นักบวชคาทอลิกหญิงเดินหน้าส่งเสริมคริสต์ศาสนาในภาวะ ‘กีดกันทางเพศ’

  • VOA

Dianne Willman and fellow Catholic "Priests"

ผู้นับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกกลุ่มหนึ่งจัดตั้งมาตั้งแต่เมื่อปี ค.ศ. 2002 มีการ “ทำพิธีบวช” แบบลับ ๆ ให้กับผู้หญิง 7 คนในเยอรมนีโดยบิชอปชาย

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สมาชิกหญิงของกลุ่มเคลื่อนไหวนี้เพิ่มขึ้นเป็น 250 คนโดยมาจากทั่วโลก แม้ว่า กฎของคริสตจักรโรมันคาทอลิกห้ามไม่ให้ผู้หญิงก้าวขึ้นมาเป็นนักบวชก็ตาม

Kathleen Blank Riether performing masses

“ขอให้พระผู้เป็นเจ้าทรงสถิตย์อยู่เป็นนิจนิรันดร์” คือ คำตอบรับของนักบวชในพิธีมิสซาของผู้นับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก แต่สิ่งแตกต่างไปก็คือ ผู้นำในพิธีนั้นเป็นสุภาพสตรี แทนที่จะเป็นคุณพ่อบาทหลวง

Kathleen Blank Riether, Catholic ‘Priest’

แคทเธอลีน แบลงค์ ริทเธอร์ ผู้ทำพิธีนี้ เข้า “พิธีบวช” เป็นนักบวชคาทอลิกเมื่อ 2 ปีก่อน หญิง กล่าวว่าเธอได้ "ออกบวช" เป็นนักบวชในนิกายโรมันคาทอลิกเมื่อ 2 ปีก่อน ซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามในศาสนาที่ปกครองโดยคณะสงฆ์ที่เป็นเพศชายเท่านั้น

แบลงค์ ริทเธอร์ บอกว่า “ตำแหน่งที่ทรงเกียรติเหล่านี้กลับสร้างความรู้สึกว่า บางคนเหนือกว่าคนอื่น ๆ” และกล่าวด้วยว่า ผู้หญิงทุกคนที่เธอรู้จักและผ่านการออกบวช ล้วนเคยสัมผัสประสบการณ์รับรู้ถึงเสียงกระซิบของพระผู้เป็นเจ้าทำให้รู้ว่าเป็นงานที่ถูกเรียกมาให้รับใช้ และนี่คือพระวิญญาณบริสุทธิ์”

The Rev. Aquinas Guilbeau, The Catholic University

อย่างไรก็ดี ภายใต้กฎหมายศาสนจักรนั้น คริสตจักรคาทอลิกได้ทำการตัดกลุ่มสตรีที่ทำหน้าที่เหมือนกับบาทหลวงออกจากศาสนาไปแล้ว และสาธุคุณ อาคิวนัส กิลโบ ผู้นำแผนกพันธกิจของมหาวิทยาลัยคาทอลิก ที่ถูกก่อตั้งโดยนครรัฐวาติกัน อธิบายว่า สิ่งที่ผู้ที่ระบุว่าตนเป็นนักบวชหญิงทำนั้น แม้ว่าจะเป็นขั้นตอนของพิธีศีลศักดิ์สิทธิ์ แต่ก็ไม่ถือว่าเป็นพิธีที่สมบูรณ์

ถึงกระนั้น กระแสการเข้าพิธีเพื่อเป็นนักบวชของผู้หญิงก็ยังเดินหน้าเกิดขึ้นทั่วโลก

เฉพาะในเขตพื้นที่กรุงวอชิงตัน มีผู้หญิงอีกอย่างน้อย 10 คนที่ประกอบพิธีมิสซา และมีผู้หญิงที่กำลังเคลื่อนไหวในด้านนี้ถึงราว 250 คนทั่วโลก โดยข้อมูลของรายงานชี้ว่า ประเทศที่มีนักบวชหญิงมากที่สุด ได้แก่ ประเทศเยอรมนีและไอร์แลนด์ ที่มีนักบวชหญิงประเทศละ 15 คน

Graphic illustration of where to find female 'priests'

โอลกา ลูเซีย อัลวาเรซ วัย 72 ปี จากประเทศโคลอมเบีย คือ หนึ่งในนักบวชหญิงกว่า 250 คนนั้น ที่กล่าวว่า เธอก้าวขึ้นมาเป็นนักบวชนิกายคาทอลิกเพื่อทำพิธีมิสซาในพื้นที่ห่างไกลที่ขาดแคลนนักบวชชาย คล้าย ๆ กับ ซารา รูล นักบวชคาทอลิกหญิง ที่ประกอบพิธีมิสซาทั้งแบบทางออนไลน์ และแบบพบปะเห็นหน้า ในประเทศแอฟริกาใต้

