นักวิทยาศาสตร์จากอาฟริกาได้รับรางวัลผลการวิจัยยอดเยี่ยมจาก Royal Society แห่งสหราชอณาจักร หลังจากสามารถค้นพบวิธีการใหม่ในการกำจัดฝูงยุงที่เป็นพาหะของไข้มาลาเรีย
การวิจัยของด็อกเตอร์อับดูลลาเย เดียเบท เน้นศึกษาเเพทเทินของการผสมพันธุ์ของยุงตัวผู้และผลการศึกษาของเขาได้รับความสนใจจากบรรดานักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก
เขาอธิบายว่าสิ่งที่สำคัญมากของระบบการผสมพันธุ์ของยุงนี้ก็คือว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่เขาเดินเข้าไปในจุดที่ศึกษา เขาจะพบฝูงยุงบินอยู่ในจุดนั้นเป็นประจำทุกๆวัน นี่ทำให้การกำจัดยุงทำได้ง่ายมากขึ้น
ประเทศ Burkina Faso เป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการติดเชื้อมาลาเรียสูงที่สุดในโลก ด็อกเตอร์เดียเบทพบว่าในช่วงฤดูฝนใน Burkina Faso บางบ้านมียุงอยู่ภายในบ้านถึงเก้าร้อยตัว
เขากล่าวว่าการค้นพบว่ายุงจะบินอยู่ด้วยกันเป็นฝูงเพื่อผสมพันธุ์ในจุดจุดเดิมทุกปีทุกปี ช่วยให้การหาทางแทรกแซงแพทเทินการผสมพันธุ์ของยุงทำได้ง่ายขึ้น
เขากล่าวว่าหากสามารถทำลายยุงตัวผู้ได้สำเร็จ จะส่งผลให้จำนวนประชากรยุงตัวผู้ลดลงอย่างมากจนมีจำนวนยุงตัวเมียมากกว่า เขากล่าวว่ายุงตัวเมียต้องมียุงตัวผู้ผสมพันธุ์จึงจะสามารถออกไข่ได้ แต่เมื่อไม่มียุงตัวผู้ผสมพันธุ์ด้วย ก็จะไม่สามารถออกไข่และทำให้ไม่มีลูกยุง และเมื่อไม่มียุง ก็หมายความว่าไม่มีเชื้อมาลาเรีย
ผลการวิจัยเรื่องนี้จะนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีในการควบคุมการระบาดของไข้มาลาเรียแบบใหม่ๆต่อไป อาทิ การใช้ยุงตกแต่งพันธุกรรมและการควบคุมประชากรยุงด้วยการทำหมันยุงตัวผู้
ด็อกเตอร์เดียเบทจะได้รับรางวัลเป็นเงิน 95,000 ดอลล่าร์สหรัฐเพื่อสนับสนุนการวิจัยของเขาในฐานะผู้ได้รับรางวัล Royal Society Pfizer Award ประจำปีคริสตศักราช 2013
ศาสตราจารย์ Sir Brian Greenwood แห่งวิทยาลัยสุขภาพและเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยลอนดอน เป็นหนึ่งในคณะกรรมการคัดเลือกผู้ได้รับรางวัล
เขากล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่ามาจนถึงขณะนี้ การควบคุมการระบาดของไข้มาลาเรียต้องพึ่งพาการกางมุ้งเคลือบยากันยุงเป็นหลัก แต่มีความกังวลกันว่าจะไม่ได้ผลเพราะยุงเริ่มพัฒนาแรงต่อต้านต่อสารเคมีที่ใช้ ดังนั้นเขาเห็นว่ามีความจำเป็นในการพัฒนาวิธีใหม่ๆออกมาเพื่อควบคุมยุงที่เป็นพาหะของไข้มาลาเรีย
แม้จะมีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น ไข้มาลาเรียเป็นสาเหตุให้คนเสียชีวิตราวปีละหกแสนหกหมื่นคน ส่วนใหญ่เป็นเด็ก
ในปีหน้า บริษัทยาอังกฤษ GlaxoSmithKline วางแผนที่จะยื่นขอใบอนุญาติเป็นผู้นำวัคซีนป้องกันไข้มาลาเรียออกสู่ตลาดเป็นรายแรกของโลก วัคซีนนี้เรียกว่า RTSS องค์การอนามัยโลกชี้ว่าอาจจะสามารถนำวัคซีนป้องกันไข้มาลาเรียไปใช้ได้ในราวอีกสองปีข้างหน้า
ศาสตราจารย์กรีนวู้ด มีบทบาทช่วยในการพัฒนาวัคซีนตัวนี้ เขากล่าวว่าวัคซีนตัวนี้อาจจะช่วนสร้างภูมิคุ้มกันมาลาเรียได้ราวห้าสิบเปอร์เซ็นต์ในกลุ่มเด็กอายุราวสามถึงสี่ขวบ แต่จะมีประสิทธิภาพต่ำกว่านั้นในกลุ่มเด็กเล็กอายุน้อยกว่านั้น แม้ว่าวัคซีนป้องกันมาลาเรียอาจจะไม่ได้ผลถึงร้อยเปอร์เซ็นต์ ได้ผลเพียงห้าสิบเปอร์เซ็นต์ แต่เขาก็ถือว่าการพัฒนาวัคซีนป้องกันมาลาเรียตัวนี้ เป็นการเดินมาถูกทางเเล้ว
ในขณะเดียวกัน ด็อกเตอร์เดียเบทกล่าวปิดท้ายรายงานจากผู้สื่อข่าววีโอเอว่า เขาหวังว่ารางวัลที่เขาได้รับจะช่วยเป็นเเรงบันดาลใจเเก่บรรดานักวิจัยทั่วทวีปอาฟริกาในการมุ่งมั่นพัฒนาวิธีการใหม่ๆขึ้นมาจัดการกับการระบาดของไข้มาลาเรีย
