“ฝรั่งเศส” เรียกทูตประจำอิตาลีกลับประเทศ ปมบาดหมางเหตุผู้อพยพ-ม๊อบเสื้อกั๊กเหลือง

Protesters of the 'Gilets Jaunes' (Yellow Vests) movement await French President Emmanuel Macron's arrival, during his meeting with the mayors of the Saone-et-Loire department, in Autun, France Feb. 7, 2019.

Your browser doesn’t support HTML5

France Italy EU

กระทรวงต่างประเทศฝรั่งเศส ออกแถลงการณ์เรียกตัวเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำกรุงโรม ของอิตาลี กลับประเทศด่วน หลังจากที่ทางการฝรั่งเศสอ้างว่ารัฐบาลอิตาลีมีแถลงการณ์โจมตีรัฐบาลฝรั่งเศสอย่างไม่มีหลักฐานหลายต่อหลายครั้ง เพื่อเป้าหมายให้อิตาลีได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งสมาชิกสภายุโรป ในเดือนพฤษภาคมนี้

Nathalie Loiseau, French Minister attached to the Foreign Affairs Minister, attends a government session at the National Assembly in Paris, June 13, 2018.

นาตาลี ลัวโซ (Nathalie Loiseau) รัฐมนตรีกิจการยุโรปของฝรั่งเศส กล่าวเรียกร้องให้อิตาลีและฝรั่งเศสเริ่มต้นการหารือทางการเมืองร่วมกันใหม่อีกครั้ง ซึ่งแม้ว่ารัฐบาลทั้ง 2 ประเทศจะมีความเห็นทางการเมืองที่แตกต่างกัน แต่ขอให้รัฐบาลทั้ง 2 ทุ่มเทกับการแก้ปัญหาภายในประเทศที่ประชาชนของแต่ละชาติให้ความใส่ใจ

French President Emmanuel Macron attends a meeting with the cities mayors of the Saone-et-Loire department, as part of the 'Great National Debate' designed to find ways to calm social unrest of the Yellow Vests movement, in Autun, Feb. 7, 2019.

ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างอิตาลีและฝรั่งเศส สะสมความบาดหมางกันมา หลังจากที่รัฐบาลโรมและปารีสต่างพยายามเข้าไปมีบทบาทต่อการแก้ปัญหาวิกฤตในลิเบีย

และในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ผู้นำรัฐบาลอิตาลีหลายคนต่างออกมาวิพากษ์วิจารณ์ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครอง และรัฐบาลฝรั่งเศส โดยนายลุยจิ ดิ มาโย (Luigi di Maio) รองนายกรัฐมนตรีอิตาลี กล่าวหาว่าฝรั่งเศสยังคงเดินหน้าแสวงหาอาณานิคมจากแอฟริกา และเป็นชนวนเหตุของคลื่นผู้อพยพในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ตามมาด้วยรัฐมนตรีมหาดไทยอิตาลีมัตเตโอ ซัลวินี ที่เรียกนายมาครองว่าเป็น “ประธานาธิบดียอดแย่” และหวังว่าผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในฝรั่งเศสจะออกมาต่อต้านนายมาครอง

ก่อนที่ฟางเส้นสุดท้าย จะกลายเป็นการเคลื่อนไหวรอบใหม่เมื่อวันพุธ ที่รองนายกรัฐมนตรีอิตาลี ดิ มาโย เข้าพบปะกับกลุ่มผู้ประท้วงเสื้อกั๊กสีเหลือง ที่ออกมาเดินขบวนในกรุงปารีสและทั่วประเทศ ก่อนจะทวีตสั้นๆว่า “สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้พัดผ่านเทือกเขาแอลป์เข้าสู่ฝรั่งเศสแล้ว” ทำให้ฝรั่งเศสหมดความอดทนจนตัดสินใจเรียกทูตกลับทันที

Italian Deputy PM Luigi Di Maio speaks at the 5-Star Movement party's open-air rally at Circo Massimo in Rome, Italy, Oct. 21, 2018.

ทั้งนี้ ความบาดหมางระหว่างอิตาลีและฝรั่งเศส สร้างแรงกดดันใหม่ให้กับสหภาพยุโรป ตั้งแต่การรับมือกับคลื่นแนวคิดประชานิยมที่คืบคลานไปทั่วยุโรป และเตรียมรับแรงปะทะจากความเป็นไปได้ที่อังกฤษจะแยกตัวจากสหภาพยุโรปแบบหักดิบ หรือ hard Brexit อย่างไร้ข้อตกลง ในวันที่ 29 มีนาคมนี้

ฟิลิปเป มอโรว์ เดอฟาร์กส์ อดีตทูตชาวฝรั่งเศสและนักวิเคราะห์ด้านการเมืองระหว่างประเทศ แสดงความกังวลว่า ตอนนี้สหภาพยุโรปกำลังเผชิญกับวิกฤตหลายด้าน แต่ปัญหาที่ท้าทายที่สุดในตอนนี้ คือ สหภาพยุโรปอาจล่มสลายได้ด้วยน้ำมือของประเทศในกลุ่มเสียเอง

ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองระหว่างประเทศชาวฝรั่งเศสรายนี้ บอกว่าประเด็นผู้อพยพ ได้แบ่งแยกแนวคิดของประเทศในกลุ่มอียูออกไป อย่างฝั่งอิตาลีและกรีซที่ได้รับผลกระทบโดยตรงในการจัดการกับผู้อพยพที่ข้ามน้ำข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียนมาขอความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ในขณะที่ฝรั่งเศสและชาติอื่นๆในกลุ่มอียู กลับไม่เข้ามามีส่วนรับผิดชอบกับวิกฤตผู้อพยพนี้อย่างที่ควรจะเป็น

นายมอโรว์ เดอฟาร์กส์ ได้ทิ้งท้ายไว้ว่า ทุกชาติในสหภาพยุโรปต้องระมัดระวังถึงอนาคตของพวกเขาให้มาก และความบาดหมางระหว่างอิตาลีและฝรั่งเศสไม่ใช่แค่ปัญหาสำคัญ แต่เป็นวิกฤตที่อันตรายร้ายแรงต่อความเป็นไปของสหภาพยุโรปเลยก็ว่าได้

(Lisa Bryant ผู้สื่อข่าว VOA รายงานจากกรุงปารีส ฝรั่งเศส)