เด็กชายคิดค้นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ระบุที่ตั้งของตับอ่อนขณะทำรังสีบำบัด

Your browser doesn’t support HTML5

เด็กชายคิดค้นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ระบุที่ตั้งของตับอ่อนขณะทำรังสีบำบัด

Your browser doesn’t support HTML5

Health Pancreatic Cancer Young Scientist

รีชีป เจน จากพอร์ทเเลนด์ รัฐโอเรกอน คว้ารางวัลชนะเลิศนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ Discovery Education 3M Young Scientist Challenge ของสหรัฐฯ ประจำปี 2018 นี้

เขาคิดค้นโปรแกรมวิเคราะห์ที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์หรือ Artificial Intelligence เพื่อปรับปรุงการบำบัดมะเร็งตับอ่อน

เจน อายุ 13 ปี กล่าวว่าในระหว่างการบำบัดผู้ป่วยด้วยการฉายรังสี โปรแกรมวิเคราะห์ที่เขาคิดค้นขึ้นสามารถตรวจหาตับอ่อนได้เร็วขึ้นเเละแม่นยำขึ้น

เจนบอกว่าการค้นหาที่ตั้งของตับอ่อนด้วยสายตามนุษย์ทำได้ยากมากกว่า แม้เเต่นักรังสีวิทยาที่ได้รับการฝึกฝนอาจต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงกว่าจะค้นหาที่ตั้งของตับอ่อนได้สำเร็จเพราะตับอ่อนมีขนาดเล็กเเละถูกกำบังด้วยอวัยวะหลายอย่าง รวมทั้งกระเพาะอาหารและยังอยู่ใกล้กับกระดูกสันหลังอีกด้วย ซึ่งทำให้การผ่าตัดและการบำบัดยากมากขึ้น

เจนบอกว่าได้ตั้งโปรแกรมวิเคราะห์ระบบ AI ให้ใช้ได้กับเครื่องแสกน CT และ MRI ที่ใช้ตรวจบริเวณช่องท้องเพื่อให้โปรแกรมให้ระบบวิเคราะห์เข้าใจว่าตับอ่อนมีลักษณะอย่างไรและตั้งอยู่ในจุดใดของช่องท้อง

เจน อธิบายให้ผู้สื่อข่าววีโอเอว่า โปรแกรม Pancreatic Cancer Deep Learning System ที่เขาคิดค้นขึ้นกำลังทำงานร่วมกันเครื่องตรวจ CT สแกนที่กำลังตรวจภายในช่องท้องของคนไข้และขณะที่คนไข้หายใจเข้าออก ตับอ่อนก็จะเคลื่อนตัวตามไปด้วย

เจนบอกว่า ระหว่างการฉายรังสีบำบัดมะเร็งตับอ่อนที่ใช้เครื่องสแกน MRI เป็นตัวชี้นำ แพทย์สามารถใช้โปรแกรมวิเคราะห์ที่เขาคิดค้นขึ้นควบคู่ไปด้วยเพื่อช่วยระบุจุดที่ตั้งของตับอ่อนได้อย่างแม่นยำ เพื่อช่วยให้ฉายรังสีไปยังตับอ่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดความผิดพลาดที่รังสีจะฉายไปโดนอวัยวะอื่นๆ หรือเซลล์ที่เเข็งเเรงลงได้

มะเร็งตับอ่อนเป็นมะเร็งที่ไม่พบบ่อยนัก แต่มักทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต มะเร็งชนิดโตช้าเเละเนื่องจากจุดที่ตั้งของตับอ่อนค่อนข้างลึกลับซับซ้อน จึงมักตรวจไปไม่พบก้อนมะเร็งในระยะเริ่มต้น ผู้ป่วยจะไม่ปรากฏอาการจนกระทั่งมะเร็งได้ลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ เเล้ว

รีชีป เจน วางเเผนว่าจะใช้เงินรางวัล 25,000 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ที่เขาได้รับ พัฒนาอุปกรณ์ที่เขาคิดค้นขึ้นซึ่งยังเป็นต้นแบบอยู่ในขณะนี้ให้อุปกรณ์ตัวจริงที่นำไปใช้งานได้และเขาหวังว่าต่อไปในอนาคตจะสามารถร่วมมือกับโรงพยาบาลหรือบริษัทเอกชนเพื่อผลิตอุปกรณ์นี้ออกมาวางตลาด

(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)