นักวิจัยค้นพบวัคซีนที่อาจป้องกัน 'โรคหนองในแท้' ได้โดยบังเอิญ

FILE - Meningococcal meningitis survivor and vaccination advocate Leslie Meigs looks on as her brother Andrew (18), a college student in Texas, receives Bexsero(R), a meningococcal group B vaccine approved by the FDA for ages 10-25. Feb. 24, 2015.

Your browser doesn’t support HTML5

นักวิจัยค้นพบวัคซีนที่อาจป้องกันหนองในแท้ได้โดยบังเอิญ

เป็นไปได้ว่านักวิทยาศาสตร์อาจค้นพบข้อมูลสำคัญบางอย่างโดยบังเอิญ ที่อาจช่วยนำไปสู่การพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคหนองในแท้ เมื่อหลายสิบปีที่แล้ว

ในราวปลายคริสต์ทศวรรษที่ 1990s โรคเยื้อหุ้มสมองอักเสบบีสายพันธุ์หนึ่งระบาดในนิวซีเเลนด์ มีการพัฒนาวัคซีนชนิดหนึ่งชื่อ MeNZB เพื่อใช้ฉีดเเก่คนอายุน้อยที่มีความเสี่ยงที่สุดที่จะติดโรคเยื้อหุ้มสมองอักเสบบีสายพันธุ์นี้เป็นการเฉพาะ และวัคซีนนี้ไม่สามารถป้องกันเยื้อหุ้มสมองอักเสบบีสายพันธุ์อื่นๆ

ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 2004 ถึง 2006 มีการฉีดวัคซีน MeNZB ให้กับคนที่อายุต่ำกว่า 20 ปี และตั้งเเต่นั้นเป็นต้นมา เด็กทารกและเด็กก่อนวัยเรียนได้รับการฉีดวัคซีนชนิดนี้เป็นประจำ

จนกระทั่งมาถึงปีค.ศ. 2008 คนที่มีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อโรคนี้เท่านั้นที่ได้รับการฉัดวัคซีนชนิดนี้ต่อ จนถึงปี ค.ศ. 2011 และเมื่อการระบาดของโรคนี้ยุติลง โครงการฉีดวัคซันนี้ก็ยุติตามไปด้วย

อย่างไรก็ตาม ทีมนักวิทยาศาสตร์สังเกตุเห็นว่าวัคซีนป้องกันโรคเยื้อหุ้มสมองอักเสบบีสายพันธุ์นี้ ยังมีผลช่วยป้องกันการติดเชื้อหนองในเเท้ได้อีกด้วย

ผลการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ตีพิมพ์ในวารสาร The Lancet เมื่อเดือนที่เเล้ว ชี้ว่าหนึ่งในสามของคนที่ได้รับวัคซีน MeNZB นี้ไม่ติดเชื้อหนองในเเท้ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับวัคซีนนี้

หัวหน้าผู้ร่างผลการศึกษาชี้ว่า เชื้อเเบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคทั้งสองโรค มีลักษณะโครงสร้างตั้งต้นทางพันธุกรรมที่คล้ายกันราว 80-90 เปอร์เซ็นต์

ด็อกเตอร์ สตีเว่น เเบล็ค ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดต่อที่โรงพยาบาลเด็กรัฐซินซินเนติ กล่าวว่า นี่เป็นครั้งเเรกที่การทดลองเเสดงให้เห็นว่ามีวัคซีนชนิดหนึ่งที่อาจมีผลในการป้องกันโรคหนองในเเท้ได้ และหากผลการทดลองนี้ได้รับการยืนยันจากการทดลองต่อไป ก็อาจจะนำไปสู่การพัฒนาวัคซีนที่มีผลในการป้องกันหนองในเเท้ขึ้นมาเป็นการเฉพาะ

ความคิดเห็นของด็อกเตอร์ สตีเว่น เเบล็ค นี้ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of the American Medical Associatio ฉบับปัจจุบัน

องค์การอนามัยโลก รายงานว่า โรคหนองในแท้กำลังกลายเป็นโรคที่รักษาหายากขึ้น หรือ อาจรักษาไม่หายในบางกรณี และเตือนว่าอาจจะกลายเป็นโรคที่ไม่มีทางรักษาได้ในอนาคตอันใกล้ก็ได้ ในขณะนี้ ยังไม่มีการผลิตยาปฏิชีวนะชนิดใหม่ออกมารักษาโรคหนองในเเท้

ด็อกเตอร์ เทียโดร่า วี เจ้าหน้าที่การแพทย์ด้านการเจริญพันธุ์ของมนุษย์แห่งองค์การอนามัยโลก กล่าวในเเถลงการณ์ของ WHO ว่า เชื้อเเบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคหนองในเเท้ สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วกับยาที่ใช้บำบัด ทุกครั้งที่มีการใช้ยาปฏิชีวนะตัวใหม่ เชื้อเเบคทีเรียจะปรับตัวเพื่อต่อต้านต่อยาได้

สำนักงานควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐฯ หรือ CDC รายงานว่า โรคหนองในแท้เป็นโรคที่พบมากที่สุดเป็นอันดับสองในสหรัฐฯ เเละการติดเชื้อทุกกรณีจะต้องรายงานเเก่ทาง CDC เเต่เจ้าหน้าที่CDC ประมาณว่าได้รับรายงานว่ามีการติดเชื้อรายใหม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนคนที่ติดเชื้อรายใหม่ทั้งหมด 800,000 รายต่อปี

ผู้หญิงที่ติดเชื้อมักไม่เเสดงอาการ เเต่หากไม่ได้รับการบำบัด อาจจะนำไปสู่ปัญหาสุขภาพรุนเเรงตามมาได้ อาจทำให้เกิดอาการอักเสบในอุ้งเชิงกราน อาจเป็นสาเหตุใหเกิดการท้องนอกมดลูก ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตและผู้หญิงตั้งครรภ์ยังส่งต่อเชื้อไปยังทารกได้ด้วย

โรคหนองในเเท้อาจทำให้เป็นหมันทั้งในผู้ชายแและผู้หญิง และยังทำให้คนที่เป็นโรคนี้เสี่ยงมากชึ้นที่จะติดเชื้อเอชไอวี

การศึกษาเกี่ยวกับการระบาดของเยื่อหุ้มสมองอักเสบบีกับวัคซีนป้องกันในนิวซีเเลนด์นี้ อาจปรับเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคหนองในเเท้

บทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร JAMA สรุปว่า วัคซีนป้องกันโรคหนองในเเท้ จะเป็นทางออกที่ยั่งยืนเพียงทางเดียวในการรับมือกับเชื้อเเบคทีเรียที่ปรับตัวอย่างรวดเร็วและต่อต้านยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษากันในปัจจุบัน

(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)