ชาวพม่าในสหรัฐฯ ตั้งโครงการเมืองแฝด "ฟอร์ท เวย์น - มะละแหม่ง" สานสัมพันธ์บ้านเกิด

Jennifer Min, 13, photographs the stage where Burmese democracy leader Aung San Suu Kyi speaks in Fort Wayne, Indiana, September25, 2012.

การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในพม่าทำให้ผู้อพยพชาวพม่าในรัฐอินเดียน่า หวังจะกลับไปสานสัมพันธ์กับประเทศบ้านเกิด

Your browser doesn’t support HTML5

Indiana Burma Friendship

สำหรับคุณ Minn Myint Nan Tin งานฉลองครอบรอบ 25 ปี ของการตั้งรกรากในเมือง Fort Wayne รัฐ Indiana โดยกลุ่มผู้ลี้ภัยจากพม่ากลุ่มแรก เป็นโอกาสที่พิเศษมาก เพราะจัดขึ้นตรงกับโอกาสที่เมือง Fort Wayne ที่เธอมาอาศัยอยู่ ได้กลายเป็นเมืองมิตรภาพกับเมืองมะละแหม่ง (Mawlamyine) ในรัฐมอญ ประเทศพม่า

เธอกล่าวว่าสำหรับตัวเธอเเล้ว รู้สึกว่านี่เป็นเหมือนฝันที่กลายเป็นจริง เพราะโครงการนี้สานสัมพันธ์ระหว่างคนในเมืองที่ให้ที่พักพิงเเห่งใหม่เเก่ตัวเอง กับประเทศบ้านเกิดที่เธอรัก

ในฐานะผู้ร่วมก่อตั้งศูนย์ Burmese Advocacy Center เธอเป็นคนที่มีบทบาทสำคัญในการตั้งโครงการเมืองแฝดระหว่างเมืองมะละแหม่งกับเมือง Fort Wayne ซึ่งมีชาวพม่าอาศัยอยู่ถึง 10,000 คน

หลังจากการเลือกตั้งที่จัดขึ้นอย่างเป็นประชาธิปไตยเมื่อปีที่ผ่านมา พม่าได้รัฐบาลพลเรือนชุดใหม่เข้าบริหารประเทศ จึงถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะเจาะในการสานความสัมพันธ์

ในขณะที่ประเทศบ้านเกิดก้าวย่างไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่มีรัฐบาลพลเรือนเข้าบริหารประเทศ ผู้ลี้ภัยชาวพม่าในเมือง Fort Wayne เองก็ผ่านการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างด้วยกัน ชาวพม่าจำนวนหนึ่งได้ก่อตั้งธุรกิจของตน มีร้านขายของชำของชาวพม่าแล้วถึง 13 แห่ง ร้านอาหารสามร้าน ร้านเสริมสวยสองแห่งและร้านขายรถยนต์หนึ่งเเห่ง

คุณ Dorothy Kittaka ประธานโครงการเมืองแฝด ชี้ว่าเด็กๆ พม่าหลายรุ่นเติบโตขึ้นที่นี่และพูดภาษาอังกฤษ และมีชาวพม่าจำนวนมากที่ได้รับการเปลี่ยนสัญชาติเป็นชาวอเมริกัน เธอกล่าวว่าเมือง Fort Wayne เป็นเมืองที่คนพม่าลี้ภัยเหล่านี้ได้สร้างชีวิตใหม่ที่ดี แต่พวกเขาต้องการกลับไปดูว่า ในพม่ามีอะไรที่พวกเขาจะทำให้บ้านเกิดได้บ้าง?

ในเดือนกุมภาพันธ์ สมาชิกเก้าคนของชุมชน Ft. Wayne รวมทั้งรองประธานโครงการเมืองแฝด นาย Tom Herr ได้เดินทางไปเยี่ยมเมืองมะละแหม่งในพม่าอย่างเป็นทางการ นอกจากจะได้เซ็นลงนามในข้อตกลงเเล้ว ทางกลุ่มยังได้ไปเยี่ยมบรรดาโรงเรียน โรงพยาบาล และสถาบันทางศาสนาหลายแห่ง เพื่อดูว่าคนจากสองวัฒนธรรมจะสามารถเรียนรู้อะไรจากกันและกันได้บ้างและจะช่วยเหลือกันได้อย่างไร

คุณ Tom Herr รองประธานโครงการเมืองแฝด Fort Wayne กล่าวว่า พม่าต้องการความช่วยเหลืออย่างมาก และตนคิดว่าฝ่ายพม่าน่าจะคาดหวังให้ทางฝ่ายเมือง Fort Wayne ช่วยเหลือทางพม่าเช่นกัน

ทางกลุ่มตัวเเทนจากเมือง Fort Wayne ได้ระบุเเล้วว่า จะสามารถให้ความช่วยเหลือแก่พม่าในด้านใดได้บ้าง ตั้งเเต่ความเชี่ยวชาญทางธุรกิจในการพัฒนาแหล่งพลังงานและเเหล่งน้ำ การจัดหาอุปกรณ์การแพทย์ใหม่ๆ เเก่โรงพยาบาลท้องถิ่น และการจัดสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง

คุณโดโรธี กิตตากา ประธานโครงการเมืองแฝด Fort Wayne กล่าวว่า จะเริ่มต้นโครงการด้วยการส่งคนรุ่นใหม่จากทางนี้ไปใช้ชีวิตในครอบครัวชาวพม่า ไปอยู่ในชุมชน ไปดูบ้านเกิด และเรียนรู้จากผู้คนทั่วไป เป็นการสานสัมพันธ์ระหว่างคนในระดับชุมชนเสียก่อน


คุณ Minn ประธานคณะกรรมการนี้ กำลังประสานงานเพื่อจัดการเดินทางไปเยี่ยมพม่าอีกครั้งในช่วงปลายปีนี้ ก่อนที่เริ่มโครงการเเลกเปลี่ยนนักศึกษากันในปี ค.ศ. 2017


(เรียบเรียงโดยทักษิิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทย กรุงวอชิงตัน)