สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเยือนนครชิคาโกที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แห่งนครชิคาโก ทรงร่วมขับร้องและทรงดนตรีในรอบการแสดงพิเศษเพื่อเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 150 ปี พระราชสมภพ สมเด็จพระพันวัสสาฯ พระอัยยิกาเจ้า และวาระครบรอบ 120 ปี ที่สมเด็จพระพันวัสสาฯ ทรงมีส่วนสำคัญในการจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับประเทศสยามในนครชิคาโกเมื่อ 120 ปีก่อน
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงขับร้องเพลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ในพิธีเปิดงานแสดงนิทรรศการ Siam : The Queen and the White City ภายในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แห่งนครชิคาโกเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
เพลงเฉลิมพระเกียรตินี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเมื่อครั้งเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 150 ปี พระราชสมภพ สมเด็จพระพันวัสสาฯ พระอัยยิกาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อปีที่ผ่านมา และได้ทรงนำมาขับร้องและทรงดนตรีไทยร่วมกับคณะนาฏศิลป์จากกรมศิลปากร ในรอบการแสดงที่นครชิคาโก ในวาระครบรอบ 120 ปีที่สมเด็จพระพันวัสสาฯ ทรงมีส่วนสำคัญในการจัดแสดงนิทรรศการ World’s Columbia Exposition ในนามสยามประเทศที่นครชิคาโกแห่งนี้เมื่อกว่าศตวรรษก่อน
ท่านผู้หญิง หม่อมราชวงศ์ บุตรี วีระไวทยะ รองราชเลขาธิการ ให้สัมภาษณ์กับวีโอเอ ภาคภาษาไทย ถึงที่มาของการจัดนิทรรศเกี่ยวกับสยามประเทศที่นครชิคาโกว่า หลังจากที่พระองค์ทรงทราบว่าสมเด็จพระพันวัสสาฯ ทรงเป็นแม่งานจัดนิทรรรศการที่ชิคาโกเมื่อ 120 ปีก่อน หรือเมื่อปี พ.ศ.2436 หรือ ค.ศ.1893 โดยมีสมุดที่พระราชทานสมุดรูปในคราวนั้นด้วย ทางสถานกงสุลฯ ที่นครชิคาโก จึงขอพระราชทานจัดงานดังกล่าวขึ้นในวาระครบรอบ 120 ปีในปีนี้
การเสด็จพระราชดำเนินเยือนนครชิคาโก ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นอกจากจะมีพระราชกรณียกิจแห่งการสืบสานพระเกียรติคุณแห่งพระปัยยิกาในพระองค์แล้ว ยังได้ทรงสืบสานประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์อันยาวนานระหว่างประเทศไทยและสหรัฐอเมริกาอย่างต่อเนื่อง
ขณะเดียวกันชาวไทยในนครชิคาโกที่ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าและรับเสด็จ รวมทั้งชมพระปรีชาสามารถของพระองค์ต่างรู้สึกปลาบปลื้มและประทับใจอย่างหาที่สุดมิได้
การจัดแสดงนิทรรศการ Siam : The Queen and the White City เป็นส่วนหนึ่ง ของการรำลึกพระมหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5ทรงพระราชทานอนุญาตให้สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงเป็นแม่งานร่วมจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับศิลปะ ประเพณี และวัฒนธรรมของสยาม ในงานนิทรรศการระดับโลก World’s Columbia Exposition ที่นครชิคาโกเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2436 หรือ 120 ปีก่อนจนกลายเป็นหน้าประวัติศาสตร์ที่จารึกเรื่องราวของสยามประเทศที่สร้างความประทับใจให้กับชาวต่างชาติจนได้รับการสืบสานและรื้อฟื้นเรื่องราวเหล่านั้นให้กลับคืนมาอีกครั้ง
Your browser doesn’t support HTML5
เพลงเฉลิมพระเกียรตินี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเมื่อครั้งเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 150 ปี พระราชสมภพ สมเด็จพระพันวัสสาฯ พระอัยยิกาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อปีที่ผ่านมา และได้ทรงนำมาขับร้องและทรงดนตรีไทยร่วมกับคณะนาฏศิลป์จากกรมศิลปากร ในรอบการแสดงที่นครชิคาโก ในวาระครบรอบ 120 ปีที่สมเด็จพระพันวัสสาฯ ทรงมีส่วนสำคัญในการจัดแสดงนิทรรศการ World’s Columbia Exposition ในนามสยามประเทศที่นครชิคาโกแห่งนี้เมื่อกว่าศตวรรษก่อน
ท่านผู้หญิง หม่อมราชวงศ์ บุตรี วีระไวทยะ รองราชเลขาธิการ ให้สัมภาษณ์กับวีโอเอ ภาคภาษาไทย ถึงที่มาของการจัดนิทรรศเกี่ยวกับสยามประเทศที่นครชิคาโกว่า หลังจากที่พระองค์ทรงทราบว่าสมเด็จพระพันวัสสาฯ ทรงเป็นแม่งานจัดนิทรรรศการที่ชิคาโกเมื่อ 120 ปีก่อน หรือเมื่อปี พ.ศ.2436 หรือ ค.ศ.1893 โดยมีสมุดที่พระราชทานสมุดรูปในคราวนั้นด้วย ทางสถานกงสุลฯ ที่นครชิคาโก จึงขอพระราชทานจัดงานดังกล่าวขึ้นในวาระครบรอบ 120 ปีในปีนี้
การเสด็จพระราชดำเนินเยือนนครชิคาโก ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นอกจากจะมีพระราชกรณียกิจแห่งการสืบสานพระเกียรติคุณแห่งพระปัยยิกาในพระองค์แล้ว ยังได้ทรงสืบสานประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์อันยาวนานระหว่างประเทศไทยและสหรัฐอเมริกาอย่างต่อเนื่อง
ขณะเดียวกันชาวไทยในนครชิคาโกที่ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าและรับเสด็จ รวมทั้งชมพระปรีชาสามารถของพระองค์ต่างรู้สึกปลาบปลื้มและประทับใจอย่างหาที่สุดมิได้
การจัดแสดงนิทรรศการ Siam : The Queen and the White City เป็นส่วนหนึ่ง ของการรำลึกพระมหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5ทรงพระราชทานอนุญาตให้สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงเป็นแม่งานร่วมจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับศิลปะ ประเพณี และวัฒนธรรมของสยาม ในงานนิทรรศการระดับโลก World’s Columbia Exposition ที่นครชิคาโกเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2436 หรือ 120 ปีก่อนจนกลายเป็นหน้าประวัติศาสตร์ที่จารึกเรื่องราวของสยามประเทศที่สร้างความประทับใจให้กับชาวต่างชาติจนได้รับการสืบสานและรื้อฟื้นเรื่องราวเหล่านั้นให้กลับคืนมาอีกครั้ง