Your browser doesn’t support HTML5
หนังสือเรื่อง National Populism: The Revolt Against Liberal Democracy เขียนโดยนักวิชาการชาวอังกฤษสองคนคือ Matthew Goodwin กับ Roger Eatwell ตีพิมพ์ไม่กี่สัปดาห์ก่อนการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐฯ หนังสือเล่มนี้เล่มนี้น่าจะทำให้นักการเมืองส่วนใหญ่โดยเฉพาะนักการเมืองสายกลางเอียงซ้าย อ่านเเล้วกลุ้ม
หนังสือเล่มนี้เสนอข้อเท็จจริง ผู้เขียนชี้ว่าการละเลยความกังวลของประชาชนที่มีต่อประเด็นคนเข้าเมืองเเละโลกาภิวัฒน์มานานเกินไป ทำให้ความกังวลเหล่านี้กลายเป็นประเด็นที่สร้างความคิดเห็นที่แตกแยกจนถึงระดับอันตรายเเละทำให้คนขาดความไม่ไว้วางใจต่อชนชั้นผู้นำ
ผู้เขียนแย้งว่าอุดมการณ์รักชาติแนวประชานิยมที่เกิดขึ้นในชาติตะวันตกจะคงอยู่ต่อไปเเละการเคลื่อนไหวของกลุ่มประชานิยมในยุโรปก่อตัวมานานเเล้ว
ผู้เขียนกล่าวหักกลบความเชื่อที่ว่าแนวคิดรักชาติเเบบประชานิยมเป็นเพียงปฏิกริยาทางการเมืองเพียงชั่วคราวหรือเป็นเเค่การตอบโต้ต่อวิกฤติการเงินที่เกิดขึ้นในปี 2008 กับมาตรการรับเข็มขัดที่ตามมา ตลอดจนวิกฤติผู้อพยพที่เกิดขึ้นทั่วยุโรปตั้งเเต่ปี 2014
ผู้เขียนบอกว่าแท้จริงเเล้ว แนวคิดนี้ฝังรากลึกมากและเป็นคลื่นใต้น้ำในสังคมระบบประชาธิปไตยเเละสั่งสมความเเรงมากขึ้นตลอดช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา
Eatwell กับ Goodwin เขียนว่าการมีผู้นำอย่าง ปธน. โดนัลด์ ทรัมป์แห่งสหรัฐฯ รองนายกรัฐมนตรีอิตาลี่ Matteo Salvini เเละนายกรัฐมนตรีฮังการี Viktor Orban ที่สนับสนุนแนวคิดนี้จะกลายเป็นเรื่องปกติ
หนังสือเล่มนี้ขายดีติดอันดับหนังสือขายดี 10 อันดับของหนังสือพิมพ์ Sunday Times ในอังกฤษภายในสองสัปดาห์หลังตีพิมพ์
ผู้เขียนแย้งว่าผู้ไม่เห็นด้วยกับเเนวคิดประชานิยมแบบชาตินิยมไม่เข้าใจความเเตกต่างเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงนี้ พวกเขากล่าวว่าการมุ่งระบุประเภทของผู้สนับสนุนเเละแรงจูงใจของเเนวคิดนี้ไร้ประโยชน์ พวกเขากล่าวหานักวิจารณ์หนังสือว่าต้องการกลบเกลื่อนว่าการเคลื่อนไหวนี้เป็นเพียงการเคลื่อนไหวของชายผิวขาวที่กำลังโกรธเคืองเท่านั้น
ผู้เขียนเขียนว่าทรัมป์กับ Brexit ล้วนได้รับเเรงหนุนจากกลุ่มคนหัวอนุรักษ์ทางสังคมที่รวมตัวกันเเบบหลวมๆ กับคนงานคอปกสีขาว
ผู้เขียนชี้ถึงความหลากหลายทางเชื้อสายเเละอายุของกลุ่มคนที่สนับสนุนเเนวคิดประชานิยมภายใต้อุดมการณ์ชาตินิยม โดยเน้นว่าหนึ่งในสามของชายชาวลาติโนที่ลงคะเเนนเลือกตั้งปธน. ในปี 2016 สนับสนุนทรัมป์ ขณะที่แผนเเยกตัวอังกฤษออกจากอียูได้รับเเรงหนุนจากผู้ลงคะเเนนเสียงชาวอังกฤษผิวดำเเละคนกลุ่มน้อยหนึ่งในสาม และเช่นเดียวกัน นักการเมืองเอียงซ้ายจัด Marine Le Pen ที่ได้รับแรงหนุนจากผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งหนุ่มสาวในตอนลงเเข่งขันชิงตำเเหน่งปธน. ฝรั่งเศสเมื่อปีที่แล้ว
ขณะที่ในออสเตรเลีย เยอรมนี อิตาลีเเละสวีเดน แนวคิดชาตินิยม-ประชานิยมได้รับการยอมรับมากที่สุดจากกลุ่มคนอายุต่ำกว่า 40 ปี และไดัรับเเรงหนุนในระดับธรรมดาจากคนทุกกลุ่มอายุ
ผู้เขียนชี้ว่าแนวโน้มระยะยาวของการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญกำลังคืบคลานเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นความไม่ไว้ใจต่อนักการเมืองที่อยู่ในตำแหน่งมานานและสถาบันต่างๆ เพราะคนส่วนมากรู้สึกว่าตนเองไม่มีปากมีเสียง ความกลัวของคนในกลุ่มหลักๆ ของสังคมที่ว่าความเป็นตัวตนตามประวัติศาสตร์ชาติเเละวิถีชีวิตที่มีมานานกำลังจะถูกทำลายและโลกาภิวัฒน์ที่นำมาซึ่งความไม่เท่าเทียมทางรายได้เเละความมั่งคั่ง ก่อให้เกิดความรู้สึกสูญเสียเเละไม่เชื่อว่าอนาคตจะดีกว่า
ผู้เขียนบอกว่าเเนวโน้มทั้งหมดนี้ได้นำไปสู่ความรู้สึกแยกตัวเเละความอ่อนแอทางความสัมพันธ์ระหว่างพรรคการเมืองหลักกับประชาชนทั่วไป
(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)