คณะนักวิทยาศาสตร์ฮ่องกงกำลังทดลองใช้สาหร่ายในการทำความสะอาดน้ำเสียและผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ ซึ่งเทคโนโลยีที่ว่านี้ยังมีราคาแพงเกินกว่าจะนำมาพัฒนาเพื่อใช้อย่างแพร่หลาย
เป็นเวลาหลายสิบปีมาแล้วที่นักวิทยาศาสตร์พยายามหาทางผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากพืชชนิดใดชนิดหนึ่ง เพื่อลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงปิโตรเลียม แต่ถึงแม้ประโยชน์จากเชื้อเพลิงชีวภาพต่อสิ่งแวดล้อมจะมีมากมาย ก็ยังมีเสียงโต้แย้งถึงผลกระทบจากการนำพืชที่เป็นอาหารของมนุษย์มาใช้ในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ ว่าอาจทำให้เกิดการแย่งชิงทรัพยากรที่ดินและน้ำซึ่งใช้ในการปลูกพืช และอาจมีผลให้ราคาอาหารโลกสูงขึ้นตามไปด้วย
เวลานี้นักวิทยาศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อม Ho Kin-Chung จากมหาวิทยาลัย Open ในฮ่องกง กำลังหาทางใช้น้ำมันที่สกัดได้จากสาหร่ายมากลั่นเป็นน้ำมันเบนซินหรือเชื้อเพลิงชีวภาพ นักวิทยาศาสตร์ผู้นี้ชี้ว่าสาหร่ายคือทางเลือกที่น่าสนใจเนื่องจากเพาะปลูกง่าย ไม่ต้องใช้ที่ดินมาก และยังสามารถเติบโตได้ในน้ำทะเลจึงไม่ต้องใช้แหล่งน้ำจืดหรือน้ำสะอาดในการเพาะปลูก
คุณ Ho Kin-Chung ระบุว่าปัจจุบันเทคโนโลยีที่ใช้ในการสกัดน้ำมันจากสาหร่ายนั้นก้าวหน้าไปมาก แต่ปัญหาติดอยู่ที่ต้นทุนของเทคโนโลยีดังกล่าวยังสูงเกินไป ทำให้เชื้อเพลิงที่ได้จากสาหร่ายยังมีราคาแพงกว่าเชื้อเพลิงจากปิโตรเลียมหรือก๊าซธรรมชาติราว 30-40% คุณ Ho Kin-Chung กล่าวว่าถ้าสามารถควบรวมระบบการผลิตเชื้อเพลิงจากสาหร่ายที่ว่านี้เข้ากับระบบการบำบัดน้ำเสีย ก็จะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้
นักวิทยาศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมผู้นี้อธิบายว่า สาหร่ายนั้นอาศัยสารอาหารจากไนโตรเจนและฟอสฟอรัสซึ่งมีเป็นปริมาณมากในน้ำเสีย ดังนั้นการใช้สาหร่ายเข้าช่วยในระบบการบำบัดน้ำเสียก็อาจช่วยให้ต้นทุนการปลูกสาหร่ายถูกลงได้ โดยคุณ Ho ได้รับเงินทุน 1 ล้าน 3 แสนดอลล่าร์จากรัฐบาลฮ่องกงเพื่อใช้ในโครงการทดลองระบบที่ว่านี้
ด้านคุณ Steve Choi ผู้บริหารของบริษัท Dynamic Progress International ซึ่งเป็นบริษัทแรกๆ ของฮ่องกงที่ลงทุนเรื่องเชื้อเพลิงชีวภาพ เห็นด้วยกับแนวคิดเรื่องพลังงานจากสาหร่าย แต่เชื่อว่ายังมีอุปสรรคอีกมาก คุณ Choi ยกตัวอย่างเรื่องการเพิ่มผลผลิตน้ำมันที่สกัดได้จากสาหร่าย เช่นการปรับเปลี่ยนพันธุกรรมสาหร่ายเพื่อให้สามารถผลิตน้ำมันได้มากขึ้นในราคาที่ถูกลง เพราะปัจจุบันราคาเชื้อเพลิงจากสาหร่ายนั้นยังสูงเกินไปสำหรับผู้บริโภค
คุณ Steve Choi เชื่อด้วยว่ารัฐบาลฮ่องกงควรยื่นมือเข้าช่วยเหลือเพื่อพัฒนากระบวนการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่าย โดยบอกว่าความช่วยเหลือจากรัฐบาลฮ่องกงนั้นควรเป็นไปอย่างครบวงจร คือตั้งแต่ขั้นตอนของการวิจัยและพัฒนาไปจนถึงการตลาดและการประชาสัมพันธ์เชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่าย
