“การแสร้งถ่อมตน” หรือ “humblebrag” ทำให้คนไม่อยากคบ มากกว่าเห็นใจ

Instagram

Your browser doesn’t support HTML5

“การแสร้งถ่อมตน” หรือ “humble brag” ทำให้คนไม่อยากคบมากกว่าเห็นใจ

พฤติกรรมที่เห็นบ่อยๆ บนโซเชี่ยลมีเดีย คือการแชร์รูปภาพ และแบ่งปันเรื่องราวที่เกิดขึ้นให้เพื่อนๆได้รู้​ และหลายครั้งได้เห็นโพสต์บนบนโซเชี่ยลมีเดียที่ดูเหมือนเป็นการโอ้อวด

รูปแบบการโอ้อวดบางครั้ง เข้าข่ายว่าเป็น “การแสร้งถ่อมตน” ซึ่งจะตรงกับคำภาษาอังกฤษยุคใหม่ ที่ว่า “humblebrag”

คำนี้เป็นการผสมคำว่า humble ที่แปลว่า ถ่อมตน กับ brag ที่แปลว่าโอ้อวด

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เช่นเมื่อมีคนกล่าวว่า “รู้สึกเหนื่อยมากจากการสับรางรถไฟ เพราะมีคนขอออกเดทมากมาย”

หรือ “เบื่อจังที่เป็นเพียงคนเดียวในบริษัทที่เจ้านายให้ความไว้ใจ”

ผู้เชี่ยวชาญ Ovul Sezer จากมหาวิทยาลัย University of North Carolina กล่าวว่า “การแสร้งถ่อมตน” ตัวอย่างที่ว่ามานี้เป็นการเคลือบแฝงการโอ้อวดด้วยการบ่น

อาจารย์ Ovul Sezer ซึ่งเขียนบทความจากการศึกษาเรื่อง humblebrag ในวารสาร Harvard Business Review บอกว่า “การแสร้งถ่อมตน” ที่มากับคำบ่นลักษณะนี้เป็น humblebrag ที่น่ารำคาญ

แต่ humblebrag อีกแบบหนึ่งเคลือบแฝงด้วยด้วยการแสดงความต้อยต่ำ เช่น “รู้สึกน่าเหลือเชื่อที่ได้รับการตอบรับเข้ามหาวิทยาลัยที่ต้องการทุกแห่ง” ซึ่งในความเป็นจริง คนที่พูดแบบนี้บางคนสอบได้ที่หนึ่งของห้องมาตลอด และย่อมมุ่งหวังที่จะประสบความสำเร็จในการสมัครเข้ามหาวิทยาลัย

อาจารย์ Sezer กล่าวว่า humblebrag อย่างหลังนี้ แม้จะมีความไม่จริงใจแต่น่ารำคาญน้อยกว่า

ข้อสรุปของการ ศึกษาเรื่องการ“การแสร้งถ่อมตน” ของนักวิชาการผู้นี้คือ humblebrag ทั้งสองประเภทไม่สร้างผลดีต่อผู้พูด

ผลลัพธ์แบบ “บูมเมอแรง” จะเห็นได้จาก แทนที่ผู้ฟังจะเห็นใจผู้แสร้งถ่อมตน คนที่ได้ยินอยากจะหลีกหนี ไม่อยากข้องเกี่ยวกับผู้พูด

อาจารย์ Sezer แนะนำว่า ใครอยากแสดงความภูมิใจกับสิ่งที่ตนมีและเป็น ควรให้บุคคลที่สามเป็นผู้ชื่นชมจะดีที่สุด

คนเชียร์เหล่านี้มีคำศัพท์เฉพาะเช่นกันคือ “Wingman” ที่ทำหน้าที่เป็นปีกคอยสนับสนุน แต่ถ้าหา Wingman ไม่ได้ เธอแนะนำว่า อย่า humblebrag เลยดีกว่า

(รัตพล อ่อนสนิท เรียบเรียงจากรายงานของ Theresa Maher)