คำแนะนำเพื่อรู้เท่าทันนักรับจ้างเขียนรีวิวติชมสินค้าและบริการออนไลน์

FILE - An Amazon package awaits delivery in Palo Alto, California. The online retailer is suing more than 1,000 people for advertising their services writing fake reviews.

Amazon.com ฟ้องเอาผิดบุคคลกว่าหนึ่งพันคนที่รับจ้างเขียนคำติชมสินค้าและบริการออนไลน์

Your browser doesn’t support HTML5

คำแนะนำให้รู้เท่าทันนักรับจ้างเขียนติชมสินค้าและบริการออนไลน์

บริษัท Amazon เจ้าของกิจการค้าปลีกออนไลน์รายใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ ฟ้องเอาผิดบุคคลกว่าหนึ่งพันคน ที่รับจ้างเขียนคำติชมสินค้าและบริการออนไลน์บนเว็บไซท์ของบริษัทโดยไม่ได้เป็นผู้ซื้อจริง

การรับจ้างเขียนคำแนะนำสินค้าเป็นกิจการที่ลงโฆษณาอย่างโจ่งแจ้ง เช่นมีคนจำนวนมากรับจ้างลักษณะนี้บนเว็บไซท์ www.Fiverr.com ซึ่งคิดค่าจ้างห้าดอลลาร์ต่อคำแนะนำหนึ่งชิ้น

ผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้ Daniel Lemin ผู้เขียนหนังสือเรื่อง ManipuRATED: How Businesses Can Fight Fraudulent Online Ratings & Reviews บอกว่า เว็บไซท์และแอพรีวิวร้านอาหาร Yelp มีผู้เขียนคำแนะนำปลอมถึงร้อยละ 25 ซึ่ง Yelp สามารถจับผิดได้ทันและไม่นำรีวิวเหล่านั้นมาเผยแพร่

เขาบอกว่าบางครั้งมีการร่วมกันเป็นขบวนการอย่างแยบยล เช่นผู้ว่าจ้างทำทีส่งของให้ผู้รับจ้างเขียนคำแนะนำปลอม แต่เป็นเพียงซองเปล่า

วิธีนี้ทำให้ดูเหมือนว่าเกิดธุรกรรมการซื้อจริง และเมื่อผู้รับจ้างเขียนคอมเมนท์ปลอมส่งข้อความลงเว็บไซท์ ก็อาจได้รับการยกระดับว่าเป็นผู้ใช้แบบ verified หรือได้รับการกลั่นกรองแล้ว ดังนั้นจึงสร้างภาพให้น่าเชื่อถือขึ้นต่อคนทั่วไป

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มหาวิทยาลัย Cornell ของสหรัฐสามารถพัฒนา Software ที่ชื่อ Review Skeptic ซึ่งจับผิดรีวิวปลอมได้แม่นยำถึงร้อยละ 90

คำแนะนำสำหรับบุคคลทั่วไปเพื่อให้รู้เท่าทันกลเม็ดเหล่านี้ รวมถึงการค้นข้อมูลของผู้เขียนคำติชมว่ามีตัวตนที่น่าเชื่อถือหรือไม่ นอกจากนั้นควรสงสัยเมื่อเห็นการเรียกชื่อสินค้าแบบเต็มยศที่ยืดยาว เพราะนั่นเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้ search engine อย่าง Google ดึงข้อมูลของสินค้านั้นขึ้นมาง่ายขึ้น

และแน่นอนว่าหากเป็นคำเยินยอที่ไม่มีรายละเอียดใดๆ เช่นชมโรงแรม แต่ไม่พูดถึงห้องพัก ก็ควรสงสัยด้วยว่านั่นอาจเป็นคำแนะนำที่เขียนโดยนักรับจ้างผลิตรีวิว

(รายงานโดย ABC News และ USA Today / เรียบเรียงโดยรัตพล อ่อนสนิท)