ชาวเยอรมันในฝั่งตะวันตกโอดครวญเรื่องการให้เงินสนับสนุนชุมชนยากจนในฝั่งตะวันออก

A sign, which reads "25 years Fall of the Wall 2014," is pictured in front of sections at the East Side Gallery, the largest remaining part of the former Berlin Wall in Berlin, Nov. 3, 2014.

25 ปีหลังการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน เยอรมนีก้าวขึ้นมาเป็นประเทศเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในยุโรป แต่ปัญหาความแตกต่างทางเศรษฐกิจระหว่างเยอรมนีตะวันตกกับตะวันออกยังคงมีอยู่

Your browser doesn’t support HTML5

Germany Economy

25 ปีหลังการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน เยอรมนีก้าวขึ้นมาเป็นประเทศเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในยุโรป แต่ปัญหาความแตกต่างทางเศรษฐกิจระหว่างเยอรมนีตะวันตกกับตะวันออกยังคงมีอยู่

The installation 'Lichtgrenze' (Border of Light) along a former Berlin Wall location is illuminated next to the Brandenburg Gate in Berlin November 7, 2014. A part of the inner city of Berlin is being temporarily divided from November 7 to 9, with a light

และในขณะที่ ศก.โดยรวมของกลุ่มยูโรโซนยังไม่ฟื้นตัว ประกอบกับอัตราการว่างงานสูง ทำให้ชาวเยอรมันทางฝั่งตะวันตกบางส่วนตั้งคำถามว่า ทำไมพวกตนจึงยังต้องเป็นฝ่ายแบกรับภาระหนี้และภาษี เพื่อให้รัฐบาลนำเงินไปช่วยเหลือชุมชนยากจนในฝั่งตะวันออกของประเทศ ทั้งที่ปัจจุบัน ชาวเยอรมันจำนวนมากทางฝั่งตะวันออกมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีกว่าประชาชนในฝั่งตะวันตกเสียอีก

ขณะเดียวกัน นักวิเคราะห์ ศก.หลายคนมองว่า การที่สหภาพยุโรปนำโดยเยอรมนี ใช้มาตรการลงโทษทางศก.ต่อรัสเซีย กำลังส่งผลย้อนมาทำร้ายศก.เยอรมนีเอง โดยเฉพาะในแถบเยอรมนีฝั่งตะวันออกที่ซึ่งมีบริษัทขนาดย่อมจำนวนมากที่ทำธุรกิจกับรัสเซีย

นักเศรษฐศาสตร์ชี้ว่ามาตรการลงโทษทางศก.ต่อรัสเซียได้ทำให้การส่งออกโดยรวมของเยอรมนีลดลงถึง 20%

รายงานจากห้องข่าว VOA / เรียบเรียงโดยทรงพจน์ สุภาผล