ตามรายงานขององค์การอนามัยโลกชิ้นนี้ คนปัจจุบันมีอายุขัยเฉลี่ยสูงขึ้นและอัตราการเกิดลดลง จึงมีผลให้มีประชากรวัยกลางคนเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก รายงานนี้ชี้ว่าในปีพุทธศักราช 2553 ประมาณ 65 เปอร์เซ็นต์ของคนอายุมากกว่า 60 ปีอาศัยในประเทศที่ด้อยพัฒนาและจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นเป็น 80 เปอร์เซ็นต์ภายในกลางศตวรรษนี้
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าปัญหาสุขภาพร้ายแรงที่มากับวัยที่สูงขึ้นจะเริ่มปรากฏในช่วงที่คนเราเริ่มอายุย่างเข้า 50 ปี
ข้อมูลด้านประชากรที่จัดเก็บใน 6 ประเทศ คือ จีน รัสเซีย อินเดีย เม็กซิโก อาฟริกาใต้ และกาน่า ได้แสดงให้เห็นถึงปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นระดับทั่วโลกในประชากรอายุ 50 ปีขึ้นไป
ทางสำนักงาน U.S. Census Bureau ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลสติถิที่จัดเก็บได้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเรื่องประชากรสูงวัยและสุขภาพของผู้ใหญ่โดยองค์การอนามัยโลก ที่เรียกว่า Study on Global Aging And Adult Health หรือ SAGE
คุณจอห์น เฮก้า รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยด้านพฤติกรรมและสังคมที่สำนักงาน U.S. National Institute on Aging ซึ่งสนับสนุนเงินทุนให้โครงการสำรวจนี้ กล่าวว่า ประเด็นสุขภาพของประชากรวัยกลางคนในประเทศยากจนและประเทศรายได้ปานกลางไม่ค่อยได้รับการศึกษาวิจัยในระดับโลกมากนัก
คุณเฮก้า กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่า การแก่ตัวเป็นประชากรสูงวัยเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและประเทศส่วนใหญ่ไม่มีระบบสาธารณสุข ระบบเงินบำนาญและการดูแลสุภาพผู้สูงอายุในระยะยาว เขาบอกว่ารัฐบาลในประเทศต่างๆทั่วโลกต้องเร่งจัดตั้งระบบเหล่านี้ให้เร็วที่สุดในระยะเวลาที่เหลืออยู่ไม่มาก
ทีมนักวิจัยในการศึกษาเรื่องประชากรสูงวัยทั่วโลกกับสุขภาพผู้ใหญ่ หรือ SAGE ได้จัดเก็บข้อมูลสถานภาพทางสุขภาพของประชากรวัยกลางคนรายบุคคล รวมทั้งพฤติกรรมและปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพต่างๆที่อาจส่งผลต่อปัญหาสุขภาพในอนาคตของพวกเขา อาทิ การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การขาดการออกกำลังกาย การบริโภคผลไม้และผัก
นักวิจัยยังได้บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับระดับความพิการของร่างกาย ระดับความซึมเศร้า และการใช้บริการทางการีักษาพยาบาลในแต่ละประเทศด้วย
คุณเฮก้า ผู้เชี่ยวชาญแห่งสำนักงาน U.S. National Institute on Aging กล่าวว่า ข้อมูลที่ได้แสดงให้เห็นว่าปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ใน 6 ประเทศที่อยู่ในการศึกษาเป็นโรคที่ไม่ติดต่อ อาทิ มะเร็ง เบาหวาน โรคเก้าท์ และโรคความดันโลหิตสูง เขาบอกว่า ตัวเลขทางสถิติชี้ให้เห็นว่าการสูบบุหรี่จัดเป็นสาเหตุหลักของมะเร็งและโรคหัวใจ
