อินโดนีเซียผ่านกฎหมายสร้างงานรับผลกระทบโควิด-19

Indonesian students raise their fists and shout slogans during a protest against a controversial omnibus bill on job creation, in Tangerang Indonesia, Wednesday, Oct. 7, 2020. Thousands of Indonesian students and laborers protested on Wednesday…

Your browser doesn’t support HTML5

Business News Wrap


รัฐบาลอินโดนีเซียผ่านร่างกฎหมายเมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อเปิดประเทศต้อนรับอุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงาน ด้วยจุดประสงค์ที่จะช่วยกระตุ้นการจ้างงานและเศรษฐกิจ แต่ยังมีการต้านท้านจากภายในประเทศที่ีมองว่า นโยบายนี้ส่งผลเสียต่อแรงงาน

กฎหมายฉบับใหม่ที่มีชื่อว่า Omnibus Bill on Job Creation และมีความยาว 905 หน้า จะเปิดโอกาสให้ชาวอินโดนีเซียที่อายุยังไม่มากได้หางานทำ โดยรวมถึงงานตำแหน่งที่หายาก เป็นเพราะกฎหมายฉบับเก่าของประเทศที่ไม่เอื้อให้มีการลงทุนจากต่างประเทศมาตั้งโรงงานใหม่ ตามความเห็นของนักวิเคราะห์

ทั้งนี้ อินโดนีเซียมีปัญหาเศรษฐกิจย่ำแย่เพราะการระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้รัฐบาลต้องดำเนินมาตรการปิดกิจกรรมต่างๆ ตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นมา ทำให้ประชาชนขาดรายได้ ขณะที่ ธุรกิจค้าปลีกและการส่งออกของประเทศประสบภาวะยอดขายดิ่งมาตลอด

โยเซ ริซาล ดามูริ หัวหน้าแผนกเศรษฐศาสตร์ จากศูนย์ Center for Strategic and International Studies ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยในกรุงจาการ์ตา กล่าวว่า คาดกันว่ากฎหมายฉบับใหม่นี้จะช่วยดึงดูดการลงทุนจากทั้งภายในประเทศและนอกประเทศ เข้าไปยังส่วนงานที่เน้นการใช้แรงงาน เพื่อที่จะสร้างตำแหน่งงานที่มีคุณภาพและอยู่ถาวร ไม่ใช่เพียงงานชั่วคราว

ริซาล กล่าวต่อว่า รัฐบาลของประธานาธิบดี โจโก วิโดโด้ มองว่า กฎหมายนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานเพื่อประชากร 270 ล้านคนของประเทศซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจราว 1 ล้านล้านดอลลาร์ และมีองค์ประกอบหลักเป็นอุตสาหกรรมเหมืองแร่ น้ำมัน และการเกษตร ขณะที่อุตสาหกรรมที่เน้นการใช้แรงงานยังเป็นพื้นที่ที่มีต้นทุนสูงเกินไปในสายตานักลงทุน จนทำให้มีสัดส่วนเพียง 2 เปอร์เซ็นต์ของการลงทุนในประเทศ

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การลงทุนในหมวดเสื้อผ้า รองเท้า และสิ่งทอ จากต่างประเทศที่เข้ามาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นมักไหลไปสู่ประเทศที่มีต้นทุนต่ำ และมีกฎหมายเอื้ออำนวย เช่น เวียดนาม จนทำให้ระดับความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น

อย่างไรก็ตาม ผู้ว่าการจังหวัดบางรายได้ร้องขอให้ปธน.วิโดโด้ ยกเลิกกฎหมายฉบับนี้แล้ว ขณะที่มีการเดินประท้วงต่อต้านเรื่องนี้เช่นกัน โดย ปารามิตา สุปามิโจโต อาจารย์ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จากมหาวิทยาลัย บินา นุซานตารา กล่าวว่า กฎหมายใหม่นี้ลดอำนาจของสหภาพแรงงาน และ Amnesty International หรือ องค์การนิรโทษกรรมสากล ระบุว่า กฎหมายนี้ จำกัดแรงสนับสนุนด้านกฎหมายในการรับประกันการจ่ายค่าจ้างที่เป็นธรรม สภาพการทำงานที่ปลอดภัย และป้องกันการใช้งานล่วงเวลาเกินความจำเป็น