กอริลลาไขปัญหาด้วยหาการโกง

Your browser doesn’t support HTML5

กอริลลาไขปัญหาด้วยหาการโกง

กอริลลาที่สวนสัตว์ในประเทศอังกฤษได้แสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติพิเศษที่เด่นชัดของมนุษย์ในขณะที่กำลังพยายามแก้ปัญหาด้วยการโกง

Your browser doesn’t support HTML5

Gorilla Cheat

เกมที่นำมาให้กอริลล่าเล่นจะติดอยู่กับฝาผนัง พวกมันจะต้องใช้ไม้ทิ่มเข้าไปในช่องต่างๆ เพื่อนำถั่วลิสงผ่านสิ่งกีดขวางต่างๆ และเมื่อถั่วลิสงไหลลงมาอยู่ช่องล่างสุด ก็จะตกออกมาให้กอริลล่ากินเป็นรางวัล

อย่างไรก็ตาม มีกอริลลาบางตัวที่สามารถคิดหาวิธีง่ายๆ ในการนำถั่วออกมากินได้

ศาสตราจารย์ Fay Clark จากสวนสัตว์ Bristol Zoo Gardens กล่าวว่าเราได้เห็นพฤติกรรมการโกงหลายอย่างจากกอริลลา เช่นการที่พวกมันแนบริมฝีมากไว้ตรงช่องแล้วดูดเอาเม็ดถั่วออกมา ซึ่งนักวิจัยไม่ได้คาดคิดว่าลิงจะทำแบบนี้ แต่ถึงอย่างไรก็แสดงให้เห็นแล้วว่าลิงเหล่านี้มีความคิดสร้างสรรค์ เพราะพวกมันสามารถหาวิธีแก้ปัญหาใหม่ๆ เพื่อให้ได้อาหาร

ลิงเหล่านั้นมีความสามารถในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างน่าพิศวง ซึ่งมันอาจเป็นวิธีที่เราไม่เคยเห็นมาก่อนเลยด้วยซ้ำ

นอกจากนี้กอริลลาตามบริเวณที่ราบลุ่มที่ใกล้จะสูญพันธุ์ ซึ่งถูกแนะนำให้รู้จักกับอุปกรณ์ต้นแบบเมื่อต้นปีนี้แสดงให้เห็นว่าพวกมันค่อนข้างจะชอบการเล่นเกมนี้ นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าพวกมันมักจะกลับมาเล่นเกมนี้เป็นประจำ แม้ว่าจะไม่มีถั่วเหลือให้เล่นแล้วก็ตาม

ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัย Bristol และ Bristol Zoological Society ได้พัฒนา "Gorilla Game Lab" หรือห้องทดลองการเล่นเกมสำหรับกอริลลา เพื่อกระตุ้นความสามารถด้านการรับรู้ และการแก้ปัญหาของลิงเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม อุปกรณ์ต้นแบบจะต้องแข็งแรงพอที่จะต้านทานความหัวเสียของกอริลลา ซึ่งแข็งแรงกว่ามนุษย์ถึงเจ็ดเท่า และต้องน่าสนใจมากพอที่จะทำให้กอริลลากลับมาเล่นเกมอีกด้วย

ศาสราจารย์ Stuart Gray จากมหาวิทยาลัย Bristol กล่าวว่าเกมดังกล่าวประกอบด้วยโมดูลหรือส่วนต่างๆ ที่สามารถเคลื่อนย้ายถอดเข้าถอดออกได้เพื่อการออกแบบใหม่ หรือเพื่อการเพิ่มโมดูลเข้าไปเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างที่มีอยู่ ทำให้ลิงกอริลลาได้ไขปริศนาที่ไม่รู้จบ

ในขณะที่เป้าหมายหลักของโครงการนี้คือการสร้าง "สภาพทางจิตวิทยาที่ดีด้านความสุขและความพึงพอใจของกอริลล่า" นักวิจัยก็ได้ตั้งเป้าหมายใหม่ในการสร้างเกมในระดับที่สูงขึ้น เพื่อที่จะช่วยให้ผู้ดูแลสวนสัตว์สามารถเข้าใจสภาพร่างกายและจิตใจของสัตว์ได้ดียิ่งขึ้น

ศาสราจารย์ Stuart Gray กล่าวส่งท้ายว่าสิ่งต่างๆ เช่นสายตา การได้ยิน ตลอดจนการทำงานของประสาทรับรู้อื่นๆ ของสัตว์ อาจเป็นสิ่งที่เราสามารถวัดและทำความเข้าใจมากขึ้นในอนาคตได้