หิมาลัยระอุ! 'อินเดีย' โวย 'จีน' สร้างสะพานบนทะเลสาบเขตพิพาทชายแดน

FILE - This photograph provided by the Indian Army, according to them shows Chinese troops dismantling their bunkers at Pangong Tso region, in Ladakh along the India-China border on Monday, Feb.15, 2021.

การก่อสร้างสะพานของจีน เหนือทะเลสาบบนเทือกเขาหิมาลัย บริเวณแนวชายแดนระหว่างจีนและอินเดีย ได้สร้างความกังวลให้กับอินเดียมากขึ้น โดยเฉพาะการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานทางทหารของจีน ในพื้นที่ซึ่งยังมีข้อพิพาทตลอดแนวชายแดนของสองประเทศ

Your browser doesn’t support HTML5

India China Border Bridge


การสร้างสะพานของจีนที่กำลังดำเนินอยู่ในพื้นที่ทะเลสาบปันกอง (Pangong) หรือ ทะเลสาบผางกง บนเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งเป็นพื้นที่พิพาทที่ทางการจีนและอินเดียต่างอ้างกรรมสิทธิ์ กำลังจะกลายเป็นประเด็นครั้งใหม่ของสองประเทศที่เคยกระทบกระทั่งและเผชิญหน้ากันมายาวนานในพื้นที่ชายแดนบนหลังคาโลก

นักวิเคราะห์มองว่าสะพานดังกล่าวจะช่วยให้จีนสามาระดมกำลังพลเข้าสู่พื้นที่พิพาทได้รวดเร็วมากขึ้น

หลังการเปิดเผยภาพถ่ายดาวเทียมที่แสดงการก่อสร้างสะพานของจีนเพียงไม่กี่วัน อินเดียได้แถลงจุดยืนในการจับตาอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับการก่อสร้างที่เกิดขึ้นในบริเวณดังกล่าว

อารินดัม บักชี (Arindam Bagchi) โฆษกกระทรวงการต่างประเทศอินเดีย กล่าวในการแถลงเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ระบุว่า สะพานดังกล่าว กำลังก่อสร้างในพื้นที่ซึ่งจีนกล่าวอ้างกรรมสิทธิ์อย่างไม่ถูกต้องในช่วง 60 ปีที่ผ่านมา

"เป็นทราบกันดีว่า อินเดียไม่เคยยอมรับการอ้างกรรมสิทธิ์ที่ไม่ถูกต้องดังกล่าว" โฆษกกระทรวงการต่างประเทศอินเดีย กล่าว

shows tourists taking selfies as cows gaze in front of the Pangong Lake in Leh

ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศของจีนกล่าวเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ( 7 ม.ค.) ว่าการก่อสร้างโครงสร้างขั้นพื้นฐานพื้นที่ดังกล่าวนั้น มุ่งในการปกป้องอธิปไตยและความมั่นคงในอาณาเขตของจีน รวมไปถึง สันติภาพและเสถียรภาพ ตามแนวชายแดนจีน-อินเดีย แต่ทางการจีนไม่ได้ระบุถึงการก่อสร้าง ‘สะพาน’ แห่งนี้โดยตรง

มาโนจ โจชิ (Manoj Joshi) นักวิชาการจากมูลนิธิ Observer Research Foundation ในกรุงนิวเดลี กล่าวว่า สะพานดังกล่าวจะช่วยให้กองกำลังของจีนจากฐานทัพในทิเบต เข้าถึงพื้นที่ฝั่งตอนเหนือของทะเลสาบปันกองซึ่งเป็นพื้นที่เชิงยุทธศาสตร์ได้ง่ายขึ้น รวมทั้งการเข้าถึงทางหลวงสายสำคัญของทิเบตอีกด้วย

รายงานข่าวแจ้งว่า พื้นที่กว่า 2 ใน 3 ของทะเลสาบน้ำแข็งซึ่งตั้งอยู่สูงกว่า 4,300 เมตรจากระดับน้ำทะเลบนเทือกเขาหิมาลัยแห่งนี้อยู่ในเขตทิเบต ส่วนที่เหลือขยายไปถึงเขตลาดักห์ ของอินเดีย ซึ่งบริเวณดังกล่าวเคยเป็นพื้นที่จุดชนวนข้อพิพาทจากทหารทั้ง 2 ประเทศมาแล้วเมื่อปีพุทธศักราช 2563 ซึ่งอินเดียกล่าวหาว่าทหารจีนรุกล้ำอาณาเขต จนเกิดการปะทะเสียชีวิตหลายสิบนายทั้งสองฝ่าย

A combination photo shows closer view of an area known as Finger 6 with deployments in place (top) and deployments removed at Pangong Tso, in this handout satellite image provided by Maxar dated January 30, 2021 and February 16, 2021 respectively.

