เศรษฐิจของอินโดนีเซียกำลังเผชิญกับปัญหาการอ่อนค่าลงของเงินสกุลหลักของประเทศจนแตะจุดตำ่สุดในรอบ 20 ปี เมื่อตอนที่ประเทศในเอเชียเผชิญวิกฤตการเงินครั้งใหญ่
ตามรายงานของสำนักข่าวบลูมเบิร์ก เงินรูเปียห์ของอินโดนีเซียอ่อนค่าลงร้อยละ 9 ปีนี้เทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ท่ามกลางการขาดดุลการคลังและขาดดุลบัญชีเดินสะพัด
นอกจากนี้ เช่นเดียวกับค่าเงินหลายประเทศ เงินรูเปียห์โดนกดดันจากแรงเทขายสินทรัพย์ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ตลาดคาดการณ์ว่าระบบธนาคารกลางสหรัฐฯหรือ เฟด จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย
นักวิเคราะห์ ปรากาช สักพัล จากบริษัทการเงิน ING ที่สิงคโปร์กล่าวว่า อินโนีเซีย อินเดีย และฟิลิปปินส์ ต่างเจอกับปัญหาค่าเงินอ่อนตัว โดยเงินสกุลหลักของสามประเทศนี้อ่อนค่าหนักอันดับต้นๆของภูมิภาค
เมื่อปี ค.ศ. 1998 ซึ่งเป็นช่วงของวิกฤตเศรษฐกิจเอเชีย เงินรูเปียห์อ่อนค่าลงมาอยู่ที่ 15,000 รูเปียห์ ต่อดอลลาร์ จาก 3,000 รูเปียห์
ปัจจุบันหนึ่งดอลลาร์แลกได้ประมาณ 14,930 รูเปียห์
อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์กล่าวว่า ขณะนี้เศรษฐิกจของอินโดนีเซียมีพื้นฐานที่เเข็งแกร่งกว่าเมื่อ 20 ปีที่แล้ว
ดร. ทอมมี โซเอสมานโต อาจารย์จากมหาวิทยาลัย Griffith University กล่าวกับวีโอเอว่า ชาวอินโดนีซียไม่ควรกังวลมากเกินไปกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพราะเศรษฐกิจของประเทศแข็งแกร่งกว่าในอดีตมาก
เงินสำรองของธนาคารกลางอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นจาก 24,000 ล้านดอลลาร์ เมื่อ 20 ปีก่อน มาอยู่ที่ เกือบ 1 แสน 2 หมื่นล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน
สำหรับมาตรการจัดการกับค่าเงินที่อ่อนตัว ธนาคารกลางอินโดนีเซียขึ้นดอกเบี้ยถึง 4 ครั้งตั้งแต่เดือนพฤษภาคม นอกจากนั้น รัฐบาลขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าบางรายการให้มาอยู่ระดับสูงสุดที่ 10 เปอร์เซ็นต์ อีกด้วย