Sara Rule, Catholic ‘Priest’

รูล ให้สัมภาษณ์กับวีโอเอว่า “เราไม่ได้รับค่าจ้างในการเป็นนักบวช ซึ่งหมายความว่า พวกเราในวัยทำงานต่างต้องทำงานจริง ๆ ขณะที่ พวกเราหลายคนก็ทำงานที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวทางสังคม ทั้งเรื่องของเชื้อชาติ เพศ หรือความทุพพลภาพอยู่แล้ว”

การเปลี่ยนแปลงนี้มาพร้อมกับการปรับเปลี่ยนคำเรียกที่ใช้ในพิธี จากเดิมที่เน้นศูนย์กลางความเป็นชาย อย่างคำว่า คุณพ่อบาทหลวง(father) ถูกปรับมาเป็นคำที่ครอบคลุมมากขึ้น อย่างเช่น “ในนามของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผู้สร้าง ผู้ปลดปล่อย และผู้ประทานลมหายใจให้แก่สรรพชีวิต”

ในการประชุมสมัชชาคาทอลิกระหว่างประเทศที่กำลังดำเนินอยู่นี้ โบสถ์ต่างๆ ทำการเสนอให้กรณีนักบวชหญิงเป็นหัวข้อหลักสำหรับการประชุม แต่พระสันตะปาปาฟรานซิส ประมุขของคริสตจักรคาทอลิก แสดงความไม่เห็นด้วย ดังเช่นที่พระองค์เคยตรัสไว้ในปี 2013 ว่า “คริสตจักรได้เคยพูดและปฏิเสธไปแล้ว อีกทั้งสมเด็จพระสันตะปาปา จอห์น ปอลที่ 2 ได้เคยมีพระดำรัสในเรื่องนี้อย่างชัดเจน ทุกอย่างจบลงแล้ว”

Pope Francis

สาธุคุณ กิลโบ จากมหาวิทยาลัยคาทอลิก กล่าวย้ำว่า “คริสตจักรทำการบวชให้แก่เพศชายเท่านั้น ซึ่งเป็นเพียงการดำเนินตามสิ่งที่พระคริสต์ได้เคยปฏิบัติไว้”

สิ่งที่เกิดขึ้น สะท้อนให้เห็นว่า คริสตจักรอ้างอิงจากสาวกนักบวชกลุ่มแรกและเป็นเพศชายทั้งหมดจำนวน 12 คน ในการยืนยันเรื่องนี้ ซึ่ง ในทัศนะของ ไดแอน วิลแมน นักบวชคาทอลิกหญิง จากเมืองโจฮันเนสเบิร์ก เรียกสิ่งนี้ว่าเป็นการ “การกีดกันทางเพศ”

วิลแมน บอกว่า นี่คือการแบ่งแยก เพราะขณะที่มีคำสอนว่า คนทุกคนควรเท่าเทียมกัน แต่นั่นไม่ใช่เรื่องจริงสำหรับทุกคน ทำไมจึงต้องมีการแบ่งแยกกีดกันที่นำไปสู่ไม่เสมอภาคเช่นนี้

Female Catholic "Priests"

ในส่วนของผู้นักถือศาสนาคริสต์นั้น แมรีแอนน์ วอน เอสเซน คือหนึ่งในผู้ที่มาร่วมพิธีมิสซาที่ประกอบโดยนักบวชหญิงและกล่าวว่า คริสตจักรมีความเห็นที่ผิดเกี่ยวกับประเด็นการครอบครองทาส ในเรื่องหลักคำสอนแห่งการค้นพบ ที่ถูกนำมาใช้เป็นเหตุผลสนับสนุนการล่าอาณานิคมว่าเป็นเรื่องชอบธรรม ซึ่งพิสูจน์แล้วว่า “คริสตจักรเคยทำผิดพลาดมาก่อน และในตอนนี้ก็อาจจะยังทำผิดพลาดอยู่”

ตลอดช่วงเกือบ 2,000 ปีที่ผ่านมา วาติกันเพิ่งอนุญาตให้ผู้หญิงในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกทำหน้าที่เป็นบริกรผู้ช่วยประกอบพิธีในโบสถ์ (altar servers) ในปี 1994 ดังนั้น จึงไม่มีใครคิดว่า ผู้หญิงจะได้รับอนุญาต ให้ประกอบพิธีมิสซาอย่างเป็นทางการในเร็ววันนี้เลย

  • ที่มา: วีโอเอ