อินโดนีเซียเร่งปราบปรามเหมืองทองคำเถื่อน

Rescue workers carry a miner who survived the collapse of an illegal gold mine at Bolaang Mongondow regency in North Sulawesi, Indonesia, Feb. 28, 2019.

รัฐบาลอินโดนีเซียเร่งปราบปรามธุรกิจเหมืองทองคำเถื่อนอย่างจริงจัง หลังจากเกิดอุบัติเหตุเหมืองทองคำที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง และความเสียหายในแง่รายได้แก่ประเทศ

FILE - Members of Indonesian Workers Union pray outside the Ministry of Energy and Natural Resources in Jakarta, Indonesia during a solidarity rally for the victims of the collapsed mine at a Freeport mining area in Papua province, May 21, 2013.

ข้อมูลจากกระทรวงสิ่งแวดล้อมและป่าไม้อินโดนีเซีย พบว่า มีเหมืองที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจ 8,663 แห่งในประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ 500,000 เฮกตาร์ และ 1 ใน 4 ของเหมืองเหล่านี้เป็นเหมืองทองคำเถื่อน ซึ่งจะทำให้รัฐบาลสูญเสียรายได้จากเหมืองเถื่อนเหล่านี้มากถึง 12 ล้านดอลลาร์ หรือราว 372 ล้านบาทต่อเหมือง ขณะที่การสั่งปิดเหมืองไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาได้ในระยะยาว

Rescue workers carry a body bag containing a victim following the collapse of an illegal gold mine at Bolaang Mongondow regency in North Sulawesi, Indonesia, Feb. 26, 2019.

อุบัติเหตุจากเหมืองทองคำผิดกฏหมายเกิดขึ้นบ่อยครั้งในอินโดนีเซีย โดยเหตุการณ์ล่าสุด เป็นเหตุเหมืองถล่มทางตอนเหนือของเกาะสุลาเวสี เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทำให้คนงานเหมืองเสียชีวิตอย่างน้อย 16 คน และสูญหายกว่าสิบคน

และมีอุบัติเหตุแบบนี้ในพื้นที่เดียวกันเมื่อปีที่แล้ว มีผู้เสียชีวิต 6 คน และอีกอุบัติเหตุเกิดขึ้นทางตะวันตกของเกาะลมบก ทำให้คนงานเหมืองเสียชีวิต 13 คน จากการสูดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซต์ภายในเหมืองทองคำเถื่อน

FILE - Rescue team members carry the body of a miner after a landslide hit Srumbung Village in Magelang, Indonesia, Dec. 18, 2017.