Your browser doesn’t support HTML5
เอริกา มอร์ลี่ย์ กับ เดเนียล โรเบิร์ต สองนักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยบริสโตล ในประเทศอังกฤษ เกิดความสนใจที่จะค้นหาคำอธิบายถึงความสามารถในการร่อนตัวกลางอากาศของเเมงมุม
นักวิจัยทั้งสองคิดว่าเ เมงมุมอาจสามารถรับรู้สนามไฟฟ้าสถิตในอากาศได้เเละใช้ประโยชน์สนามไฟฟ้าสถิตในการร่อนตัว
ทีมนักวิจัยได้สร้างกล่องขึ้นหนึ่งกล่อง โดยมีจานโลหะติดอยู่ที่ก้นกล่อง เเละจานอีกชิ้นหนึ่งติดอยู่ด้านบน เพื่อช่วยส่งต่อคลื่นไฟฟ้า หลังจากนั้น ทีมนักวิจัยปล่อยแมงมุมหลายตัวลงไปในกล่อง ก่อนจะปล่อยประจุไฟฟ้าเข้าไปในวงจรเเละเฝ้าสังเกตดูปฏิกริยาของแมงมุมต่อสนามไฟฟ้าที่เกิดขึ้น
เมื่อเกิดสนามไฟฟ้าขึ้น แมงมุมในกล่องยกส่วนท้องขึ้นไปในอากาศเเละเริ่มเขย่งเท้า ก่อนที่จะปล่อยเส้นใยไหมออกมาเพื่อลอยตัวขึ้นไปกลางอากาศ โดยนักวิจัยเรียกกระบวนการนี้ว่า การลอยตัวสูงขึ้น และในขณะที่เเมงมุมทั้งหมดกำลังค่อยๆ ลอยตัวขึ้นไปกลางอากาศ ทีมนักวิจัยได้ปิดวงจรไฟฟ้า แมงมุมกลับตกลงมาสู่พื้น
การทดลองดังกล่าวแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า เเมงมุมสามารถรับสัมผัสจากสนามไฟฟ้าที่เกิดขึ้นได้ เเละตอบสนองด้วยการปล่อยใยไหมออกมาในช่วงเวลาที่จวบเหมาะเ เต่ทีมนักวิจัยในอังกฤษทีมนี้ต้องการค้นหาว่าแมงมุมทำได้อย่างไร
มอร์ลี่ย์ กล่าวว่า ในฐานะนักชีววิทยาด้านระบบประสาทสัมผัส ตนเองใคร่รู้ว่าเเมงมุมใช้ระบบประสาทสัมผัสแบบใดในการตรวจหาสนามไฟฟ้า ทีมงานรู้ว่าเเมงมุมมีขนที่มีความละเอียดอ่อนมากต่อการเคลื่อนตัวของอากาศหรือเเม้เเต่เสียง ทำให้ทีมงานเชื่อว่าเป็นไปได้ที่เเมงมุมอาจจะใช้ขนของมันในการตรวจหาสนามไฟฟ้า
นักวิจัยได้สังเกตุขนที่ขาของเเมงมุมว่า ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทางกายภาพ อาทิ ลมและสนามไฟฟ้า ซึ่งเป็นไปได้ที่เเมงมุมจะใช้ขนที่ขาในการตรวจหาสนามไฟฟ้าที่อยู่รอบตัวเเละลม เเมงมุมอาจใช้ทั้งสนามไฟฟ้าเเละลมช่วยในการลอยตัวขึ้นกลางอากาศเเละร่อนตัวไปมากลางอากาศ
มอร์ลี่ย์ กล่าวว่า เเมงมุมไม่ได้เป็นสัตว์ไร้กระดูกเพียงชนิดเดียวที่ลอยตัวขึ้นกลางอากาศ ตัวหนอนผีเสื้อเเละไรเเมงมุมซึ่งเป็นสัตว์ขาปล้องก็สามารถลอยตัวขึ้นกลางอากาศได้เช่นกัน
นักวิจัยหวังว่า จะมีนักวิจัยคนอื่นๆ ทำการศึกษาเรื่องนี้เพิ่มเติม เพื่อดูว่าสัตว์ขาปล้องชนิดอื่นๆตอบสนองต่อสนามไฟฟ้าเเละลมเช่นเดียวกับเเมงมุมหรือไม่
(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)