ยาต้านเอชไอวีชนิดที่นิยมใช้มากที่สุดไม่ก่ออาการซึมเศร้าหรือความคิดฆ่าตัวตาย

FILE - A Kashmiri patient suffering from symptoms of schizophrenia lies on a bed and periodically shouts to medical staff after being brought by relatives to the casualty ward at the Psychiatric Diseases hospital in Srinagar, Nov. 20, 2015.

Your browser doesn’t support HTML5

ยาเอฟฟาไวเร็นซ์ต้านเอชไอวีไม่ทำให้ผู้ป่วยซึมเศร้า

ยาต้านไวรัสเอฟฟาไวเร็นซ์ (Efavirenz) เป็นยาที่ราคาไม่แพง ใช้รับประทานวันละหนึ่งเม็ด เเละใช้กันทั่วโลกเพื่อบำบัดเเละป้องกันเชื้อเอชไอวีที่ก่อให้เกิดโรคเอดส์

ยานี้เป็นหนึ่งในวิธีบำบัดเชื้อเอชไอวีที่ใช้กันมากที่สุด โดยเฉพาะในประเทศต่างๆ ที่ต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากนานาชาติเพื่อบำบัดเอชไอวี

อย่างไรก็ตาม หลายคนกังวลกันว่ายาบำบัดเชื้อเอชไอวีเอฟฟาไวเร็นซ์นี้อาจมีผลข้างเคียงทางลบต่อผู้ใช้ หลังผลการศึกษาระยะเบื้องต้นในสหรัฐฯ เเละในยุโรป พบว่ายาเอฟฟาไวเร็นซ์เพิ่มโอกาสเกิดอาการซึมเศร้าเเละการฆ่าตัวตาย

ผลการศึกษาอื่นๆ ไม่พบว่ายาดังกล่าวมีผลข้างเคียงที่ทำให้ผู้ใช้เกิดอาการซึมเศร้า เเละผลการศึกษาที่ออกมาข้ดแย้งกันทำให้แพทย์จำนวนมากในสหรัฐฯ สั่งยาบำบัดเอชไอวีที่ราคาแพงกว่าแก่คนไข้เพราะคิดว่าน่าจะปลอดภัยกว่า

มาร์ค ไซด์เนอร์ (Mark Siedner) แห่งสถาบันวิจัยสุขภาพแอฟริกัน (Africa Health Research Institute) ต้องการศึกษาอีกครั้งถึงความเสี่ยงต่อการเกิดอาการซึมเศร้าหากใช้ยาเอฟฟาไวเร็นซ์ โดยในคราวนี้จะศึกษาการใช้ยาในกลุ่มผู้ใช้เชื้อสายแอฟริกัน

ทีมแพทย์ชาวยูกันดากับแพทย์ชาวอเมริกันได้ติดตามดูผู้ใช้ยาชนิดนี้เกือบ 700 คน จากปี พ.ศ. 2548 ถึง พ.ศ. 2558 ทีมงานได้เฝ้าดูผู้ติดเชื้อที่ใช้ยาเอฟฟาไวเร็นซ์ หรือ ยาต้านไวรัสเอชไอวีอีกชนิดหนึ่ง เเละได้ถามผู้ใช้ว่ารู้สึกซึมเศร้าหรืออยากฆ่าตัวตายหรือไม่

ผลการวิจัยของทีมแพทย์ครั้งนี้เเสดงผลว่า การรักษาด้วยยาทั้งสองอย่างไม่มีความเเตกต่างกัน พูดง่ายๆ ว่า การศึกษาไม่พบว่ายาเอฟฟาไวเร็นซ์เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงต่ออาการซึมเศร้า

ไซด์เนอร์ยังรายงานด้วยว่า มีผู้ป่วยเสียชีวิตในระหว่างการวิจัยทั้งหมด 17 คน เเต่ไม่มีใครเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย เขามีคำอธิบายที่เป็นไปได้สองอย่างด้วยกันสำหรับผลการวิจัยที่ออกมา ซึ่งต่างจากผลการวิจัยอื่นๆ ที่จัดทำในประเทศตะวันตก

เขากล่าวว่า สาเหตุที่เป็นไปได้อาจเกี่ยวข้องกับเชื้อชาติ เพราะทุกเชื้อชาติสายพันธุ์ของคนบนโลกนี้มีความเเตกต่างกันในหลายทางด้วยกัน สังคมที่แตกต่าง สิ่งเเวดล้อมที่เเตกต่าง เเละในกรณีนี้อาจเป็นเรื่องของพันธุกรรมที่แตกต่างกัน

ในขณะนี้ ทีมวิจัยของเขากำลังค้นหาพันธุกรรมที่ควบคุมระบบการดูดซึมของยาสู่ร่างกายว่ามีบทบาทต่อเรื่องนี้หรือไม่

ข้ออธิบายที่สอง คือประสิทธิภาพของยา เนื่องจากยาเอฟฟาไวเร็นซ์มีฤทธิ์เเรง สามารถช่วยให้ผู้ติดเชื้อมีสุขภาพเเข็งเเรงกว่าที่คาด ดังนั้นจึงมีโอกาสน้อยลงที่ผู้ป่วยจะรายงานผลข้างเคียงทางลบต่ออารมณ์ และนายแพทย์เฟาชี่รู้สึกเบาใจมากขึ้นเมื่อเห็นผลการวิจัยครั้งล่าสุดนี้

ในขณะเดียวกัน อาจจะมียาบำบัดตัวอื่นๆ ที่ใหม่เเละถูกกว่าออกมาใช้เเทนยาเอฟฟาไวเร็นซ์ในอนาคตอันใกล้ เเต่อาจมีความเสี่ยงของผลข้างเคียงต่อร่างกายด้วย

การศึกษาในบอสวานาพบว่า ยาโดลูเทกราเวียร์ (dolutegravir) ในตัวอ่อนทารกในครรภ์ของหญิงที่ได้รับยาชนิดนี้ และเเน่นอนว่ายังต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมต่อไปเพื่อยืนยันว่าผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นนี้พบได้ทั่วไปในหญิงที่ใช้ยาตัวนี้หรือไม่

นักวิจัยกล่าวว่า สำหรับแวดวงการวิจัยในขณะนี้ ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลข้างเคียงของยาโดลูเทกราเวียร์ เช่นเดียวกับยาเอฟฟาไวเร็นซ์ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับความปลอดภัยของยา

(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยที่กรุงวอชิงตัน)