นักการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยฮ่องกงยกขบวนลาออกประท้วงนโยบายปักกิ่ง

Hong Kong's pro-democracy legislators pose for a photo before a press conference at the Legislative Council in Hong Kong, Nov. 11, 2020.

สมาชิกสภานิติบัญญัติของฮ่องกงจำนวน 15 คนซึ่งสนับสนุนระบอบประชาธิปไตย รวมตัวแสดงจุดยืนต่อต้านผู้บริหารสูงสุดของฮ่องกง แคร์รี แลม และรัฐบาลกรุงปักกิ่ง เป็นครั้งสุดท้ายก่อนยกขบวนลาออกในวันพฤหัสบดี

การประท้วงด้วยการลาออกครั้งนี้มีขึ้นหลังจากที่รัฐบาลฮ่องกงมีคำสั่งถอดถอนสมาชิกสภานิติบัญญัติของฮ่องกง 4 คนเมื่อวันพุธ สืบเนื่องจากคำตัดสินของคณะกรรมาธิการด้านนิติบัญญัติของรัฐบาลกรุงปักกิ่งที่ว่า รัฐบาลฮ่องกงมีอำนาจตัดสิทธิ์นักการเมืองที่เชื่อว่าเป็นภัยคุกคามด้านความมั่นคงโดยไม่จำเป็นต้องผ่านกระบวนการยุติธรรม

โดยการตัดสิทธิ์นักการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยทั้ง 4 คน ได้แก่ อัลวิน เหยียง, เดนิส กว็อก, เคนเน็ธ เหลียง และ กว็อก คา-กี ประกอบกับการลาออกของสมาชิกสภานิติบัญญัติอีก 15 คน จะทำให้ฮ่องกงเหลือจำนวนผู้แทนในสภานิติบัญญัติเพียง 70 คน ซึ่งเป็นกลุ่มสนับสนุนรัฐบาลจีนแผ่นดินใหญ่ทั้งหมด

Empty seats of pro-democracy legislators, top, are seen at Legislative Chamber in Hong Kong, Thursday day, Nov. 12, 2020.

การตัดสิทธิ์ครั้งนี้ถูกมองว่าเป็นความพยายามล่าสุดของรัฐบาลจีนในการสยบกลุ่มสนับสนุนประชาธิปไตยในฮ่องกงที่เชื่อว่าเป็นผู้ปลุกปั่นให้เกิดความวุ่นวายและการประท้วงในฮ่องกงเมื่อปีที่แล้ว

สหประชาชาติและรัฐบาลชาติตะวันตกได้ออกมาตำหนิการกระทำดังกล่าวของรัฐบาลฮ่องกง โดยที่ปรึกษาด้านความมั่นคงทำเนียบขาว โรเบิร์ต โอไบรอัน กล่าวว่าพรรคคอมนิวนิสต์จีนกำลังละเมิดพันธะสัญญาระหว่างประเทศ และกำลังพยายามสร้างระบบเผด็จการพรรคเดียวในฮ่องกง

Four lawmakers, from left, Dennis Kwok, Kenneth Leung, Kwok Ka-ki and Alvin Yeung pose after a press conference at the Legislative Council in Hong Kong Wednesday, Nov. 11, 2020. Hong Kong has moved to disqualify the four pro-democracy legislators…

กฎหมายฉบับใหม่ที่รัฐบาลกรุงปักกิ่งผ่านออกมาใช้กับฮ่องกงเมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้วมีจุดประสงค์เพื่อหยุดยั้งการชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาล โดยมีบทลงโทษสำหรับผู้ที่มีความผิดฐานพยายามแบ่งแยกดินแดน ล้มล้างการปกครอง ก่อการร้าย และสมคบคิดกับต่างชาติเพื่อทำการใดๆ

กฎหมายฉบับนี้ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางจากประเทศในโลกตะวันตกว่าเป็นการลิดรอนสิทธิ์และเสรีภาพของเขตปกครองพิเศษแห่งนี้