แม้ว่าอินเดียและจีนจะถอนกำลังออกจากพื้นที่พิพาทในเขตทะเลสาบปันกองแล้วเมื่อปีก่อน แต่ก็ยังเผชิญหน้ากันอย่างใกล้ชิดตลอดช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา ทั้งสองฝ่ายยังคงเสริมกำลังทหารเข้ามาในพื้นที่อย่างต่อเนื่องราว 50,000 นาย ขณะเดียวกันยังเกิดกรณีพิพาทตามจุดยุทธศาสตร์อื่นๆ อย่างต่อเนื่อง

นักวิชาการจากมูลนิธิ Observer Research Foundation กล่าวด้วยว่า ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จีนได้เริ่มพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการทหาร เช่น ลานจอดเฮลิคอปเตอร์ ลานบิน และถนนตลอดแนวพรมแดนที่ติดกับอินเดีย รวมทั้งทุ่มเงินจำนวนมหาศาลเพื่อการพัฒนาในทิเบต และต้องการความมั่นใจในการป้องกันตลอดพรมแดนด้านนี้

ขณะที่ อินเดีย ก็พยายามเร่งโครงการสร้างถนนและสะพานเพื่อให้สามารถเคลื่อนย้ายกำลังทหารและปืนใหญ่ได้ง่ายขึ้นเช่นกัน เพื่อมุ่งรับมือและเผชิญหน้ากับยุทธศาสตร์ใหม่ของปักกิ่งที่ก้าวร้าวมากขึ้น รวมไปถึงการเสริมกำลังทหารตามแนวพรมแดน

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นาย ราชนาถ ซิงห์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ของอินเดีย ได้เปิดโครงการสร้างถนนและสะพานไปแล้ว 27 โครงการ ส่วนใหญ่สร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงกองกำลังทหารตามแนวชายแดนอินโด-ทิเบต ซึ่งลักษณะภูมิประเทศเป็นถนนที่ตัดผ่านพื้นที่สูง กว่า 5,800 เมตรในภาคตะวันออกของเขตลาดักห์ โดยทางการอินเดียระบุด้วยว่ายังได้เพิ่มงบประมาณด้านโครงสร้างขั้นพื้นฐานทุ่มลงไปตามแนวชายแดน ด้วยการสร้างถนนและสะพานอีกจำนวนมาก

India China Standoff

ทางด้าน โคลด อาร์ปี (Claude Arpi) นักวิชาการอิสระด้านทิเบต และผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์อินเดียและจีน ชี้ว่า หากเทียบกับจีนแล้ว โครงการสร้างสาธารณูปโภคของอินเดียนั้นไม่สามารถเทียบได้กับจีนได้เลย แม้ว่าจะมีความพยายามอย่างมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาก็ตาม

เขาบอกด้วยว่า นอกจากอินเดียจะเริ่มต้นได้ช้ามากแล้ว ยังมีอุปสรรคด้านภูมิประเทศในฝั่งอินเดียที่เป็นภูเขามากกว่าดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากที่จะสร้างถนนและสะพานได้รวดเร็ว ขณะที่ในเขตทิเบตนั้นส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง

การประกาศการสร้างสะพานในเขตทะเลสาบเทือกเขาหิมาลัยนี้ เกิดขึ้นเพียงไม่กี่วันก่อนการประชุมในระดับผู้บัญชาการทหาร ซึ่งทั้งสองประเทศนัดเจรจาเพื่อคลี่คลายความขัดแย้งที่เมืองลาดักห์ ในวันที่ 12 มกราคม นี้ ขณะที่จะมีการเจรจารอบสุดท้ายอีกครั้งใน อีก 3 เดือนข้างหน้า