คุณเฮก้า กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่า นโยบายการสาธารณสุขระดับโลกจะต้องคลุมถึงมาตราการต่างๆที่ต้องจัดหาเพื่อรองรับการดูแลสุขภาพของประชากรวัยกลางคนที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากและอย่างรวดเร็วในประเทศเหล่านี้ รวมทั้งแนวทางการจัดการกับโรคร้ายแรงต่างๆด้วย
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าปัญหาสุขภาพร้ายแรงที่มากับวัยที่สูงขึ้นจะเริ่มปรากฏในช่วงที่คนเราเริ่มอายุย่างเข้า 50 ปี
ข้อมูลด้านประชากรที่จัดเก็บใน 6 ประเทศ คือ จีน รัสเซีย อินเดีย เม็กซิโก อาฟริกาใต้ และกาน่า ได้แสดงให้เห็นถึงปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นระดับทั่วโลกในประชากรอายุ 50 ปีขึ้นไป
ทางสำนักงาน U.S. Census Bureau ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลสติถิที่จัดเก็บได้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเรื่องประชากรสูงวัยและสุขภาพของผู้ใหญ่โดยองค์การอนามัยโลก ที่เรียกว่า Study on Global Aging And Adult Health หรือ SAGE
คุณจอห์น เฮก้า รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยด้านพฤติกรรมและสังคมที่สำนักงาน U.S. National Institute on Aging ซึ่งสนับสนุนเงินทุนให้โครงการสำรวจนี้ กล่าวว่า ประเด็นสุขภาพของประชากรวัยกลางคนในประเทศยากจนและประเทศรายได้ปานกลางไม่ค่อยได้รับการศึกษาวิจัยในระดับโลกมากนัก
คุณเฮก้า กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่า การแก่ตัวเป็นประชากรสูงวัยเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและประเทศส่วนใหญ่ไม่มีระบบสาธารณสุข ระบบเงินบำนาญและการดูแลสุภาพผู้สูงอายุในระยะยาว เขาบอกว่ารัฐบาลในประเทศต่างๆทั่วโลกต้องเร่งจัดตั้งระบบเหล่านี้ให้เร็วที่สุดในระยะเวลาที่เหลืออยู่ไม่มาก
ทีมนักวิจัยในการศึกษาเรื่องประชากรสูงวัยทั่วโลกกับสุขภาพผู้ใหญ่ หรือ SAGE ได้จัดเก็บข้อมูลสถานภาพทางสุขภาพของประชากรวัยกลางคนรายบุคคล รวมทั้งพฤติกรรมและปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพต่างๆที่อาจส่งผลต่อปัญหาสุขภาพในอนาคตของพวกเขา อาทิ การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การขาดการออกกำลังกาย การบริโภคผลไม้และผัก
นักวิจัยยังได้บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับระดับความพิการของร่างกาย ระดับความซึมเศร้า และการใช้บริการทางการีักษาพยาบาลในแต่ละประเทศด้วย
คุณเฮก้า ผู้เชี่ยวชาญแห่งสำนักงาน U.S. National Institute on Aging กล่าวว่า ข้อมูลที่ได้แสดงให้เห็นว่าปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ใน 6 ประเทศที่อยู่ในการศึกษาเป็นโรคที่ไม่ติดต่อ อาทิ มะเร็ง เบาหวาน โรคเก้าท์ และโรคความดันโลหิตสูง เขาบอกว่า ตัวเลขทางสถิติชี้ให้เห็นว่าการสูบบุหรี่จัดเป็นสาเหตุหลักของมะเร็งและโรคหัวใจ
คุณเฮก้า กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่า นโยบายการสาธารณสุขระดับโลกจะต้องคลุมถึงมาตราการต่างๆที่ต้องจัดหาเพื่อรองรับการดูแลสุขภาพของประชากรวัยกลางคนที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากและอย่างรวดเร็วในประเทศเหล่านี้ รวมทั้งแนวทางการจัดการกับโรคร้ายแรงต่างๆด้วย