รายงานจากผู้สื่อข่าววีโอเอ Rebecca Valli / เรียบเรียงโดย Songphot Suphaphon
เป็นเวลาหลายสิบปีมาแล้วที่นักวิทยาศาสตร์พยายามหาทางผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากพืชชนิดใดชนิดหนึ่ง เพื่อลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงปิโตรเลียม แต่ถึงแม้ประโยชน์จากเชื้อเพลิงชีวภาพต่อสิ่งแวดล้อมจะมีมากมาย ก็ยังมีเสียงโต้แย้งถึงผลกระทบจากการนำพืชที่เป็นอาหารของมนุษย์มาใช้ในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ ว่าอาจทำให้เกิดการแย่งชิงทรัพยากรที่ดินและน้ำซึ่งใช้ในการปลูกพืช และอาจมีผลให้ราคาอาหารโลกสูงขึ้นตามไปด้วย
เวลานี้นักวิทยาศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อม Ho Kin-Chung จากมหาวิทยาลัย Open ในฮ่องกง กำลังหาทางใช้น้ำมันที่สกัดได้จากสาหร่ายมากลั่นเป็นน้ำมันเบนซินหรือเชื้อเพลิงชีวภาพ นักวิทยาศาสตร์ผู้นี้ชี้ว่าสาหร่ายคือทางเลือกที่น่าสนใจเนื่องจากเพาะปลูกง่าย ไม่ต้องใช้ที่ดินมาก และยังสามารถเติบโตได้ในน้ำทะเลจึงไม่ต้องใช้แหล่งน้ำจืดหรือน้ำสะอาดในการเพาะปลูก
คุณ Ho Kin-Chung ระบุว่าปัจจุบันเทคโนโลยีที่ใช้ในการสกัดน้ำมันจากสาหร่ายนั้นก้าวหน้าไปมาก แต่ปัญหาติดอยู่ที่ต้นทุนของเทคโนโลยีดังกล่าวยังสูงเกินไป ทำให้เชื้อเพลิงที่ได้จากสาหร่ายยังมีราคาแพงกว่าเชื้อเพลิงจากปิโตรเลียมหรือก๊าซธรรมชาติราว 30-40% คุณ Ho Kin-Chung กล่าวว่าถ้าสามารถควบรวมระบบการผลิตเชื้อเพลิงจากสาหร่ายที่ว่านี้เข้ากับระบบการบำบัดน้ำเสีย ก็จะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้
นักวิทยาศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมผู้นี้อธิบายว่า สาหร่ายนั้นอาศัยสารอาหารจากไนโตรเจนและฟอสฟอรัสซึ่งมีเป็นปริมาณมากในน้ำเสีย ดังนั้นการใช้สาหร่ายเข้าช่วยในระบบการบำบัดน้ำเสียก็อาจช่วยให้ต้นทุนการปลูกสาหร่ายถูกลงได้ โดยคุณ Ho ได้รับเงินทุน 1 ล้าน 3 แสนดอลล่าร์จากรัฐบาลฮ่องกงเพื่อใช้ในโครงการทดลองระบบที่ว่านี้
ด้านคุณ Steve Choi ผู้บริหารของบริษัท Dynamic Progress International ซึ่งเป็นบริษัทแรกๆ ของฮ่องกงที่ลงทุนเรื่องเชื้อเพลิงชีวภาพ เห็นด้วยกับแนวคิดเรื่องพลังงานจากสาหร่าย แต่เชื่อว่ายังมีอุปสรรคอีกมาก คุณ Choi ยกตัวอย่างเรื่องการเพิ่มผลผลิตน้ำมันที่สกัดได้จากสาหร่าย เช่นการปรับเปลี่ยนพันธุกรรมสาหร่ายเพื่อให้สามารถผลิตน้ำมันได้มากขึ้นในราคาที่ถูกลง เพราะปัจจุบันราคาเชื้อเพลิงจากสาหร่ายนั้นยังสูงเกินไปสำหรับผู้บริโภค
คุณ Steve Choi เชื่อด้วยว่ารัฐบาลฮ่องกงควรยื่นมือเข้าช่วยเหลือเพื่อพัฒนากระบวนการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่าย โดยบอกว่าความช่วยเหลือจากรัฐบาลฮ่องกงนั้นควรเป็นไปอย่างครบวงจร คือตั้งแต่ขั้นตอนของการวิจัยและพัฒนาไปจนถึงการตลาดและการประชาสัมพันธ์เชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่าย
รายงานจากผู้สื่อข่าววีโอเอ Rebecca Valli / เรียบเรียงโดย Songphot Suphaphon