การเสียชีวิตของคนใกล้ชิดในครอบครัวเป็นสาเหตุให้เกิดความเครียดมากที่สุดในบรรดาเหตุการณ์อื่นๆในชีวิตคนเรา ผลการวิจัยชิ้นใหม่ในสหรัฐอเมริกาชี้ว่า โอกาสเสี่ยงต่ออาการหัวใจวายเพิ่มขึ้นสูงมากเรื่อยๆหลังจากได้รับข่าวร้าย
ทีมนักวิจัยที่บอสตันทำการสำรวจผู้ป่วยที่รอดชีวิตจากอาการหัวใจวายเกือบสองพันคนเพื่อดูว่าพวกเขามีคนใกล้ชิดในครอบครัวเสียชีวิตในช่วงหกเดือนก่อนหน้านั้นหรือไม่ ผลการวิจัยนี้ออกมาน่าสนใจค่ะ
คุณอลิธซาเบธ โมสสต็อฟสกี้ หัวหน้าทีมวิจัยที่ศูนย์การแพทย์ Beth Israel Deaconess ในเมืองบอสตัน กล่าววกับผู้สื่อข่าววอยออฟอเมริกาว่า คนที่มีคนที่รักและใกล้ชิดเสียชีวิตไปหมาดๆ มีโอกาสป่วยด้วยอาการหัวใจวายเพิ่มขึ้นถึงยี่สิบเอ็ดเท่าตัวเมื่อเทียบกับช่วงปกติ และโอกาสเสี่ยงนี้จะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆในช่วงวันและสัปดาห์ต่อๆมา
คุณโมสสต็อฟสกี้ หัวหน้าทีมวิจัยนี้กล่าวว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่อธิบายได้ว่าทำไมความรู้สึกเศร้าโศกเสียใจหลังการเสียชีวิตของคนสนิทจึงทำให้เกิดอาการหัวใจวายได้
คุณโมสสต็อฟสกี้ หัวหน้าทีมวิจัยกล่าววกับผู้สื่อข่าววอยออฟอเมริกาว่า ความโศกาอาดูร ทำให้เกิดอาการซึมเศร้า ความโกรธ และความเครียดตามมา มีผลการวิจัยทางสุขภาพหลายชิ้นที่ชี้ว่าอารมณ์ทางลบเหล่านี้เป็นสาเหตุให้ระดับการเต้นของหัวใจให้ถี่ขึ้น มีความดันเลือดโลหิตสูงขึ้น และเกิดอาการลิ่มเลือดได้ อาการเหล่านี้ไปเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่ออาการหัวใจวายในเวลาต่อมาได้
คุณอลิซาเบธ โมสสต็อฟสกี้ หัวหน้าทีมวิจัยเรื่องนี้กล่าวว่าผลการศึกษานี้เตือนให้คนในครอบครัวหรือเพื่อนของผู้ที่กำลังเศร้าโศกจากการสูญเสียคนที่รัก ให้ใส่ใจเป็นพิเศษว่าคนเหล่านี้อาจเสี่ยงต่ออาการหัวใจวาย โดยเฉพาะถ้าหากการสูญเสียดังกล่าวเพิ่งเกิดขึ้นหมาดๆ
คุณโมสสต็อฟสกี้ หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่า คนใกล้ชิดต้องคอยเตือนผู้ที่กำลังเศร้าโศกเสียใจให้ดูแลตัวเองเพราะพวกเขากำลังตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่ออาการหัวใจวาย ถ้าหากเริ่มปรากฏอาการที่ฟ้องว่ากำลังจะเป็นโรคหัวใจวาย ก็ควรรีบใส่ใจไปพบแพทย์ก่อนจะสายเกินแก้