นักวิจัยอเมริกันที่โรงพยาบาล Brigham and Women ของมหาวิทยาลัย Harvard เปิดเผยว่าสามารถค้นพบวิธีใหม่ที่อาจใช้รักษาอาการหัวใจล้มเหลวเมื่อคนเราแก่ตัวลง โดยนักวิจัยใช้สารโปรตีนที่พบในเลือดของหนูทดลองตัวที่ยังเยาว์วัย ในการกระตุ้นให้หัวใจของหนูทดลองตัวที่แก่กว่าทำงานได้ดียิ่งขึ้น
อาการหัวใจล้มเหลวเป็นอาการที่เกิดกับคนสูงอายุจำนวนหลายล้านคนทั่วโลก เป็นโรคที่อันตรายถึงแก่ชีวิตและปัจจุบันยังไม่มีแนวทางรักษาที่มีประสิทธิภาพ อาการนี้เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจหนาขึ้นเมื่อแก่ตัวลง ทำให้ไม่สามารถปั๊มเลือดที่มีอ๊อกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ทั่วร่างกายได้ดีเท่าที่ควร อวัยวะที่อยู่ไกลหัวใจจึงขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงจนอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต
นายแพทย์ Richard Lee และนักวิจัยที่ม.Harvard ในรัฐแมสซาชูเสตต์ ค้นพบโปรตีนชนิดหนึ่งเรียกว่า GDF-11 ซึ่งเป็นหนึ่งในโปรตีนจำเป็น 35 ชนิดที่เกี่ยวข้องกัยการพัฒนาของทารกในครรภ์มารดา โดยสัตย์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ยังเยาว์วัยต่างมีโปรตีนที่ว่านี้ในระดับสูงในกระแสเลือด และจะลดลงเมื่อแก่ตัวลง
นักวิจัยทดสอบกับหนูทดลองที่อายุราว 2 ปีและมีอาการของโรคหัวใจล้มเหลว โดยต่อระบบการไหลเวียนเลือดของหนูตัวนั้นเข้ากับหนูทดลองที่อายุน้อย เพื่อให้หนูอายุมากตัวนั้นได้รับโปรตีน GDF-11 ในระดับสูงเหมือนกับหนูอายุน้อยๆ หลังจากทำวิธีนี้ติดต่อกันราว 10 สัปดาห์ นักวิจัยพบว่าหนูอายุมากมีอาการของโรคหัวใจล้มเหลวลดลง อีกทั้งอวัยวะต่างๆก็ดูจะเยาว์วัยแข็งแรงขึ้นด้วย และทำให้อวัยวะของหนูอายุ 2 ปีมีลักษณะแทบไม่ต่างจากหนูทดลองอายุ 2 เดือน
รายงานที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ Cell ชิ้นนี้ระบุด้วยว่า สารโปรตีน GDF-11 นอกจากจะช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงแล้ว ยังอาจช่วยให้เนื้อเยื่อส่วนอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต เช่นกล้ามเนื้อหุ้มโครงกระดูกและไขสันหลัง มีความแข็งแรงเหมือนกลับสู่วัยหนุ่มสาวอีกครั้ง อย่างไรก็ตามงานวิจัยชิ้นนี้ยังคงอยู่ในช่วงศึกษาทดลองเท่านั้น
อาการหัวใจล้มเหลวเป็นอาการที่เกิดกับคนสูงอายุจำนวนหลายล้านคนทั่วโลก เป็นโรคที่อันตรายถึงแก่ชีวิตและปัจจุบันยังไม่มีแนวทางรักษาที่มีประสิทธิภาพ อาการนี้เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจหนาขึ้นเมื่อแก่ตัวลง ทำให้ไม่สามารถปั๊มเลือดที่มีอ๊อกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ทั่วร่างกายได้ดีเท่าที่ควร อวัยวะที่อยู่ไกลหัวใจจึงขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงจนอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต
นายแพทย์ Richard Lee และนักวิจัยที่ม.Harvard ในรัฐแมสซาชูเสตต์ ค้นพบโปรตีนชนิดหนึ่งเรียกว่า GDF-11 ซึ่งเป็นหนึ่งในโปรตีนจำเป็น 35 ชนิดที่เกี่ยวข้องกัยการพัฒนาของทารกในครรภ์มารดา โดยสัตย์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ยังเยาว์วัยต่างมีโปรตีนที่ว่านี้ในระดับสูงในกระแสเลือด และจะลดลงเมื่อแก่ตัวลง
นักวิจัยทดสอบกับหนูทดลองที่อายุราว 2 ปีและมีอาการของโรคหัวใจล้มเหลว โดยต่อระบบการไหลเวียนเลือดของหนูตัวนั้นเข้ากับหนูทดลองที่อายุน้อย เพื่อให้หนูอายุมากตัวนั้นได้รับโปรตีน GDF-11 ในระดับสูงเหมือนกับหนูอายุน้อยๆ หลังจากทำวิธีนี้ติดต่อกันราว 10 สัปดาห์ นักวิจัยพบว่าหนูอายุมากมีอาการของโรคหัวใจล้มเหลวลดลง อีกทั้งอวัยวะต่างๆก็ดูจะเยาว์วัยแข็งแรงขึ้นด้วย และทำให้อวัยวะของหนูอายุ 2 ปีมีลักษณะแทบไม่ต่างจากหนูทดลองอายุ 2 เดือน
รายงานที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ Cell ชิ้นนี้ระบุด้วยว่า สารโปรตีน GDF-11 นอกจากจะช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงแล้ว ยังอาจช่วยให้เนื้อเยื่อส่วนอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต เช่นกล้ามเนื้อหุ้มโครงกระดูกและไขสันหลัง มีความแข็งแรงเหมือนกลับสู่วัยหนุ่มสาวอีกครั้ง อย่างไรก็ตามงานวิจัยชิ้นนี้ยังคงอยู่ในช่วงศึกษาทดลองเท่านั้น