Your browser doesn’t support HTML5
หน่วยงานแห่งหนึ่งขององค์การสหประชาชาติที่เป็นผู้นำในความพยายามระดับทั่วโลกในการยุติเอดส์ ได้แถลงว่า ทางหน่วยงานมีกำลังใจอย่างมากจากความเป็นไปได้ที่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายหนึ่งในอังกฤษอาจได้รับการรักษาจนหายจากโรคเอดส์
ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้เสาะหาหนทางรักษาการติดเชื้อเอชไอวีที่ก่อให้เกิดโรคเอดส์มานานเกือบ 40 ปี
ผู้อำนวยการองค์การยูเอ็นเอดส์ (UNAIDS) ได้เรียกข่าวเกี่ยวกับชายผู้ติดเชื้อคนหนึ่งในกรุงลอนดอนที่ได้รับการบำบัดจนเข้าสู่ภาวะสงบนี้ว่า "เป็นความคืบหน้าครั้งใหญ่ของวงการยุติเอดส์"
สเตฟาน ดูจาร์ริค (Stephane Dujarric) โฆษกแห่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ เป็นผู้ประกาศเรื่องนี้ว่า ความคืบหน้าครั้งสำคัญนี้สร้างความหวังเเก่อนาคต เเต่ยังเเสดงให้เห็นว่าเราคืบหน้ามากในความพยายามหยุดยั้งเอดส์โดยพึ่งความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เเละยูเอ็นเห็นว่าสำคัญมากที่ควรเดินหน้าเน้นงานป้องกันเเละความพยายามรักษาเอดส์ต่อไป
ชายชาวลอนดอนคนนี้ถือว่าปลอดจากเชื้อเอชไอวี หลังจากได้รับได้รับการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์จากผู้บริจาคที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมที่พบน้อยมาก ที่เรียกว่า CCR5 โดยยีนที่กลายพันธุ์นี้ทำให้เขาสามารถต่อต้านต่อเชื้อเอชไอวีได้ นอกจากนี้โรคมะเร็งที่เขาเป็น ก็ได้รับการรักษาจนโรคเข้าสู่ภาวะสงบ
ศาสตราจารย์ ราวินดรา กุพตา (Professor Ravindra Gupta) แห่งมหาวิทยาลัย University College London กล่าวว่า ชายผู้นี้ได้เลิกใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวีเเล้ว เเละมีสุขภาพเเข็งเเรงดี นอกจากนี้ ผลการตรวจเลือดพบว่ามีเชื้อเอชไอวีในร่างกายน้อยมากจนเเทบไม่มีเลย
ศาสตราจารย์กุพตายังลังเลทื่จะเรียกว่านี่เป็นการรักษาเอดส์ให้หายขาดเเล้ว เเต่นี่เป็นคนไข้รายที่ 2 ที่เเสดงให้เห็นว่าไม่มีเชื้อเอชไอวีในร่าง
กาย หลังจากได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายสเต็มเซลล์แบบเดียวกันกับชายคนแรกที่เป็นชาวอเมริกัน ซึ่งได้รับการบำบัดในกรุงเบอร์ลินเมื่อหลาย 12 ปีก่อน
ด็อกเตอร์ โรวีนา จอห์นสตัน (Dr. Rowena Johnston) ผู้อำนวยการฝ่ายกรวิจัยที่ amfAR ซึ่งเป็นมูลนิธิเพื่อการวิจัยเอดส์ กล่าวว่า ความสำเร็จครั้งที่สองนี้มีความสำคัญ
ทั่วโลกมีคนติดเชื้อเอชไอวีราว 37 ล้านคน แต่การบำบัดดวยสเต็มเซลล์นี้ยังเป็นการบำบัดที่ทำได้ยาก
อันดับเเรก ผู้บริจาคต้องมีเนื้อเยื่อที่เข้ากันได้กับผู้ป่วย นอกจากนี้ผู้บริจาคต้องมียีนกลายพันธุ์ชนิด CCR5 และขั้นตอนการบำบัดด้วยการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์สร้างความเจ็บปวดเเก่ผู้ป่วยเเละมีความเสี่ยง
ด็อกเตอร์ซาร่าห์ ฟิดเลอร่์ (Dr. Sarah Fidler) ศาสตราจารย์ด้านการบำบัดเอชไอวีที่ Imperial College London กล่าวว่า การผ่าตัดปลูกถ่ายไขกระดูกจะเป็นอันตรายมากเกินไปสำหรับผู้ป่วยที่ต้องรับประทานยาต้านไวรัสเพื่อบำบัดเอเชไอวีเป็นประจำทุกวัน
อย่างไรก็ตาม ผู้ติดเชื้อเอชไอวีทั้งสองคนต่างเป็นมะเร็งทั้งคู่เเละไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากยอมเสี่ยงรับการบำบัด แต่นักวิจัยยังจะเดินหน้าต่อไปในการค้นหาวิธีการรักษาเอดส์
และอย่างน้อยในตอนนี้พวกเขาก็รู้เเล้วว่า 'โรคเอดส์สามารถรักษาให้หายได้'
(เรียบเรียงโดย ทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)