมันปาล์มเป็นที่ต้องการของตลาดโลกเป็นอย่างมาก เพราะเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตของกินเล่นและเครื่องสำอาง

การปลูกปาล์มส่วนใหญ่ในอินโดนีเซียทำกันในบริเวณที่เคยเป็นป่าพรุ หรือพื้นที่ชุ่มน้ำ ซึ่งเมื่อทดน้ำออก ตัดไม้ใหญ่ลง และเผาพืชพันธุ์อื่นๆ ออกแล้ว ก็จะสามารถทำการเพาะปลูกในพื้นที่เหล่านั้นได้ ปัญหาก็คือพื้นที่ดินแห้งเป็นเชื้อเพลิงอย่างดีทีเดียว

Woro Supartinah ผู้ประสานงานของ Network for Riau Forest Rescue องค์กร NGO ที่เฝ้าติดตามไฟป่าและการทำลายป่า โดยอาศัยข้อมูลจากดาวเทียมและจากอาสาสมัครในชุมชน กล่าวว่า จังหวัด Riau สูญเสียพื้นที่ป่าไปแล้วมากกว่า 30 ล้านไร่ และเวลานี้เหลือเพียง 10 ล้านไร่เท่านั้น

แต่ Edwar Sanger ผู้อำนวยการการบริหารวินาศภัยแห่งชาติใน Riau ยืนยันว่า แม้จะมีผลกระทบจาก El Nino ในปีนี้ ก็จะไม่ยอมให้ปัญหาที่เคยมีในอดีตเกิดขึ้นอีกในปีนี้ เขาบอกว่า นโยบายการควบคุมดูแลไร่ปาล์มทำงานได้ผล

วิธีหนึ่งที่ได้นำมาใช้ คือการอุดคูที่ระบายน้ำออกจากไร่ ซึ่งยังปล่อยให้ต้นปาล์มเติบโตได้ เพราะพื้นที่ดินยังพอมีน้ำชุ่มพอที่จะลดความเสี่ยงที่จะเกิดไฟป่าได้

Pak Dahlan ชาวไร่และผู้นำในหมู่บ้าน Dosan บอกว่า เมื่อตอนที่เริ่มปลูกปาล์มกันนั้น ไม่มีใครรู้ว่าผลกระทบจากมากอย่างนี้ เพราะเป็นของใหม่

ชุมชนแห่งนี้ยังมีกองดับเพลิงของตนเอง และใช้ใบปาล์มทำปุ๋ยเพื่อรักษาดินด้วย ชุมชนอื่นๆ ใน Riau กำลังนำยุทธวิธีเหล่านี้ไปทดลองปฏิบัติกัน บางรายถึงกับยอมตัดต้นปาล์มออกบางส่วนเพื่อปลูกพืชชนิดอื่นๆ เป็นการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพด้วย

ผลกระทบข้างเคียงจากการเผาป่าและไฟป่าที่เกิดขึ้นอีกด้านหนึ่งคือ ลิงอุรังอุตังผู้ลี้ภัย

ในบริเวณอุทยานแห่งชาติ Gunung Leuser National Park ซึ่งเคยมีพื้นที่ราวๆ 16 ล้านไร่บนเกาะสุมาตรานี้ มีอุรังอุตังอยู่ประมาณ 6,700 ตัว รวมทั้งแรด ช้าง เสือโคร่ง และเสือดาว แต่ Global Forest Watch บอกว่าเวลานี้ อุทยานแห่งนี้มีพื้นที่เหลือราวๆ ครึ่งหนึ่งเท่านั้น พื้นที่ที่หายไปกลายเป็นไร่ปาล์ม

Panut Hadisiswoyo ผู้ก่อตั้ง Orangutan Information Center และเป็นหัวหน้าหน่วยลาดตระเวนป้องกันการลอบฆ่าอุรังอุตัง บอกว่ามีการลักลอบค้าลูกอุรังอุตังเกิดขึ้นเพราะผู้คนเห็นว่าน่ารัก แต่ถ้าจะเอาลูกมาขายก็ต้องฆ่าแม่

เขาบอกว่า มีการส่งลูกอุรังอุตังไปขายในมาเลเซียและประเทศไทยด้วย

และ Ian Singleton ผู้ก่อตั้งโครงการ Sumatran Orangutan Conservation บอกว่า เมื่อบริษัทธุรกิจเข้าไปในพื้นที่เหล่านั้นได้ ก็จะตัดไม้ใหญ่ลง เผาและฆ่าทุกสิ่งทุกอย่าง แม้กระทั่งมดและตะไคร่น้ำ รวมทั้งอุรังอุตังส่วนใหญ่ นักอนุรักษ์อุรังอุตังผู้นี้ยืนยันว่า ลูกอุรังอุตังคือผู้ลี้ภัย

ล่าสุด รัฐบาลท้องถิ่นของจังหวัดอาเจะห์ต้องการจะเปิดพื้นที่เกือบครึ่งหนึ่งที่เหลือของอุทยานแห่งชาติ Leuser สำหรับการเพาะปลูกอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ตามแผนการใช้พื้นที่ที่ได้มีผู้เสนอไว้

นักอนุรักษ์ชีวิตสัตว์ป่าให้ความเห็นว่า ถ้ามีการกระทำเช่นนั้นจริงก็จะเป็นความเสียหายอย่างใหญ่หลวงทีเดียว