การวิจัยของด็อกเตอร์อับดูลลาเย เดียเบท เน้นศึกษาเเพทเทินของการผสมพันธุ์ของยุงตัวผู้และผลการศึกษาของเขาได้รับความสนใจจากบรรดานักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก
เขาอธิบายว่าสิ่งที่สำคัญมากของระบบการผสมพันธุ์ของยุงนี้ก็คือว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่เขาเดินเข้าไปในจุดที่ศึกษา เขาจะพบฝูงยุงบินอยู่ในจุดนั้นเป็นประจำทุกๆวัน นี่ทำให้การกำจัดยุงทำได้ง่ายมากขึ้น
ประเทศ Burkina Faso เป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการติดเชื้อมาลาเรียสูงที่สุดในโลก ด็อกเตอร์เดียเบทพบว่าในช่วงฤดูฝนใน Burkina Faso บางบ้านมียุงอยู่ภายในบ้านถึงเก้าร้อยตัว
เขากล่าวว่าการค้นพบว่ายุงจะบินอยู่ด้วยกันเป็นฝูงเพื่อผสมพันธุ์ในจุดจุดเดิมทุกปีทุกปี ช่วยให้การหาทางแทรกแซงแพทเทินการผสมพันธุ์ของยุงทำได้ง่ายขึ้น
เขากล่าวว่าหากสามารถทำลายยุงตัวผู้ได้สำเร็จ จะส่งผลให้จำนวนประชากรยุงตัวผู้ลดลงอย่างมากจนมีจำนวนยุงตัวเมียมากกว่า เขากล่าวว่ายุงตัวเมียต้องมียุงตัวผู้ผสมพันธุ์จึงจะสามารถออกไข่ได้ แต่เมื่อไม่มียุงตัวผู้ผสมพันธุ์ด้วย ก็จะไม่สามารถออกไข่และทำให้ไม่มีลูกยุง และเมื่อไม่มียุง ก็หมายความว่าไม่มีเชื้อมาลาเรีย
ผลการวิจัยเรื่องนี้จะนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีในการควบคุมการระบาดของไข้มาลาเรียแบบใหม่ๆต่อไป อาทิ การใช้ยุงตกแต่งพันธุกรรมและการควบคุมประชากรยุงด้วยการทำหมันยุงตัวผู้
ด็อกเตอร์เดียเบทจะได้รับรางวัลเป็นเงิน 95,000 ดอลล่าร์สหรัฐเพื่อสนับสนุนการวิจัยของเขาในฐานะผู้ได้รับรางวัล Royal Society Pfizer Award ประจำปีคริสตศักราช 2013
ศาสตราจารย์ Sir Brian Greenwood แห่งวิทยาลัยสุขภาพและเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยลอนดอน เป็นหนึ่งในคณะกรรมการคัดเลือกผู้ได้รับรางวัล
เขากล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่ามาจนถึงขณะนี้ การควบคุมการระบาดของไข้มาลาเรียต้องพึ่งพาการกางมุ้งเคลือบยากันยุงเป็นหลัก แต่มีความกังวลกันว่าจะไม่ได้ผลเพราะยุงเริ่มพัฒนาแรงต่อต้านต่อสารเคมีที่ใช้ ดังนั้นเขาเห็นว่ามีความจำเป็นในการพัฒนาวิธีใหม่ๆออกมาเพื่อควบคุมยุงที่เป็นพาหะของไข้มาลาเรีย
แม้จะมีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น ไข้มาลาเรียเป็นสาเหตุให้คนเสียชีวิตราวปีละหกแสนหกหมื่นคน ส่วนใหญ่เป็นเด็ก
ในปีหน้า บริษัทยาอังกฤษ GlaxoSmithKline วางแผนที่จะยื่นขอใบอนุญาติเป็นผู้นำวัคซีนป้องกันไข้มาลาเรียออกสู่ตลาดเป็นรายแรกของโลก วัคซีนนี้เรียกว่า RTSS องค์การอนามัยโลกชี้ว่าอาจจะสามารถนำวัคซีนป้องกันไข้มาลาเรียไปใช้ได้ในราวอีกสองปีข้างหน้า
ศาสตราจารย์กรีนวู้ด มีบทบาทช่วยในการพัฒนาวัคซีนตัวนี้ เขากล่าวว่าวัคซีนตัวนี้อาจจะช่วนสร้างภูมิคุ้มกันมาลาเรียได้ราวห้าสิบเปอร์เซ็นต์ในกลุ่มเด็กอายุราวสามถึงสี่ขวบ แต่จะมีประสิทธิภาพต่ำกว่านั้นในกลุ่มเด็กเล็กอายุน้อยกว่านั้น แม้ว่าวัคซีนป้องกันมาลาเรียอาจจะไม่ได้ผลถึงร้อยเปอร์เซ็นต์ ได้ผลเพียงห้าสิบเปอร์เซ็นต์ แต่เขาก็ถือว่าการพัฒนาวัคซีนป้องกันมาลาเรียตัวนี้ เป็นการเดินมาถูกทางเเล้ว
ในขณะเดียวกัน ด็อกเตอร์เดียเบทกล่าวปิดท้ายรายงานจากผู้สื่อข่าววีโอเอว่า เขาหวังว่ารางวัลที่เขาได้รับจะช่วยเป็นเเรงบันดาลใจเเก่บรรดานักวิจัยทั่วทวีปอาฟริกาในการมุ่งมั่นพัฒนาวิธีการใหม่ๆขึ้นมาจัดการกับการระบาดของไข้มาลาเรีย